Thursday, 18 April 2024
SmartCity

'รัฐบาลลุงตู่' เดินหน้าพัฒนา 'เมืองยะลา' สู่เมืองอัจฉริยะ ยกระดับเป็น 'ศูนย์กลางทางดิจิทัล' ในกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้

(22 ม.ค. 66) เพจศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี - PMOC ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการพัฒนาเพื่อยกระดับจังหวัดยะลาให้เป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ โดยระบุว่า...

ยะลาเคยเป็นหนึ่งในเป้าหมายของขบวนการแบ่งแยกดินแดน จากเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในอดีตเกือบ 20 ปีที่แล้ว ซึ่งในช่วงเวลานั้น ยะลาและอีก 2 จังหวัดชายแดนใต้ตกอยู่ภายใต้บรรยากาศแห่งความหวั่นไหว เกิดเหตุการณ์ฆ่าสังหารเจ้าหน้าที่รัฐ, พระสงฆ์ และประชาชนผู้บริสุทธิ์โดยขบวนการแบ่งแยกดินแดนเป็นเวลาหลายสิบปี มีผู้สียชีวิตนับพัน อีกทั้งยังสร้างบรรยากาศแห่งความขัดแย้ง เห็นคนต่างศาสนาเป็นศัตรู

ภายใต้แนวทางการดำเนินการภาครัฐที่ใช้การพัฒนานำหน้า พัฒนาพื้นที่ สร้างสันติสุขที่ยั่งยืน ประกอบกับ 'ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี' ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ใช้การพัฒนาเศรษฐกิจนำหน้า ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (3 แกนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศ), เศรษฐกิจฐานราก (Local Economy), กระจายรายได้ และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม จังหวัดยะลาจึงมีโอกาสพลิกฟื้นสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะที่ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และมีโอกาสได้พัฒนาเมืองร่วมกัน

ถึงแม้ยะลาจะไม่มีต้นทุนทางเศรษฐกิจมากมายนัก แต่มีต้นทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Asset) หรือ Soft Power และต้นทุนทรัพยากรธรรมชาติอยู่มากมาย ซึ่งชาวยะลาร่วมใจกันใช้ต้นทุนเหล่านี้ในการสร้างเมืองขึ้นใหม่ สร้างโอกาส สร้างรายได้แก่ชาวยะลาได้อย่างทั่วหน้า

นอกจากนี้ จังหวัดยะลา ยังอาศัยโอกาสจากพัฒนาการทางเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) มาใช้ในการพัฒนาเมืองตามแนวคิด ไทยแลนด์ 4.0 ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกอบกับการส่งเสริมการสร้างเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ตามนโยบายของรัฐบาล ทำให้เมืองยะลามีการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะดังนี้ 

>> Smart Governance

เทศบาลยะลาได้พัฒนาแอปพลิเคชัน Yala Mobile Application เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง ด้วยแนวคิดรัฐบาลโปร่งใส่ (Open Government) ของรัฐบาล อีกทั้งยังสามารถรับทราบข่าวสารการให้บริการภาครัฐ และร้องเรียนผ่านแพลตฟอร์มไลน์

>> Smart Economy

เทศบาลยะลาได้พัฒนาเศรษฐกิจเชิงเทคโนโลยี โดยสร้าง platform ที่ชื่อว่า 'หลาดยะลา' สร้างโอกาสในการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) ด้วยการเป็นสื่อกลางในการให้บริการค้าขายออนไลน์ พร้อมบริการขนส่งในพื้นที่ผ่านวินมอเตอร์ไซด์ 

นอกจากนี้ เทศบาลยังจัดอาสาสมัครชุมชนเข้าไปช่วยสอนวิธีการใช้งาน เพื่อแก้ปัญหาความไม่รู้ ไม่เข้าใจของประชาชนบางส่วนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังอีกด้วย

'หัวหิน' ยกระดับสู่เมือง Smart city ติด CCTV รอบเมือง ตั้งเป้าลดอาชญากรรม 50%

(3 ก.พ. 66) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้าประชุมหารือเตรียมความพร้อมโครงการ Smart city HuaHin โดยมีนายเสถียร เจริญเหรียญ ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีหัวหิน ให้การต้อนรับ ณ เทศบาลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ชัยวุฒิ กล่าวว่า Smart city เป็นนโยบายสำคัญของท่านนายกฯ ใช้ชื่อโครงการทั้งหมดว่าไทยแลนด์ 4.0 ในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ตอนนี้ถือว่าประเทศของเรามาได้ไกลแล้ว ประชาชนมีการเข้าถึงการใช้อินเทอร์เน็ต เข้าถึงการใช้สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ในการทำงานทำธุรกรรมต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งถือว่าคนไทยคุ้นเคยกับดิจิทัลมาก

Smart city เป็นเรื่องของความสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นประกอบทำให้อาชีพดีขึ้น ตนว่าหัวหินก็เด่นในเรื่องของการท่องเที่ยว การค้าขาย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ซึ่งตนคิดว่า ถ้าเราได้นำคอนเซปต์ของ Smart city มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ จะทำให้เมืองหัวหินพัฒนาได้ดียิ่งขึ้น ทำให้มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองหัวหินมากขึ้น มีคนมาซื้อที่ดินมากขึ้น

Smart city ยังไม่ได้ให้แค่ความเจริญ แต่ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ต่างจังหวัด ในพื้นที่ห่างไกล การมีโครงการนี้เข้าไปในพื้นที่ จะทำให้เมืองทันสมัยขึ้น ทำให้ประชาชนอยู่สุขสบายมากขึ้น

‘กระทรวงดิจิทัลฯ - ดีป้า’ จัดงาน SCA on Tour มุ่งกระจายความเจริญ ลดความเหลื่อมล้ำด้วยเทคโนโลยี

(4 มี.ค. 66) ที่จังหวัดปทุมธานี กระทรวงดิจิทัลฯ และ ดีป้า พร้อมเครือข่ายพันธมิตรลงพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จัดกิจกรรม SCA on Tour ภาคกลาง ขยายความสำเร็จโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ รุ่นที่ 2 มุ่งสร้างความตระหนักรู้ด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่เข้มแข็งในระดับพื้นที่ ระหว่างนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ และผู้แทนจากหน่วยงานในโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ มุ่งเป้ากระจายความเจริญและลดความเหลื่อมล้ำด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และสอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธาน
เปิดกิจกรรม SCA on Tour ภาคกลาง ที่จัดโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า และ จังหวัดปทุมธานี โดยมี นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี, พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี, ร้อยตำรวจเอก ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต, ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า, ผู้บริหารและผู้แทนจากเครือข่ายพันธมิตรทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ, ภาคเอกชน, ภาคประชาชน รวมถึงน้อง ๆ จากโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ รุ่นที่ 2 (Smart City Ambassadors: SCA Gen 2) และผู้แทนจากหน่วยงานในโครงการฯ (กัปตันเมือง) ร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพรียง

นายชัยวุฒิ เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการขยายความสำเร็จโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ รุ่นที่ 2 กระทรวงดิจิทัลฯ และ ดีป้า จึงจัดกิจกรรม SCA on Tour ภาคกลาง จังหวัดปทุมธานีขึ้น หลังประสบความสำเร็จอย่างมากจาก SCA on Tour ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 มกราคมที่ผ่านมา โดยกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความตระหนักรู้ด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และเครือข่ายความร่วมมือผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่เข้มแข็งในระดับพื้นที่ระหว่างนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ รุ่นที่ 2 กัปตันเมือง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง

“ที่ผ่านมา กระทรวงดิจิทัลฯ โดย ดีป้า ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
ในระดับท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 ที่กำหนดให้ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน ด้วยการผลักดันการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้เกิดระบบบริการที่เป็นรูปธรรม นำไปสู่การบริหารจัดการเมืองที่มีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง เท่าเทียม พร้อมรองรับนักลงทุน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าว

เติมเต็มเมืองหลวง ‘พุทธิพงษ์’ ดันนโยบาย ‘กรุงเทพฯ เมืองอัจฉริยะ’ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สร้างเมืองให้ทันสมัย-น่าอยู่

(8 มี.ค. 66) นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง กทม. พรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวถึงนโยบาย ‘กรุงเทพฯ เมืองอัจฉริยะ’ ของพรรคภูมิใจไทย ว่า วันนี้ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญในเรื่องของการนำ Technology Digital มาใช้ผลักดัน และสร้างเมืองให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ เราเคยได้ยินคำว่า ‘Smart City’ เรื่องนี้ไม่ได้ยาก และเชื่ออย่างยิ่งว่าการเอา Technology Digital การใช้ข้อมูลที่ทันสมัย การนำเอาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทันสมัยมาเติมเต็ม แวะมาเติมให้กับคนกรุงเทพฯ ได้สะดวกสบายมากขึ้น คิดว่า วันนี้เราพร้อมจริง ๆ

นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า อยากให้ทุกคนลองมองในมิติหนึ่งซึ่งคิดว่าวันนี้ทั่วโลก กำลังผลักดันเรื่องนี้ให้ความสำคัญในการเอา Technology Digital มาใช้ผลักดันและสร้างเมืองให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ เราเคยได้ยินคำว่า ‘Smart City’ เมืองอัจฉริยะบ้าง, เมืองแห่งอนาคตบ้าง, เมืองแห่งความสุข, เมืองแห่งความทันสมัย เรื่องนี้ไม่ได้ยาก กรุงเทพมหานครต้องยอมรับว่า วันนี้กรุงเทพฯ ไม่ได้เป็นเมืองหลวงของประเทศไทยเท่านั้น แต่กรุงเทพฯ เป็นมหานครที่คนทั่วโลกคลั่งไคล้ อยากจะมาอยู่ อยากจะมาเที่ยว อยากที่จะมาใช้ชีวิตอยู่ จนพูดได้ว่า จริง ๆ แล้วกรุงเทพฯ ไม่ต้องแข่งกับใครเลย แค่เสน่ห์ของกรุงเทพฯ ที่มีอยู่แล้ว ทั้งบุคคล สถานที่ท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพฯ เรามีพร้อมทุกอย่าง สิ่งที่เราต้องติดปีกและเติมเข้าไปให้กับเมืองกรุงเทพฯ คือ ความทันสมัย นำเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดเวลา ช่วยอำนวยความสะดวก และช่วยทำให้ทุก ๆ ท่าน มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นมาใช้ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เราต้องทำให้ดีที่สุดคือ เรื่องเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ การใช้ที่เราเรียกว่าโครงสร้าง Network ต่าง ๆ เอามาผลักดันให้ทุกอย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น 

นายพุทธิพงษ์ ระบุว่า อย่างเครือข่าย 5G เราใช้เวลาแค่ไม่ถึงปีสามารถผลักดันให้ 5G ได้รับการปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งถ้าถามว่า ระบบ 5G ที่เกิดขึ้นมันจะดีอย่างไรกับประเทศไทยและมันจะดีอย่างไรกับคนกรุงเทพฯ 5G ไม่ใช่แค่สัญญาณโทรศัพท์มือถือเท่านั้น แต่ระบบ 5G จะไปดูแลในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานที่จะไปผลักดันในเรื่อง AI หรือปัญญาประดิษฐ์ หรือในเรื่องเกี่ยวกับการใช้ Robotic หรือหุ่นยนต์ เรามีการดาวน์โหลดฐานข้อมูลที่กว้าง เราดูหนังฟังเพลงระบบ 5G จะไปอยู่เบื้องหลังในการผลักดันสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น ให้เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ 

‘กองทุนดีอี’ ติดตามโครงการจัดหาระบบ 5G Smart City ร่วมผลักดันพื้นที่ EEC ก้าวสู่เมืองอัจฉริยะน่าอยู่

กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามผลในการดำเนินงาน โครงการจัดหาระบบและอุปกรณ์ 5G Smart City สำหรับพื้นที่ EEC เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการเมือง และ ส่งเสริมความเป็นเมืองน่าอยู่ ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนฯ ในปีประกาศ พ.ศ. 2564 ตามมาตรา 26 (1) ภายใต้กรอบนโยบาย Digital Government and Infrastructure

วันที่ 5 กันยายน 2566 กองบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำโดยคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ ผู้แทนจากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณาโครงการ ผู้อำนวยการกองทุนฯ และเจ้าหน้ากลุ่มติดตามและประเมินผล ได้ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน 'โครงการจัดหาระบบและอุปกรณ์ 5G Smart City สำหรับพื้นที่ EEC เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการเมือง และ ส่งเสริมความเป็นเมืองน่าอยู่' ของ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ ได้ขอทุนสนับสนุนในการดำเนินโครงการจัดหาระบบและอุปกรณ์5G Smart City สำหรับพื้นที่ EEC เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการเมือง และ ส่งเสริมความเป็นเมืองน่าอยู่ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในพื้นที่ EEC ได้แก่ การสร้างเครือข่าย Internet of Things และ CCTV พร้อม ทั้งต่อยอดการพัฒนาเครือข่าย 5G Mobile และสร้างให้มีการใช้พื้นที่ที่มีศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล รวมทั้งการสร้างความพร้อมในการพัฒนา Service Platforms ควบคู่กับการพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดธุรกิจ ใหม่ในด้านเมืองอัจฉริยะ และสร้างงานสร้างรายได้ให้กับเมือง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร เพื่อความยั่งยืนในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่นักพัฒนาเมืองจะสามารถ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการแก้ปัญหา และต่อยอดการพัฒนาพื้นที่ EEC ได้

โดยผลการดำเนินงานในโครงการ ประกอบด้วย การติดตั้งเสา Smart Pole จำนวน 90 ต้นในเขตเมือง ชุมชน และแหล่งท่องเที่ยวในเทศบาลเมืองพัทยา เพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้าน IoT และระบบ CCTV ผ่านเครือข่ายสัญญาณ 5G ในการส่งเสริมการบริหารจัดการเมืองและความปลอดภัยของประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่ ซึ่งมีศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ Intelligent Operation Center (IOC) ตั้งอยู่ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา ในการบริหารจัดการและดูแลระบบในการให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยว ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมในการเริ่มใช้งานจริง เพื่อยกระดับการพัฒนาเมืองพัทยาให้เป็น Smart City เมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top