Friday, 29 March 2024
Netzero

‘บิ๊กตู่’ ย้ำเป้าหมาย Net zero ภายในปี พ.ศ. 2608 วอนคนไทยร่วมรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

‘บิ๊กตู่’ กล่าวปาฐกถาพิเศษงาน TCAC ยืนยันเจตนารมณ์ในการขับเคลื่อนการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มุ่งใช้นโยบายเศรษฐกิจ BCG เป็นกลไกหลักในการสร้างความสมดุลแห่งการพัฒนา เดินหน้าสร้างความเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนทุกคน

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 5 สิงหาคม ที่รอยัล พารากอน ฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference: TCAC) จัดโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด“อนาคตไทย อนาคตโลก: โอกาสและความรับผิดชอบ (Our Future: Our Responsibility, Our Opportunity)” โดยมีนายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงาน

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยินดีที่มาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ เป็นการยืนยันเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของรัฐบาลในการขับเคลื่อนการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลักดันไทยมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2608 ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบทวีความรุนแรงมากขึ้นต่อทุกภูมิภาคทั่วโลก ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา กิจกรรมของมนุษย์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นประมาณ 1.1 องศาเซลเซียส 

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประชาคมโลกต้องเร่งยกระดับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจะส่งผลให้นานาประเทศต้องเผชิญกับวิกฤตการผลิตสินค้าอาจส่งผลกระทบรุนแรงถึงขั้นที่ประชากรทั่วโลกจะประสบกับภาวะขาดแคลนอาหาร และภัยธรรมชาติรูปแบบต่าง ๆ จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นด้วย ดังนั้น World Economic Forum : WEF จึงได้กำหนดให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามระยะยาวของโลกที่มีแนวโน้มจะส่งผลต่อการดำเนินเศรษฐกิจระดับมหภาค ที่ผ่านมา ประชาคมโลกได้พยายามยกระดับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และมุ่งบรรลุเป้าหมายของความตกลงปารีสจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส  และพยายามควบคุมให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเท่ากับต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกลงร้อยละ 45 ภายในปี 2573 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิต้องเป็นศูนย์ ภายในปี 2593 พร้อมทั้งสร้างขีดความสามารถในการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น ควบคู่กันไปอย่างสมดุล

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไทยรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและกระทันหัน เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ซึ่งล้วนแต่กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ในปี 2564 ไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่อผลกระทบระยะยาวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสูงสุด เป็นลำดับที่ 9 ของโลก ซึ่งในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา มีมูลค่าความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมแล้วนับแสนล้านบาท ในวันนี้ ประเทศไทยจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวรับผลกระทบที่เกิดขึ้นในมิติต่าง ๆ อย่างจริงจัง

นายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำว่า นโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้กำหนดทิศทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืนในทุกมิติร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนแม่บทต่าง ๆ ที่มุ่งสู่การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ครอบคลุม 3 องค์ประกอบที่สำคัญ การลดก๊าซเรือนกระจกระยะยาวที่สอดคล้องกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ,การปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ สนับสนุนการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐและเอกชน รวมถึงการพัฒนามาตรการทางเศรษฐศาสตร์ การเงิน และการคลัง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องปรับตัวสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะเป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่แสดงเจตนารมณ์ต่อ United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC 

กลุ่ม ปตท. ผนึกกำลัง เดินหน้ารุกธุรกิจน้ำมันเครื่องบินเพื่อสิ่งแวดล้อม สร้างสังคมศก.คาร์บอนต่ำ รับเป้าหมาย Net Zero

กลุ่ม ปตท. ผนึกกำลัง รุกธุรกิจน้ำมันเครื่องบินเพื่อสิ่งแวดล้อม สร้างสังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ขับเคลื่อนเป้าหมาย Net Zero ดันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(9 พ.ย. 65) นายนพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษา พัฒนาและลงทุนผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel : SAF) ระหว่างบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดย นายจตุรงค์ วรวิทย์สุรวัฒนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แผนกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (Thai Oil) โดย นายรัฐกร กัมปนาทแสนยากร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านกลยุทธ์องค์กร  บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) โดย นางวราวรรณ ทิพพาวนิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกลยุทธ์องค์กร บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) โดย นายสมเกียรติ เลิศฤทธิ์ภูวดล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลยุทธ์ แผนและพัฒนาธุรกิจองค์กร และ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) โดย นายทรงพล เทพนำโสมนัสส์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านธุรกิจเอนเนอร์ยี่โซลูชัน ร่วมลงนาม 

การลงนามในครั้งนี้ผนวกรวมองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ของกลุ่ม ปตท. ในการประกอบธุรกิจโรงกลั่น พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และการพัฒนากระบวนการกลั่นผลิตภัณฑ์น้ำมันที่มีประสิทธิภาพสูงจาก Thai Oil, GC และ IRPC ตลอดจนความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันอากาศยานมาอย่างยาวนานทั้งในประเทศและต่างประเทศของ OR  มาต่อยอดการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน ซึ่งเป็นพลังงานแห่งอนาคตที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพ มาตรฐานระดับโลก ได้แก่ เทคโนโลยีการผลิต Hydroprocessed Esters and Fatty Acids (HEFA) และ Alcohol to Jet (ATJ) มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก 

ปตท. จัดงาน ‘Gas Grows Zerotopia 2022’ ส่งเสริมอุตฯ ไทย ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

เมื่อวันที่ 25 - 26 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นเจ้าภาพจัดงานเสวนาวิชาการและนิทรรศการ Gas Grows Zerotopia 2022 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค โดยมี ม.ล. ปีกทอง ทองใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ นางสุณี อารีกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ระบบท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมงาน เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ พร้อมให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการจัดการพลังงาน รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้เครื่องจักรให้กับผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการลดภาระต้นทุนในช่วงสถานการณ์ราคาพลังงานที่ผันผวน โดย ม.ล. ปีกทอง ได้ร่วมเสวนาในหัวข้อ ‘สถานการณ์พลังงานและแนวทางการนำไปสู่เป้าหมาย Net Zero’ 

ปตท. - Envision ร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มจัดการพลังงานอัจฉริยะ ผลักดันสังคมไทยปลอดก๊าซเรือนกระจก

กลุ่ม ปตท. ร่วมกับ Envision พัฒนาแพลตฟอร์มบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ มุ่งผลักดันเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

เมื่อวานนี้ (9 ธันวาคม 2565) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ ENVISION DIGITAL INTERNATIONAL PTE. LTD. บริษัทชั้นนำด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อลดคาร์บอน ภายใต้กลุ่มบริษัท Envision ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) Collaboration in Future Energy Transition by Decarbonization Platform ศึกษาและทดลองการใช้งานแพลตฟอร์มบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ ภายในพื้นที่ของกลุ่ม ปตท. เพื่อบริหารและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขับเคลื่อนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี2050 โดยมี ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน คุณเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ Mr. Ko Kheng Hwa ประธานกรรมการ Envision Digital ร่วมในพิธีลงนาม

ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะเพื่อตรวจสอบและควบคุมการใช้พลังงาน รวมถึงประเมินความสามารถในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ทดลองของโครงการ โดยได้ริเริ่มนำแพลตฟอร์ม EnOSTM ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ AloT ของ Envision Digital มาใช้ในการบริหารจัดการระบบพลังงานหมุนเวียนภายในอาคารต้นแบบ M4 ที่สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) จ.ระยอง ได้แก่ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ลอยน้ำ แผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา ระบบกักเก็บพลังงาน รวมถึงสถานีชาร์จไฟฟ้าภายในวิทยาเขตของสถาบันฯ โดยสามารถตรวจสอบและควบคุมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และนำมาปรับใช้งานทดแทนการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิลได้อย่างเหมาะสม จึงทำให้อาคารดังกล่าวเป็นอาคาร Zero Import ทั้งหมด ซึ่งในอนาคต หากประสบความสำเร็จก็จะขยายผลไปยังพื้นที่อื่นต่อไป

‘ปตท.’ ยุติการลงทุนในธุรกิจถ่านหิน มุ่งหน้าสู่ ‘ความเป็นกลางทางคาร์บอน’

เมื่อวานนี้ (15 ก.พ.66) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า บริษัท PTT International Holdings Limited (PTTIH) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ ปตท. ถือหุ้นทั้งหมด ได้) ซึ่ง PTTIH ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 ให้กับบริษัท ดำเนินการขายหุ้นในบริษัท PTT Mining Limited (PTTMLPT Astrindo Nusantara Infrastruktur Tbk หรือบริษัทในเครือของ Astrindo เป็นที่แล้วเสร็จ รวมมูลค่า 486 ล้านเหรียญสหรัฐ (รวมดอกเบี้ย) ส่งผลให้ PTTML สิ้นสภาพการเป็นบริษัทย่อยของบริษัท PTTIH  และเป็นการยุติการลงทุนในธุรกิจถ่านหินทั้งหมดของ ปตท.

CEO ปตท. ร่วมแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในเวทีสุดยอดผู้นำ เน้นย้ำเป้าหมายขับเคลื่อนประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) แลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในหัวข้อ ‘Supportive Measures, Innovation and Technology’ ในการอบรมหลักสูตร Climate Action Leaders Forum รุ่นที่ 2 โดยเน้นย้ำความตั้งใจของกลุ่ม ปตท. ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 ให้เร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ รวมถึงยกระดับมาตรฐานการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล พร้อมสร้างคุณค่าต่อสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

ปตท. ผนึก นูออโว พลัส ลงนามความร่วมมือโครงการ Battery Technology for All พัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ มุ่งหน้าสู่ Net Zero

ปตท. ผนึกกำลัง นูออโว พลัส ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ Battery Technology for All พัฒนาเทคโนโลยีด้านแบตเตอรี่ มุ่งสู่ Net Zero

เมื่อไม่นานมานี้ นายเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ Battery Technology for All ซึ่งเป็นการลงนามระหว่าง ดร.ยุทธนา สุวรรณโชติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ นายทิติพงษ์ จุลพรศิริดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ในฐานะ กรรมการ บริษัท นูออโว พลัส จำกัด เพื่อร่วมมือกันในการดำเนินการศึกษาและพัฒนาโครงการ รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านแบตเตอรี่

‘ปตท.’ ผนึก ‘สทน.’ หนุนโครงการวิจัย-พัฒนา ‘พลาสมา-เทคโนโลยีฟิวชัน’  ตั้งเป้ายกระดับไทย สู่ ‘ศูนย์กลางของอาเซียน’ ภายในปี 2570

เมื่อไม่นานมานี้ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และ ดร.หาญณรงค์ ฉ่ำทรัพย์ รองผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านพลาสมาและเทคโนโลยีฟิวชัน ระหว่าง ปตท. และ สทน. โดยมีผู้บริหารของทั้งสองฝ่ายร่วมเป็นสักขีพยาน 

ปตท. ผนึกภาครัฐ-ภาคีเครือข่าย เร่งปลูกป่าเพิ่ม 2 ล้านไร่ มุ่งบรรลุเป้า Net Zero Emissions ปี 2050

เมื่อวานนี้ (20 มี.ค.66) นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน ในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือโครงการปลูกป่า 2 ล้านไร่ ระหว่าง กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับ กลุ่ม ปตท. จำนวน 3 ฉบับ โดยมี นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และรักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และนายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วย นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. รวมทั้งผู้บริหาร กลุ่ม ปตท. อีก 7 บริษัท ร่วมลงนาม ณ ปตท. สำนักงานใหญ่ 

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท. พร้อมบริษัทในกลุ่ม ประกอบด้วย บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที 
โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. น้ำมันและค้าปลีก จำกัด (มหาชน) และ บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด ได้ลงนาม MOU จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ โครงการพัฒนาพื้นที่ปลูก บำรุงรักษา และระบบนิเวศป่าไม้ กับ กรมป่าไม้ โครงการพัฒนาพื้นที่ปลูก บำรุงรักษา และระบบนิเวศป่าไม้ กับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และโครงการปลูกและบำรุงรักษาป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต กับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 

ซึ่งเป็นการผนึกกำลังของภาคีภาครัฐและเอกชนทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เช่น การสนับสนุนงานวิจัยและแบ่งปันข้อมูลเชิงวิชาการ การปลูกป่าใหม่และฟื้นฟูบำรุงป่าเก่า ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ป่าชุมชน และป่าชายเลน เพื่อเพิ่มพื้นที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแหล่งกักเก็บคาร์บอน จำนวน 2 ล้านไร่ ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมไปถึงสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในปี 2065 ตามที่ประเทศได้กำหนดไว้

‘เอ็กโก กรุ๊ป’ เปิดให้บริการ ‘ระบบขนส่งน้ำมันทางท่อไปอีสาน’ ช่วยลดต้นทุน - เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง - มุ่งเป้า Net Zero

เมื่อวานนี้ (4 ต.ค. 66) บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป ประกาศเปิดให้บริการ ‘ระบบขนส่งน้ำมันทางท่อ ไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ’ อย่างเต็มรูปแบบ ภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท ไทย ไปป์ไลน์ เน็ตเวิร์ค จำกัด (TPN) ซึ่งเอ็กโก กรุ๊ป ถือหุ้นในสัดส่วน 44.6% โดยระบบขนส่งน้ำมันทางท่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสนับสนุนการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายสังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมเสริมทัพธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวเนื่อง ในกลุ่มธุรกิจเชื้อเพลิงและสาธารณูปโภคของเอ็กโก กรุ๊ป

นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอ็กโก กรุ๊ป เปิดเผยว่า การเปิดให้บริการระบบขนส่งน้ำมันทางท่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมาช่วยเสริมทัพธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวเนื่อง ในกลุ่มธุรกิจเชื้อเพลิงและสาธารณูปโภคของเอ็กโก กรุ๊ป ซึ่งจะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 80,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

โดยคาร์บอนเครดิตจะเป็นของผู้มาใช้บริการระบบขนส่งน้ำมันทางท่อและคลังน้ำมันของ TPN และยังสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวของเอ็กโก กรุ๊ป ในการบรรลุการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 (ปี ค.ศ.2050)

นอกจากนี้ โครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศและสอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐ เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งน้ำมันมายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งลดปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุบนถนน

TPN ดำเนินธุรกิจให้บริการระบบขนส่งน้ำมันทางท่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือและให้บริการคลังน้ำมัน โดยระบบขนส่งน้ำมันทางท่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีระยะทางรวม 342 กิโลเมตร และมีกำลัง การขนส่งสูงสุดต่อปีอยู่ที่ 5,443 ล้านลิตร ซึ่งจะเชื่อมต่อคลังน้ำมันของ บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (Thappline) ในจังหวัดสระบุรี ไปยังคลังน้ำมันขนาด 157 ล้านลิตร ของ TPN ที่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นคลังที่มีความทันสมัยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีรถน้ำมันของกลุ่มลูกค้าบริษัทค้าปลีกน้ำมันชั้นนำของประเทศใช้บริการและมารับน้ำมันออกแล้วตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top