Saturday, 15 March 2025
US

กองทัพ 'อเมริกา+อังกฤษ' โจมตี 'เยเมน' หวังถล่มฐานทัพ 'ฮูตี' เปิดฉากสมรภูมิใหม่เต็มสูบ 'ทางอากาศ-ทางเรือ-เรือดำน้ำ'

(12 ม.ค.67) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรเริ่มปฏิบัติการโจมตีเล่นงานเป้าหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพวกฮูตีในเยเมน เจ้าหน้าที่อเมริกา 4 รายเปิดเผยกับรอยเตอร์ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น นับเป็นครั้งแรกที่มีการเปิดปฏิบัติการกับพวกติดอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านกลุ่มนี้ นับตั้งแต่ทางกลุ่มเริ่มเล็งเป้าโจมตีเรือขนส่งสินค้าต่างๆ ในทะเลแดงในช่วงปลายปีที่แล้ว

ฮูตี ซึ่งควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเยเมน เล็งเป้าเล่นงานเส้นทางเดินเรือสินค้าในทะเลแดง เพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนชาวปาเลสไตน์และกลุ่มนักรบอิสลามิสต์ปาเลสไตน์ ‘ฮามาส’ ท่ามกลางสงครามระหว่างอิสราเอลกับฮามาสในฉนวนกาซา การโจมตีก่อความปั่นป่วนแก่การค้าระหว่างประเทศ ในเส้นทางขนส่งสำคัญที่เชื่อมระหว่างยุโรปกับเอเชีย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 15% ของการขนส่งสินค้าทางเรือทั่วโลก

ปฏิบัติการครั้งนี้เชื่อว่าเป็นปฏิบัติการโจมตีครั้งแรกของสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 2016 ที่ลงมือเล่นงานพวกกบฏฮูตีในเยเมน

เจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ประสงค์เอ่ยนาม บอกว่าคาดหมายว่าจะมีการเผยแพร่ถ้อยแถลงอย่างเป็นทางการในไม่ช้านี้ ซึ่งจะให้รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับปฏิบัติการโจมตี

ก่อนหน้านี้ในวันพฤหัสบดี (10 ม.ค.) ผู้นำกลุ่มฮูตี บอกว่าการโจมตีใดๆ ของสหรัฐฯ ที่เล่นงานทางกลุ่ม การโจมตีเหล่านั้นจะไม่ถูกปล่อยให้ผ่านพ้นไปเฉยๆ โดยปราศจากการตอบโต้ใดๆ

พวกฮูตี ซึ่งยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเยเมน ในสงครามกลางเมือง ได้ประกาศโจมตีเรือต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอิสราเอล หรือมุ่งหน้าสู่ท่าเรือของอิสราเอล อย่างไรก็ตาม จำนวนมากของเรือที่ตกเป็นเป้าหมายนั้นพบว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับอิสราเอล

กองทัพสหรัฐฯ เปิดเผยว่าก่อนหน้านี้ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ว่าพวกฮูตีได้ลงมือโจมตีเล่นงานการเดินเรือครั้งที่ 27 นับตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน ด้วยการยิงขีปนาวุธต่อต้านเรือเข้าใส่เส้นทางการเดินเรือในอ่าวเอเดน

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น หลังจากก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ กองทัพเรือสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรได้สอยร่วงโดรนและขีปนาวุธจำนวนหลายสิบ ที่กบฏฮูตียิงเข้าใส่ทางใต้ของทะเลแดง

‘พวกฮูตีจำเป็นต้องหยุดการโจมตีเหล่านี้ พวกเขาต้องแบกรับผลสนองกลับ หากว่าไม่ยอมทำตาม’จอห์น เคอร์บี โฆษกความมั่นคงแห่งชาติทำเนียบขาวระบุในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

บรรณาธิการข่าวการเมืองของหนังสือพิมพ์เดอะไทม์ส ของอังกฤษ ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา กล่าวอ้างก่อนหน้านี้ไม่นานว่า สหราชอาณาจักรคาดหมายว่าจะร่วมกับสหรัฐฯ เปิดปฏิบัติการโจมตีทางอากาศถล่มฐานที่มั่นทางทหารที่เป็นของพวกฮูตีที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านในเยเมน ‘ในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า’

เดอะไทม์ส ของอังกฤษรายงานว่าก่อนหน้านั้นในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาซูแน็ก ได้บรรยายสรุปกับคณะรัฐมนตรี ต่อการขยับเข้าใกล้การเข้าแทรกแซงทางทหาร และสื่อมวลชนอังกฤษแห่งนี้รายงานด้วยว่า บุคคลทางการเมืองอื่นๆ ในนั้นรวมถึง เคียร์ สตาร์เมอร์ หัวหน้าพรรคเลเบอร์ พรรคฝ่ายค้านของสหราชอาณาจักร เช่นเดียวกับประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับฟังรายงานสรุปจากรัฐบาลเช่นกัน

ทำเนียบนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรของ ริชี ซูแน็ก ไม่ตอบคำถามของรอยเตอร์ ที่สอบถามขอความคิดเห็น ส่วนกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และทำเนียบขาวก็ปฏิเสธแสดงความคิดเห็นต่อรายงานข่าวดังกล่าว ในขณะที่ปกติแล้ว อเมริกาจะไม่แสดงความคิดเห็นต่อแนวโน้มปฏิบัติการทางทหารใดๆ ในอนาคต

รัสเซียเปิดช่องถกข้อตกลงยุติขัดแย้งยูเครน แม้สหรัฐกับพันธมิตรจะส่งอาวุธโจมตีแดนหมีขาวอย่างต่อเนื่อง

(22 พ.ย.67) สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า มาเรีย ซาคาโรวา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย แถลงว่า รัสเซียพร้อมพิจารณาข้อเสนอสันติภาพใด ๆ ที่ "เป็นไปได้จริง" เพื่อแก้ไขความขัดแย้งในยูเครน โดยยึดผลประโยชน์ของชาติและสถานการณ์ในพื้นที่เป็นหลัก

“เราพร้อมสำหรับการเจรจา และยินดีพิจารณาข้อเสนอที่ไม่มีแรงจูงใจทางการเมืองแอบแฝง” ซาคาโรวากล่าว พร้อมย้ำว่าข้อตกลงใด ๆ จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของรัสเซียเป็นสำคัญ

“ดิฉันขอเน้นว่า สิ่งสำคัญคือการรับประกันผลประโยชน์ของเรา สอดคล้องกับสถานการณ์ในพื้นที่ และมีข้อผูกพันที่ชัดเจน”

สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุเพิ่มเติมว่า รัสเซียเปิดกว้างต่อการเจรจาหยุดยิงในยูเครนกับโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่ยืนยันไม่คืนดินแดนสำคัญ และเรียกร้องให้ยูเครนยุติความพยายามเข้าร่วมองค์การนาโต้

ทำความรู้จัก Oreshnik มิสไซล์เร็วเหนือเสียงรุ่นใหม่ ปูตินตอบโต้ส่งทะลวงยูเครน 5,500 กม.

(25 พ.ย.67) หลังจากที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน อนุมัติให้ยูเครนใช้อาวุธจรวดนำวิถี ATACMS โจมตีเป้าหมายในรัสเซีย ล่าสุด รัสเซียได้ตอบโต้ทันทีด้วยการอนุมัติการใช้ขีปนาวุธนำวิถีความเร็วเหนือเสียงรุ่นใหม่ 'Oreshnik' ซึ่งมีพิสัยยิงไกลถึง 5,000 กิโลเมตร โดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ยืนยันว่าขีปนาวุธดังกล่าวไม่ได้ติดหัวรบนิวเคลียร์  

พาเวล อัคเซนอฟ ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารจาก BBC เปิดเผยว่า ขีปนาวุธ Oreshnik ยังไม่มีข้อมูลในสารบบของนาโต้ โดคาดว่าเป็นอาวุธรุ่นใหม่ที่รัสเซียพัฒนาสำเร็จ ขีปนาวุธนี้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนระหว่างการบินผ่านเปลวไฟจากเครื่องยนต์ ซึ่งตรวจจับได้ด้วยดาวเทียมและเครื่องบินลาดตระเวน  

จากคำกล่าวของปูติน เขาระบุว่า "หัวรบที่มีความเร็วเหนือเสียงที่ไม่ใช่แบบนิวเคลียร์" และหัวรบของมัน "โจมตีเป้าหมายด้วยความเร็ว 10 มัค ซึ่งอยู่ระหว่าง 2.5-3 กม./วินาที"

ขณะที่ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านทหารระบุว่า ขีปนาวุธนี้ติดตั้งหัวรบที่โจมตีด้วยความเร็วสูงถึง 10 มัค หรือ 2.5-3 กม./วินาที ซึ่งทำให้ยากต่อการสกัดกั้น อีกทั้งยังสามารถบรรทุกหัวรบแบบหลายหัวเพื่อโจมตีเป้าหมายได้พร้อมกัน ครอบคลุมพื้นที่ในยุโรปเกือบทั้งหมดและบางส่วนของฝั่งตะวันตกของสหรัฐ  

บีบีซียังเผยว่า มีความเป็นไปได้มากว่า Oreshnik ที่ปูตินกล่าวถึงนั้น ได้รับการพัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีความร้อนแห่งกรุงมอสโก (MIT) หรือไม่ก็ ศูนย์ขีปนาวุธเมเคเยฟ  เนื่องจากศูนย์ทั้งสามแห่งนี้มีศักยภาพในการพัฒนาขีปนาวุธพิสัยกลาง-ไกล

สำหรับศูนย์ขีปนาวุธเมเคเยฟ  จะมุ่งเน้นไปที่ขีปนาวุธเชื้อเพลิงเหลวซึ่งยิงจากไซโล มีน้ำหนักมากและมีพิสัยการยิงที่ไกลมาก ตัวอย่างเช่น พิสัยของขีปนาวุธซาร์มัตอ้างว่าสามารถไปได้ไกลถึง 18,000 กม. ส่วน

ขณะที่ศูนย์สถาบันเทคโนโลยีความร้อนแห่งกรุงมอสโก ความเชี่ยวชาญในการสร้างขีปนาวุธขนาดเล็กพร้อมเครื่องยนต์เชื้อเพลิงแข็งที่ปล่อยจากฐานยิงเคลื่อนที่ โดยเฉพาะขีปนาวุธเหล่านี้มีน้ำหนักเบากว่า มีหัวรบที่เล็กกว่า และมีพิสัยการบินได้ที่สั้นกว่า ตัวอย่างเช่น ขีปนาวุธยาร์ส (Yars) มีพิสัยการบินได้ 12,000 กม.

การเคลื่อนไหวดังกล่าวสะท้อนถึงความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นในสงครามยูเครน-รัสเซีย ขณะที่ทั้งสองฝ่ายเดินหน้าพัฒนาอาวุธล้ำสมัยเพื่อตอบโต้กันในสมรภูมิระหว่างประเทศ

ส่องคลังแสงปราการป้องมอสโก เทคโนโลยียุคโซเวียต ระบบป้องกันขีปนาวุธที่ปูตินสั่งเตรียมพร้อมสูงสุด

(25 พ.ย.67) ดูเหมือนสถานการณ์ความรุนแรงในยูเครนจะคุกรุ่นมากขึ้น จากการที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วประธานาธิบดีโจ ไบเดน ทิ้งทวนคำสั่งก่อนหมดวาระการดำรงตำแหน่งด้วยการมอบขีปนาวุธแบบ ATACMS  ซึ่งเป็นสุดยอดขีปนาวุธโจมตีพิสัยกลางให้แก่ยูเครน 

ส่งผลให้ล่าสุดประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ออกคำสั่งใช้ขีปนาวุธ Oreshnik ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นขีปนาวุธเหนือเสียง เดินทางเร็วกว่าเสียง 10 เท่า พิสัยการยิง 5,000 กิโลเมตร ซึ่งสามารถโจมตียุโรปได้ทั้งหมด และรวมไปถึงบางส่วนของฝั่งตะวันตกของสหรัฐ โดยเป้าหมายแรกที่ปูตินสั่งให้ขีปนาวุธ Oreshnik คือเมือง Dnepropetrovsk ของยูเครนซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งของ สถานประกอบการด้านการป้องกันยูเครน

คำสั่งโจมตีดังกล่าวของผู้นำมอสโก ทำให้กระทรวงกลาโหมรัสเซียต้องออกมาเปิดเผยถึงความพร้อมในการรับมือโจมตีระรอกใหม่ หากว่ายูเครนใช้อาวุธที่นาโต้มอบให้ โจมตีแผ่นดินรัสเซียด้วยการออกมาเปิดเผยระบบป้องกันขีปนาวุธที่รัสเซียเตรียมพร้อมรับมือ

พล.ท. Aytech Bizhev อดีตรองผู้บัญชาการระบบป้องกันภัยทางอากาศร่วมของ CIS กองทัพอากาศรัสเซีย กล่าวกับสำนักข่าว Sputnik โดยให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธีการที่มอสโกว์มีไว้เพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากขีปนาวุธของนาโต้ว่า รัสเซียมีระบบป้องกันขีปนาวุธหลายรูปแบบที่เตรียมพร้อมรับมือ อาทิ 

S-300V ซึ่งถูกนำมาใช้ตั้งแต่ปี 1988 เป็นการอัปเกรดระบบขีปนาวุธพื้นสู่อากาศระยะไกล S-300 ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 1978 มีระยะยิงต่อเป้าหมายขีปนาวุธ 30-40 กิโลเมตร S-400 ขีปนาวุธที่พัฒนาในช่วง1980-1990 เปิดตัวในปี 2007 สามารถตรวจจับเป้าหมายขีปนาวุธได้ไกลถึง 200 กิโลเมตร และทำลายได้ในระยะ 60 กิโลเมตร

S-500 ระบบขีปนาวุธพื้นสู่อากาศรุ่นล่าสุดของรัสเซีย เริ่มใช้งานในปี 2021 สามารถตรวจจับเป้าหมายได้ไกลถึง 600 กิโลเมตร และทำลายได้ในระยะ 200 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังมี A-135 Amur และ A-235 Nudol ระบบสกัดกั้นขีปนาวุธแบบฐานยิง ถูกออกแบบมาเพื่อจัดการกับภัยคุกคามจากขีปนาวุธความเร็วสูงและอวกาศ ใช้งานตั้งแต่ปี 1995 และ 2019 ตามลำดับ มีระยะตรวจจับสูงสุด 6,000 กิโลเมตรด้วยเรดาร์ Don-2N และระยะยิงประมาณ 350-900 กิโลเมตร

อีกหนึ่งระบบคือ Tor ระบบขีปนาวุธระยะสั้น เริ่มใช้งานในปี 1986 ถูกออกแบบมาเพื่อจัดการกับเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ ขีปนาวุธร่อน และโดรน รวมถึงขีปนาวุธระยะสั้น ระยะตรวจจับและติดตาม 25 กิโลเมตร ระยะยิงสูงสุด 16 กิโลเมตร

และสุดท้าย Buk ระบบขีปนาวุธระยะกลาง พัฒนาตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1970 ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ถูกนำมาใช้ในกองทัพตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1990 สามารถโจมตีขีปนาวุธยุทธวิธี ขีปนาวุธร่อน และขีปนาวุธต่อต้านเรือในระยะ 3-20 กิโลเมตร และที่ระดับความสูงสูงสุด 16 กิโลเมตร

Bizhev กล่าวว่า ระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซียล้ำหน้ากว่าวิธีการโจมตีที่มันถูกออกแบบมาป้องกันอยู่ประมาณ 5-10 ปี ขาเล่าถึงยุคปลายทศวรรษ 1980 ที่สหภาพโซเวียตเริ่มพัฒนาระบบป้องกันขีปนาวุธเป็นครั้งแรก ในขณะที่ NATO กำลังติดตั้งอาวุธขีปนาวุธยุคใหม่ที่มีความแม่นยำสูง ในยุคนั้น ภารกิจหลักของระบบป้องกันขีปนาวุธของโซเวียต (และรัสเซียหลังปี 1991) คือการป้องกันมอสโกและภูมิภาคอุตสาหกรรมตอนกลาง

ไบเดนเล็งเพิ่มคว่ำบาตรรัสเซีย มุ่งตัดช่องการเงินทำสงครามยูเครน

(3 ธ.ค.67) ทำเนียบขาวเผยว่าสหรัฐฯ เตรียมประกาศคว่ำบาตรรัสเซียเพิ่มเติม โดยเน้นโจมตีภาคการเงินของมอสโก ก่อนที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน จะสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ

นายเจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ ระบุในแถลงการณ์ว่า “สหรัฐฯ ได้เตรียมดำเนินมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหญ่กับภาคการเงินของรัสเซียแล้ว เพื่อทำลายศักยภาพในการสนับสนุนกลไกสงครามของประเทศ และยังมีแผนดำเนินการเพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้นี้”

อย่างไรก็ตาม นายซัลลิแวน ไม่ได้ระบุว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อมุ่งเป้าตัดช่องทางการเงินของรัฐบาลมอสโกตามแถลง

การประกาศครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งความพยายามของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการกดดันมอสโกให้ยุติการสนับสนุนสงคราม ในห้วงเวลาอีกราวหนึ่งเดือนสุดท้ายก่อนประธานาธิบดีโจ ไบเดน จะหมดวาระลง

โดรนอิหร่าน บอลลูนจีน มิสไซล์รัสเซีย ย้อนคำอ้างที่ไร้มูลความจริงของสหรัฐฯ

(16 ธ.ค. 67) เมื่อไม่กี่วันก่อนสภาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรครีพับลิกัน เจฟเฟอร์สัน แวน ดรูว์ ได้กล่าวในตอนหนึ่งของรายการทางช่อง Fox News ว่าพบโดรนต้องสงสัยบินเหนือน่านฟ้ารัฐนิวเจอร์ซีย์ ซึ่งคาดว่าโดรนดังกล่าวถูกส่งมาจากเรือแม่ของอิหร่านที่ลักลอบสอดแนมนอกชายฝั่งสหรัฐ โดยนายแวน ดรูว์ ได้อ้างแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อถึงกิจกรรมสอดแนมดังกล่าว 

อย่างไรก็ตาม เลขาธิการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ อเลฮานโดร มายอร์คัส เปิดเผยในเวลาต่อมาว่า ไม่พบหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่ามีกิจกรรมโดรนสอดแนมจากต่างชาติบนแผ่นดินสหรัฐฯ ซึ่งเรื่องดังกล่าวไม่ใช่ครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐออกมาให้ข่าวสร้างความหวาดกลัวที่ไร้มูลควาจริงต่อสาธารณะ

จากการตรวจสอบของสำนักข่าวสปุตนิกพบว่า เมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่าน ก็มีรายงานจากคำอ้างของวุฒิสมาชิกริค สก็อตต์ ที่ส่งถึงรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ โดยว่า กระเทียมที่นำเข้าจากจีนอาจปลูกในสภาพที่ไม่สะอาดและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคในสหรัฐ อาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ จึงสมควรมีการสอบสวน แต่อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์สหรัฐไม่ได้มีการสั่งระงับการนำเข้ากระเทียมจากจีนแต่อย่างใด

ก่อนหน้านั้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 มีประเด็นเรื่อง บอลลูนอากาศจากจีนหลุดเข้ามาในอากาศเขตสหรัฐฯ โดยขณะนั้นรัฐบาลไบเดนออกมากล่าวโทษว่า บอลลูนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสอดแนมรัฐบาลปักกิ่ง แต่ในภายหลังจากนั้น กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก็ยอมรับว่า บอลลูนดังกล่าวไม่ได้ทำการเก็บข้อมูลข่าวกรองใดๆ ขณะบินอยู่ในเขตอเมริกา  และก็ยังไม่ทราบถึงที่มาว่าบอลลูนดังกล่าวถูกส่งมาจากที่ใด

อีกหนึ่งภัยคุกคามที่สปุตนิกพบว่ารัฐบาลสหรัฐมักกล่าวอ้างคือ นิวเคลียร์จากอวกา โดยในดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สื่อของสหรัฐฯ ได้ออกมาส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับแผนการที่อ้างว่า รัสเซียมีแผนที่จะนำอาวุธต่อต้านดาวเทียมที่มีพลังนิวเคลียร์ไปใช้ในอวกาศ โดยอ้างหลักฐานเดียวคือคำกล่าวของเจ้าหน้าที่ในรัฐบาลไบเดน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหน่วยงานด้านอวกาศแห่งอื่นใดออกมาให้ข้อมูลดังกล่าว ขณะที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซียได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวในระหว่างการกล่าวปราศรัยในรัฐสภา โดยระบุว่าเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลความจริง 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top