Thursday, 25 April 2024
กยศ

‘ทิพานัน’ แจ้งลูกหนี้กยศ. ไม่ต้องหนี ‘ยธ.-กยศ.’ จัดไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ธ.ค.นี้

‘ทิพานัน’ แจ้งลูกหนี้กยศ. ไม่ต้องหนี ไม่มีมาคุยกันได้ เผย ยธ. - กยศ. เตรียมจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี ธ.ค. นี้ บรรเทาความเดือดร้อนลูกหนี้การศึกษา

เมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส. ทิพานัน ศิริชนะ ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ห่วงใยปัญหาลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการช่วยเหลือที่เหมาะสม เพื่อบรรเทาภาระลูกหนี้ จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ หรือไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามที่กำหนด 

ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันกยศ. เตรียมเฮ! นายกฯ สั่งแก้กม. ช่วยลูกหนี้ ให้ไม่ถูกฟ้องคดี

นับเป็นอีกหนึ่งข่าวดีรับปีใหม่ สำหรับลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ภายหลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้สั่งการให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายกยศ. ปี 2560 ให้มีความทันสมัย เพื่อแก้ปัญหาทั้งเรื่องรูปแบบชำระหนี้และช่วยเหลือเรื่องการดำเนินคดีกับลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน

ทั้งนี้ จากข้อมูลปี 2563 เงินกู้ กยศ. มีหนี้เสีย (NPL) สูงถึง 62% สูงที่สุดในช่วง 25 ปี ปัจจัยที่ทำให้ผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้เป็นจำนวนมาก มาจากรูปแบบการชำระเงินคืนไม่สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้คืน นั่นเพราะบางช่วงเศรษฐกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่เกิดวิกฤตโควิด-19

ดังนั้น กยศ. จึงได้ทำการปรับรูปแบบการชำระหนี้ เพื่อลดโอกาสการผิดนัดชำระหนี้และกลายเป็นหนี้เสีย เพิ่มแผนการรับชำระหนี้ให้หลากหลาย ทำให้ผู้กู้สามารถเลือกแผนการชำระคืนให้เหมาะสมกับศักยภาพของตนเอง

ซึ่งกฎหมายฉบับที่จะได้รับการแก้ไข จะทำให้กองทุนฯ สามารถเข้าไปช่วยเหลือผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างดำเนินคดี หรือศาลมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้ว หรืออยู่ในระหว่างการบังคับคดี ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนกว่า 1.1 ล้านราย ให้สามารถเข้าร่วมการแก้ไขหนี้ แปลงหนี้ เพื่อกลับมาผ่อนชำระได้อีกครั้ง

โดยสาระของการปรับปรุงกฎหมายฉบับใหม่นี้ประกอบด้วย

1.) ลูกหนี้สามารถเลือกผ่อนชำระเป็นรายเดือน หรือรายไตรมาสได้ โดยไม่ต้องเก็บเงินก้อนใหญ่ไปรอชำระงวดเดียว ซึ่งจะช่วยทำให้ลูกหนี้วางแผนผ่อนชำระได้ง่ายขึ้น

2.) จัดลำดับการตัดชำระเงิน โดยเรียงจาก เงินต้น ดอกเบี้ย และเงินเพิ่ม ทำให้ยอดหนี้หมดเร็วขึ้น

3.) ผู้กู้สามารถกู้ยืมได้โดยไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน (มีผู้ค้ำประกันเฉพาะกรณีที่จำเป็น) ซึ่งจะช่วยตัดปัญหาเรื่องผู้กู้เบี้ยวหนี้ ทำให้ผู้ค้ำประกันต้องมารับหนี้แทน และช่วยทำให้ผู้กู้รายใหม่ ไม่ต้องลำบากเรื่องการหาผู้ค้ำประกัน

4.) ชะลอการฟ้องร้องและบังคับคดี หรือการชะลอการขายทอดตลาด สำหรับลูกหนี้ที่ติดคดีใกล้ขาดอายุความ ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะช่วยเหลือลูกหนี้และผู้ค้ำประกันที่มีปัญหาชำระหนี้ 'หลายล้านคน' ให้ไม่ต้องถูกฟ้องร้อง

ขณะเดียวกันยังได้เปิดให้ผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระหนี้ที่ยังไม่ถูกฟ้องคดี จำนวนกว่า 1.7 ล้านคน ให้เข้ามาแจ้งความประสงค์ขอปรับโครงสร้างหนี้ได้แล้วแบบสมัครใจ ผ่านแอปพลิเคชัน กยศ. Connect หรือผ่านเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้กู้ยืมช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

'เพื่อไทย' ไม่ปลื้ม!! กยศ.ใช้ระบบธนาคารเก็บหนี้ แนะพักหนี้ 3 ปี พร้อมดันร่าง กม.ใหม่เอื้อเด็ก

นายวันนิวัติ สมบูรณ์ ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า การดำเนินการที่ผ่านมาของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ถือเป็นโครงการที่ดี แต่วิธีการผิด การที่กองทุน กยศ. นำระบบธนาคารเข้ามาบริหารการกู้ยืมเงินกองทุน เป็นวิธีการที่ผิด เพราะธนาคารจะคิดถึงแต่กำไรขาดทุน และมีการดำเนินการทางกฎหมาย หากมีการผิดนัดชำระหนี้ 

ล่าสุดนักศึกษากลายเป็นจำเลยจำนวนมาก ทั้งๆ ที่พันธกิจของ กยศ. ต้องช่วยนักศึกษาให้สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาอย่างทั่วถึง โดยไม่เป็นภาระให้กับผู้ปกครอง นอกจากนี้กองทุน กยศ. มีรายได้จากดอกเบี้ยและค่าปรับ เกือบ 40,000 ล้านบาท เป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น เพราะเป็นการหากำไรบนคราบน้ำตาผู้ปกครองที่ถูกยึดบ้าน ยึดที่ดินทำกิน นำมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ กยศ.

'กยศ.' ยืดเวลามาตรการลดหย่อนหนี้ สามารถชำระหนี้ได้ ถึง 31 ธ.ค. 65

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. ขยายระยะเวลามาตรการลดหย่อนหนี้ 5 มาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ กยศ. ที่จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 2565 เลื่อนเป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2565 รวมระยะเวลา 6 เดือน​ โดยมีเงื่อนไขมาตรการ ดังนี้

1.) ลดดอกเบี้ย จากเดิม 1% ต่อปี เป็น 0.01% ต่อปี (สำหรับผู้กู้ที่ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้)

2.) ลดเงินต้น 5% กรณีชำระหนี้ปิดบัญชี (สำหรับผู้กู้ที่ไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้)

'รัฐบาลสหรัฐฯ' ล้างหนี้ 'กยศ.' คนละ 3 แสน เพิ่มพื้นที่หายใจครอบครัวชั้นกลาง-แรงงาน

(25 ส.ค. 65) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศเมื่อวันพุธ ปลดหนี้เพื่อการกู้ยืมทางการศึกษา เป็นวงเงินสูงสุด 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 359,890 บาท) ให้เป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้ที่มีความเดือดร้อนทางการเงิน ซึ่งจะมีเกณฑ์พิจารณา คือการเป็นผู้มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 125,000 ดอลลาร์สหรัฐ ราว 4.49 ล้านบาท) หรือมีรายได้ครัวเรือนต่อปีไม่เกิน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 8.9 ล้านบาท)

ปัจจุบัน ในสหรัฐฯ มีชาวอเมริกันเป็นหนี้ กยศ.อยู่ประมาณ 43 ล้านคน รวมเป็นเงินถึง 1.6 ล้านล้านดอลลาร์ โดย 1 ใน 5 ของจำนวนนี้เป็นหนี้ไม่ถึง 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ

ประธานาธิบดี ไบเดน กล่าวที่ทำเนียบขาวในวันพุธ ระบุว่าแผนการของเขาจะทำให้ครอบครัวชั้นกลางและชั้นแรงงานมีพื้นที่หายใจมากขึ้น “ภาระมันหนักหนามากถึงขั้นที่คุณเรียนจบไปแล้ว คุณอาจจะยังไม่สามารถเข้าถึงการใช้ชีวิตของคนชั้นกลาง ที่ครั้งหนึ่งวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีเคยให้ได้” ไบเดนเสริมด้วยว่า 1 ใน 3 ของผู้กู้ กยศ. มีหนี้แต่ไม่มีปริญญา

'เพื่อไทย' แนะ 'กยศ.' ต้องเปลี่ยนเงื่อนไขกู้ยืม เปิดโอกาสให้กลุ่มวิชาชีพ-ดอกเบี้ยต่ำ-งดฟ้องร้อง

ส.ส.พรรคเพื่อไทย อภิปรายพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....หรือ กยศ. โดยสรุปว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นนโยบายที่ดี เปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษาที่ยากจน ได้มีโอกาสกู้ยืมเงินมาศึกษาเล่าเรียนเพื่อสร้างอนาคต แต่ในกระบวนการกู้ยืมเงินมีปัญหาและอุปสรรค ตั้งแต่การจำกัดให้เฉพาะนักเรียนหรือนักศึกษาในระบบการศึกษาเท่านั้นที่สามารถกู้ยืมได้ แต่ประชาชนทั่วไปที่อยู่นอกระบบการศึกษากลับไม่มีโอกาสเข้าถึงเงินกองทุนกู้ยืม เงื่อนไขการกู้ยืมเงินที่ยุ่งยาก ต้องมีการพิสูจน์ความยากจน มีอัตราดอกเบี้ยสูง และต้องมีบุคคลค้ำประกันเงินกู้ เพราะสำหรับคนจนซึ่งยากจนอยู่แล้ว ก็ยิ่งหาคนมาช่วยค้ำประกันได้ยากยิ่งกว่า 

เมื่อสำเร็จการศึกษาและถึงกำหนดชำระหนี้เงินกู้ ถ้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดก็จะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีจนเป็นข่าวแพร่หลายว่าผู้ค้ำประกันหนี้เงินกู้ต้องถูกฟ้องยึดบ้านยึดไร่นาเพื่อใช้หนี้ กยศ. 

ส.ส.พรรคเพื่อไทย จึงร่วมอภิปรายแสดงความเห็น เสนอแนวคิดให้นักศึกษาที่ศึกษาในสถาบันการศึกษาเอกชนนอกระบบก็สามารถกู้ยืมเงินกองทุนได้ อาทิ โรงเรียนฝึกมวยไทยอาชีพ การกู้ยืมเงินกองทุนไม่ควรต้องพิสูจน์เรื่องความยากจน ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน และควรมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงรัฐควรยุติฟ้องคดีหนี้ กยศ.ชั่วคราว เพราะการฟ้องร้องคดี กยศ. เป็นการทำลายอนาคตของนักศึกษาและสร้างภาระความเดือดร้อนแก่ผู้ค้ำประกัน

[+นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ส.ส.ชัยภูมิ]
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ควรครอบคลุมถึงสถาบันการศึกษาเอกชนทั้งในระบบและนอกระบบ ซึ่งในส่วนสถาบันการศึกษานอกระบบนี้ยังรวมถึงการฝึกอบรมวิชาชีพต่าง ๆ เช่น การนวดแผนโบราณ หรือสถาบันฝึกมวยไทยอาชีพ เพราะวิชาชีพเหล่านี้เป็นอาชีพให้พี่น้องสร้างรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีนักท่องเที่ยวมาจำนวนมากและชอบการนวดแผนไทย ชอบมวยไทย ดังนั้น เมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขนิยามแล้ว ก็ควรให้กลุ่มวิชาชีพนอกระบบนี้อยู่ในเกณฑ์กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาดังกล่าวได้

[+จิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม.]
กยศ. ควรมีการจัดทำข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนักเรียนและนักศึกษาเพื่อประกอบการตัดสินใจการเลือกคณะที่จะศึกษาต่อ โดยเฉพาะข้อมูลด้านสถิติการมีงานทำ ประเภทงานที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ประเภทงานที่ขอให้กู้ยืมเงินรวมถึงการคาดการงานที่จำเป็นในตลาดแรงงานอันใกล้ ซึ่งเป็นข้อมูลจำเป็นที่ กยศ. ควรมีอย่างต่อเนื่อง ชี้แจงให้นักเรียนนักศึกษาได้ทราบเพื่อประกอบการตัดสินใจการเลือกคณะที่เรียนและขอกู้เงินอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้นักเรียนหรือนักศึกษาต้องตกงานภายหลังสำเร็จการศึกษา

[+นิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร]
ประเทศไทยยังมีพี่น้องชาติพันธุ์ ที่มีปัญหาไม่ได้รับสัญชาติไทย แต่เขาเกิดบนแผ่นดินไทย เมื่อไม่มีสัญชาติก็ไม่มีโอกาสด้านการศึกษา เมื่อเขาขาดโอกาสจากในโรงเรียนปกติ เราควรเปิดโอกาสให้เขาได้เรียนในโรงเรียนฝึกอาชีพอื่นๆ เปิดช่องทางให้เขาได้กู้ยืมได้เรียนหรือไม่ เพราะนี่คือการให้โอกาส ถ้าเขาได้ยืมเงิน ได้เรียน ได้ใช้มันสมองในการพัฒนาอาชีพ เลี้ยงชีวิต ก็จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ขออย่าได้กีดขวางเขาเพียงแค่ต้องเรียนในระบบเท่านั้น

[+คมเดช ไชยศิวามงคล  ส.ส.กาฬสินธุ์]
ปกติแล้ว การค้ำประกันจะเกี่ยวเนื่องพัวพันไปถึงการดำเนินคดี การยึดทรัพย์ การขายทอดตลาด ตลอดจนถูกฟ้องล้มละลาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง 2 ปีที่ผ่านมาปรากฏว่านักเรียนนักศึกษา รวมถึงผู้ปกครองที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดระบาด ต้องเดือดร้อนตกงาน จึงถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ตกเป็นจำเลยทั้งตัวนักเรียนนักศึกษาครอบครัวต้องเดือดร้อน และเดือดร้อนไปถึงผู้ค้ำประกันที่ถูกฟ้องยึดทรัพย์ จึงควรหาหนทางแก้ไขปัญหา ดังนั้น ปัญหาหนี้ กยศ. การฟ้องร้องไม่น่าจะใช่ทางออกของการแก้ปัญหา การกู้ยืมเงิน กยศ. ไม่ควรมีการค้ำประกัน และเชื่อว่าเมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่สภาวะปกติ ปัญหาฟ้องร้องเหล่านี้น่าจะลดน้อยลง

'ชวน' ย้ำเตือน อย่าทำให้การเมืองเป็นธุรกิจ แนะ!! ผู้กู้กยศ.ควรคืนเงิน เพื่อรุ่นต่อไป

'ชวน' เปิดงานโครงการส่งเสริมและปลูกฝังแนวคิดบ้านเมืองสุจริตไปสู่เยาวชน พร้อมบรรยายพิเศษ 'ประเทศรุ่งเรือง เมื่อบ้านเมืองสุจริต' ย้ำเตือนอย่าทำให้การเมืองเป็นธุรกิจ แนะผู้กู้กยศ.คืนเงิน เพื่อรุ่นต่อไป

(2 ก.ย.65) ที่รัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เป็นประธานเปิดงานโครงการส่งเสริมและปลูกฝังแนวคิดบ้านเมืองสุจริตไปสู่เยาวชน เพื่อสร้างการเรียนรู้ และเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการประพฤติปฏิบัติตนเป็นสุจริตชนของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และครูอาจารย์ พร้อมทั้งบรรยายพิเศษในหัวข้อ ‘ประเทศรุ่งเรือง เมื่อบ้านเมืองสุจริต’ โดยมีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, นิสิต, นักศึกษา และครูอาจารย์ในกทม. ภาคกลาง, ภาคใต้และภาคเหนือ ประมาณ 200 คนเข้าร่วมงาน

ทั้งนี้นายชวน กล่าวบรรยายพิเศษตอนหนึ่งว่า ตนเป็นนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง โดยได้รับการเลือกตั้งต่อเนื่องมาถึง 16 สมัย จึงได้เห็นบ้านเมืองด้วยตาตนเองและประจักษ์ว่าบ้านเมืองเป็นอย่างไร หรือการเมืองเป็นเช่นไร มิใช่การรู้จากคำบอกเล่าของผู้อื่น โดยเมื่อปี 2512 ตนได้รับการเลือกตั้งครั้งแรก ซึ่งสมัยนั้นเท่าที่ทราบยังไม่มีการใช้เงินเพื่อซื้อเสียงเลือกตั้ง แต่พบว่ามีผู้ลงสมัครเลือกตั้งบางคน บางจังหวัดแจกอาหารข้าวของให้ประชาชน

ในฐานะที่ตนอยู่บนเส้นทางการเมืองมานานกว่า 50 ปี เคยดำรงตำแหน่งทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ตนจึงเป็นห่วงบ้านเมืองว่านักการเมืองทำการเมืองแบบไม่สุจริต โดยเฉพาะในลักษณะของธุรกิจการเมือง คือการใช้เงินปูทางขึ้นมาสู่อำนาจ ซึ่งถือเป็นการทุจริตอย่างหนึ่ง และการทุจริตในลักษณะเช่นนี้ ย่อมเอื้อต่อการทุจริตคอร์รัปชันในทุกระดับและในแทบทุกภาคส่วน เพราะนักการเมืองย่อมอาศัยกลไกในระบบบราชการและเครือข่ายในภาคส่วนธุรกิจ เป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้ามาถอนทุน ผลเสียหายต่อบ้านเมืองและการพัฒนาประเทศย่อมมีมากมายมหาศาล

‘รองโฆษกนายกฯ’ เชิญชวน ‘ลูกหนี้กยศ.’ ที่อยู่ระหว่างชำระคืนหนี้ เหลือ 2 เดือนสุดท้าย!! รีบใช้สิทธิ ลดดอกเบี้ย-เงินต้น-เบี้ยปรับ ถึง 30 มิ.ย. 66

(26 เม.ย.66) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้มีมาตรการลดหย่อนหนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้กู้ยืมที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงเกิดการแพร่ระบาดของโควิด19 โดยมาตรการดังกล่าวจะสิ้นในวันที่ 30 มิ.ย.66 ที่จะถึงนี้แล้ว จึงขอเชิญชวนผู้กู้ยืมกองทุน กยศ. ที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้ ใช้สิทธิเพื่อรับประโยชน์จากมาตรการตามกรอบเวลาดังกล่าว มาตรการลดหย่อนการชำระหนี้ กยศ. ประกอบด้วย การลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากเดิมร้อยละ 1 ต่อปี เหลือร้อยละ 0.01 ต่อปี สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืนกองทุนและไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้, ลดเงินต้นร้อยละ 5 สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้และต้องการปิดบัญชีในคราวเดียว

‘ยุติธรรม-คลัง-กยศ.’ ร่วมประชุมถก ‘พ.ร.บ.กยศ.’ ฉบับที่ 2 ปี 66 พร้อมสรุป 4 แนวทางแก้ปัญหาหนี้สิน บรรเทาทุกข์ ‘ลูกหนี้ กยศ.’

(11 พ.ย. 66) คณะทำงานการปรับโครงสร้างหนี้สิน รวมถึงการบังคับคดีเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมและให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยนายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานคณะทำงาน พร้อมด้วย นายเสกสรร สุขแสง ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมบังคับคดี เข้าพบนายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 เพื่อประชุมหารือแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ให้เป็นไปตามหลักการของพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566

ทั้งนี้ มีนายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา, นายอภินันช์ ศุนทรนันท์ รองผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา, นางสาวนันทวัน วงศ์ขจรกิตติ รองผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และ ดร.ขจร ธนะแพสย์ ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุมหารือที่กระทรวงการคลัง และได้ข้อสรุปร่วมกันดังนี้

1.) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจะคำนวณภาระหนี้ ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 ในคดีที่ขายทอดตลาดได้ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2566 และคดีที่มีการอายัดเงินไว้แต่ยังไม่ได้ทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงิน และส่งให้กรมบังคับคดีภายในเดือนธันวา คม 2566 เนื่องจากการคิดหนี้ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 จะทำให้ภาระหนี้ของลูกหนี้ลดลง โดยกรมบังคับคดีจะส่งข้อมูลคดีกลุ่มดังกล่าวให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

2.) กรณีที่ลูกหนี้กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ได้ปิดบัญชีตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ หากมีกรณีลูกหนี้ชำระเกินไปกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจะคืนเงินส่วนที่ชำระเกินแก่ลูกหนี้

3.) ในการพัฒนาโปรแกรมการคำนวณหนี้ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจะหาหน่วยงานมาช่วยพัฒนาเพื่อให้โปรแกรมเสร็จโดยเร็ว

4.) กรมบังคับคดีและกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พร้อมอำนวยความสะดวกให้ลูกหนี้ โดยลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สามารถยื่นหนังสือยินยอมให้การงดการบังคับคดีและลงทะเบียน เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่ทุกสำนักงานทั่วประเทศของกรมบังคับคดี และที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

นายลวรณ ได้กล่าวขอบคุณที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม คณะทำงานการปรับโครงสร้างหนี้สินฯ และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ร่วมหารือแนวทาง ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินของลูกหนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ลูกหนี้ได้เป็นอย่างมาก

‘กยศ.’ ปรับโครงสร้างหนี้ หวังช่วยผู้ค้ำประกันหลุดพ้นภาระ ยัน!! ไม่ถูกบังคับ-ดำเนินคดี ผู้กู้ยืมแห่ทำสัญญานับพันราย

เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 67 กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดให้ผู้กู้ยืมเข้ามาทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา เป็นวันแรก มีผู้กู้ยืมเข้ามาทำสัญญากว่า 1,000 ราย ปลดภาระผู้ค้ำประกันหลังจากทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ทันที ผู้กู้ยืมสามารถลงทะเบียนนัดหมายวันเข้าทำสัญญาล่วงหน้าทางเว็บไซต์ กยศ. และกองทุนฯ จะทยอยทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ให้กับผู้กู้ยืมจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศต่อไป

นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้เปิดเผยว่า “เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 กองทุนฯ ได้เปิดให้ผู้กู้ยืมที่ลงทะเบียนนัดหมายเข้าทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้เป็นวันแรก โดยมีผู้กู้ยืมเข้ามาทำสัญญากว่า 1,000 ราย สำหรับผู้กู้ยืมที่มีสิทธิ์เข้าทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ได้แก่ ลูกหนี้ทุกกลุ่ม โดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้กู้ยืมผ่อนชำระเงินคืนกองทุนฯเป็นรายเดือนในอัตราเท่ากันทุกเดือน ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี และในการชำระเงินงวดสุดท้ายผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ ให้ส่วนลดเบี้ยปรับ 100% เมื่อชำระหนี้เสร็จสิ้น และผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดหลังจากทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้

ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมสามารถลงทะเบียนนัดหมายเข้าทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ได้ ทางเว็บไซต์ www.studentloan.or.th โดยจะเปิดให้เข้ามาทำสัญญาทุกวันไม่เว้นวันหยุด เวลา 09.00 – 20.00 น. และกองทุนฯจะเปิดโอกาสให้ผู้กู้ยืมตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศได้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ต่อไป ซึ่งการปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวจะส่งผลให้ผู้กู้สามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน รวมถึงลดกระบวนการดำเนินคดี/บังคับคดี ซึ่งคาดว่าจะมีเงินกลับเข้ามาที่กองทุนฯ อย่างต่อเนื่อง และทำให้มีเงินหมุนเวียนเพื่อส่งต่อโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียน นักศึกษา รุ่นน้องต่อไป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top