ปีนี้ 'อาลีบาบา' โกยไปเท่าไหร่!?
ยังเฉียบเหมือนเดิม หลังจาก Alibaba รักษาฟอร์มยอดขายของวันเทศกาล 11.11.2020 ได้อย่างคงเส้นคงวา โดยปีนี้กวาดยอดขายตั้งแต่ช่วงนาฬิกาเริ่มหมุนไปถึง 1.71 ล้านล้านบาท มากกว่าปีก่อนที่ทำไว้ 1.16 ล้านล้านบาท
ยังเฉียบเหมือนเดิม หลังจาก Alibaba รักษาฟอร์มยอดขายของวันเทศกาล 11.11.2020 ได้อย่างคงเส้นคงวา โดยปีนี้กวาดยอดขายตั้งแต่ช่วงนาฬิกาเริ่มหมุนไปถึง 1.71 ล้านล้านบาท มากกว่าปีก่อนที่ทำไว้ 1.16 ล้านล้านบาท
สถานการณ์ท่องเที่ยวไทยเริ่มฟื้นตัวกลับมาบ้างแล้ว หลังจากรัฐบาลออกมาตรการผ่อนคลายให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทยได้มากขึ้น
แล้วตอนนี้จำนวนคนที่เข้ามามีมากน้อยแค่ไหน?
หลังจากคุณ กรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า ได้แชร์ข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์รวมธุรกิจการค้าออนไลน์ในไทย ภายใต้นโยบาย ‘คนละครึ่ง’ และรวมถึงยอดขาย ‘11.11’ ที่ผ่านมา
ผลปรากฏที่เด่นชัดมาก ๆ คือ คนไทยค่อนข้างพร้อมกับการใช้จ่ายแบบสังคมไร้เงินสดพอสมควร
สังเกตุจากโครงการคนละครึ่งที่พอมีการเปิดให้ลงทะเบียนรอบ 2 ก็ลงกันสิทธิ์อย่างรวดเร็ว มียอดการใช้จ่ายผ่านแอพลิเคชั่น ‘เป๋าตัง’ ไปแล้วถึง 13,764 ล้านบาท กระจายสู่ร้านหาบเร่แผงลอยได้กว่า 650,000 ร้าน
ที่น่าสนใจในุมมของคุณกรณ์ คือ ตอนนี้รัฐได้ทำให้คนกว่า 12 ล้านคนยอมรับและคุ้นเคยกับการใช้ Cashless (ไร้เงินสด) มากขึ้น และเช่นเดียวกันผู้ค้ากว่า 6.5 แสนรายก็เข้ามาอยู่ในระบบดิจิทัลไปเรียบร้อย (และลุงตู่ก็คงยิ้มแป้น)
แต่ก็มีคำถามตามมาว่า ทำไมประเทศไทย ไม่พัฒนาระบบ e-Commerce Platform ของตัวเองแบบเป็นจริงเป็นจังสักที
ทั้ง ๆ ที่ยอดการใช้จ่ายในโลกออนไลน์เพิ่มขึ้นทุกปี ตัวภาครัฐก็มีข้อมูล ‘Big Data’ มากมายมาตุนไว้ อุปสรรคคืออะไร? ทำไมเรายังไม่ไปถึงจุดนั้น?
ลองจินตนาการต่อไปว่าในอนาคต หากรัฐเปิดโอกาสให้คนไทยเสนอขายสินค้าโดยตรงกับผู้บริโภคตามฐานข้อมูลที่รัฐมี
รวมถึงรัฐคอยช่วยสนับสนุนด้วยโปรโมชั่นต่าง ๆ และบริการส่งของผ่านไปรษณีย์ไทย...นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของ e-Commerce Platform ของไทยที่เรารอคอยก็ได้
คำตอบหนึ่งที่ได้จากบทสรุปนี้คืออะไร
ปัญหาใหญ่ที่เด็กอมมือก็ยังรู้ คือ รัฐไทยยังทำงานกันแบบ ‘Silo’ หรือต่างคนต่างทำ อย่างกรณีโครงการ ‘คนละครึ่ง’ ตัวข้อมูลอยู่ที่กระทรวงการคลัง แต่ผู้ที่มีพันธกิจสร้าง e-Commerce Platform คือ กระทรวงดิจิทัล และกระทรวงพาณิชย์
ผลคือการทำงานแบบตัวใครตัวมัน และทำให้เกิดปัญหา ‘คอขวด’ เวลาต้องคิดโปรเจ็กต์ใหม่ ๆ ที่ล่าช้า
ว่าแต่ ‘Silo’ ที่คุณกรณ์พูดถึงนี้คืออะไร?
Silo มาจาก Siloed Organization หรือ Siloed Company มีความหมายตรงตัว คือ แผนกต่าง ๆ ในองค์กรเดียวกัน ไม่ยอมแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือองค์ความรู้ระหว่างกัน
โดยสัญญาณที่บ่งชี้ว่า Silo กำลังเข้ามาครอบงำการทำงานไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือรัฐบาลในตอนนี้ คือ...
1.) ภาครัฐไม่สามารถใช้เทคโนโลยีหรือช่องทางการสื่อสารเพื่อแบ่งแยกกำลังซื้อจริงของประชาชน กับกำลังซื้อแฝง ยกตัวอย่างเช่น ทีมการตลาดหรือทีมบริหารไม่คิดจะดูแลคนที่ซื้อของไปแล้ว ราวกับคนที่ยังไม่ได้ซื้อของ เพราะฝ่ายเซลล์กับฝ่ายการตลาดไม่คุยกัน สุดท้ายก็ทำลายประสบการณ์ของลูกค้า
2.) ความแปลกหน้าในองค์กร สัญญาณเตือนภัย คือ หากไม่รู้จักคนหรืองานจากนอกทีม ซึ่งไม่ได้หมายถึงให้ต้องรู้จักแบบละเอียด จะไม่มีวันเข้าใจปัญหาของแต่ละฝ่ายได้เลย ยกตัวอย่าง ถ้าเป็นบริษัทเล็ก ๆ ก็ควรรู้จักชื่อของทุกคน แต่ถ้าเป็นองค์กรใหญ่อย่างน้อยก็ควรจะรู้ชื่อและช่องทางติดต่อระดับบริหารแต่ละแผนก เพื่อให้เกิดการทำงานแบบประสานมือได้ง่ายขึ้น
3.) ภาวะ ‘เรา’ กับ ‘เขา’ ระหว่างแผนก จะทำให้เกิดภาวะการแข่งขันเชิงเห็นแก่ตัว เพราะไม่มีการแชร์ข้อมูลและขาดความร่วมมือร่วมใจ เหตุกลัวว่าอีกทีมจะได้หน้า แต่สุดท้ายจะแพ้ฝ่าย
4.) พนักงานที่ถูกเพิกเฉย หรือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีม และถูกปฏิบัติไม่เหมือนคนอื่น อาจจะไม่มีความสุข รู้สึกไม่มีประโยชน์ และเสี่ยงต่อการแชร์หรือปั่นหัวสิ่งที่ไม่ดีกับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ
5.) การทำงานซ้ำซ้อน เพราะไม่มีการสื่อสารกัน ไม่มีทางที่จะรู้ว่าสิ่งที่เราทำไป ได้ทำซ้ำกับคนอื่นหรือแผนกอื่นหรือไม่ ธุรกิจที่ขาดความร่วมมือจะมีคนและทีมงานที่ทำงานในโครงการที่คล้ายกัน ซึ่งนำไปสู่ความไร้ประสิทธิผลและสูญเสียประสิทธิภาพการทำงานไปอย่างน่าเสียดาย
ฉะนั้นไม่ว่าจะรัฐหรือองค์กรไหนควรสร้าง Sharing is caring และ Knowledge is power ด้วยการร่างระบบการทำงานที่ทุกคน ‘ควรรู้ในสิ่งที่ควรรู้’ และต้อง ‘ไม่ต่างคนต่างรู้’ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งของการ Move on
การทำงานของรัฐในมุมของคุณกรณ์ จึงเหมือน Silo ที่หากปล่อยไปเรื่อย ๆ ไอ้สิ่งดี ๆ ที่จะคิดสร้างสรรค์หรือทำต่อในอนาคต (ซึ่งเชื่อว่ามีอยู่มาก) จะยิ่งไกลฝั่งออกไปๆ เลยล่ะลุงตู่!!…
.
อ้างอิง: เฟซบุ๊ค กรณ์ จาติกวณิช - Korn Chatikavanij / ETDA Thailand
ประเทศไทยปิดดีล RCEP เรียบร้อย หลังการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ที่ยาวนานกว่า 8 ปี จบลงโดยมี 15 ชาติพันธมิตรเข้าร่วม หากนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2555 ก็เรียกว่าผ่านมาเนิ่นนานร่วม 8 ปี ของการเจรจา RCEP!!
RCEP คืออะไร?
RCEP มีชื่อย่อมาจาก Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เป้าหมายของการก่อตั้ง RECP ก็เหมือน ๆ กับการตั้ง EU ในยุโรปนั่นแหละ เพราะเป็นการรวมกลุ่มเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ การค้า และให้แก่ทุกประเทศที่เข้าร่วม
โดยอยู่ภายใต้ระบบการค้าเสรีที่ใช้กฎระเบียบเดียวกันของผู้มีส่วนใน RCEP (ภาคี) ที่มีทั้งหมด 15 ประเทศ แบ่งเป็รนชาติอาเซียน (รวมไทย) 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ การรวมตัว RCEP จะทำให้เกิดภาพอะไรขึ้น?
- ประชากรในประเทศสมาชิก RCEP จะครอบคลุมคนถึง 2.2 พันล้านคน หรือเกือบ 30% ของประชากรโลก
- คาดจะเกิดมูลค่าการค้ารวมกว่า 10.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 326 ล้านล้านบาท) หรือคิดเป็นเกือบ 28% ของมูลค่าการค้าโลก
- และสร้างตัวเลข GDP รวมกันกว่า 26.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 817.7 ล้านล้านบาท) หรือ 30% ของ GDP โลก
.
จะเรียกว่าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาครอบนี้ กลายเป็นเรื่องใหญ่ของโลกเลยก็ได้ เพราะ RCEP จะเหมือนกับ 1 ประเทศใหญ่ที่คิดเป็นมูลค่าเศรษฐกิจได้ถึง 1 ใน 3 ของโลกกันเลยทีเดียว เมื่อทั่วโลกเห็นภาพแบบนี้ จะมีใครไม่อยากมาลงทุน พอมาลงทุน เม็ดเงินก็ไหลเวียนในระบบประเทศสมาชิก เกิดตลาดงานใหม่ โครงการใหม่ ๆ เกิดการสะพัดทางเม็ดเงินเศรษฐกิจแบบต่อเนื่อง สรุปประเทศรวย ประชาชนก็สบาย
ฉะนั้นทุกประเทศที่อยู่ในการเจรจา RCEP ต่างพยายามให้ข้อตกลงนี้ลุล่วง
แล้วก็เป็นข่าวดีมาก ๆ โดยเฉพาะกับไทย เพราะร่วมปิดดีลนี้ได้แล้ว!! โดยรัฐบาลไทยที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้เข้าร่วมประชุม RCEP รอบนี้ และมี จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เป็นผู้ลงนาม RCEP กันทางออนไลน์ไปเป็นทีเรียบร้อย
จากนั้นคาดว่า เมื่อแต่ละประเทศให้สัตยาบัน ก็น่าจะเริ่มเปิดเสรี RCEP ทางการค้าและเงื่อนไขทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้ในช่วงครึ่งหลังปี พ.ศ.2564
ผลบวกที่ 15 ชาติ RCEP รอคอย?
- RCEP นั้นจะทำให้ประเทศสมาชิกสามารถซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างเสรี ‘ไร้กำแพงภาษี’ ใน 15 ประเทศ RCEP
- RCEP ในส่วนของอาเซียน อาจจะได้อานิสงค์จากประเทศจีน ที่ถือเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่ฟื้นตัวจากวิกฤต COVID-19 ได้สำเร็จ
- การลงนามในข้อตกลง RCEP จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจอาเซียนฟื้นตัวได้เร็วขึ้น โดยเชื่อมเศรษฐกิจอาเซียนเข้าสู่เศรษฐกิจโลกได้ง่ายยิ่งขึ้น
.
ทั้งนี้ RCEP ได้ถูกยกให้เป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเทศสมาชิกประกอบไปด้วยอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, อินเดีย, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ แต่อินเดียได้ถอนตัวออกไปก่อนหน้านี้ จึงเหลือแค่ 15 ประเทศ เพราะอินเดียกลัวปัญหาสินค้าราคาถูกจากจีนทะลักเข้าประเทศ
แม้จะขาดตลาดใหญ่อย่างอินเดีย แต่ก็เชื่อว่าประเทศสมาชิกใน RCEP ที่ว่ามาก็ยังสร้างระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ได้อยู่ดี
ความลุล่วงของ RCEP ในช่วงเวลานี้ จึงนับเป็นข่าวดีอย่างมากของเศรษฐกิจไทย!!
เพราะในจังหวะที่ทั่วโลกยังเจอปัญหาโควิด-19 แต่ไทยเราสามารถรับมือได้ จะเป็นแต้มต่อที่ผสมกับแรงหนุนใหม่ที่มี 15 ชาติ RCEP ผลักให้ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยได้ไวกว่าเดิม...
กลายเป็นอีกคนที่น่าจับตามามองในช่วงนี้!! สำหรับ 'อริยะ พนมยงค์' อดีต Head ของ Google ประเทศไทย, อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท LINE ประเทศไทย
.
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง CEO และผู้ก่อตั้งบริษัท Transformational พ่วงบทบาทใหม่ในการเข้ามาเป็นผู้นำทัพ Digital Transformation ให้กับสยามพิวรรธน์ โดยจะเข้ามาปรับคอนเซ็ปต์ Digital Experience ให้แตกต่างและไม่เหมือนใคร ผ่านช่องทาง ‘ออมนิชาแนล’
เช็คก่อน...ชัวร์กว่า!! อย่าเพิ่งรีบหิ้ว iPhone 12 ออกนอกร้าน หากยังเช็คไม่ครบสูตร
ถ้าจะทำธุรกิจแบบเดินเดี่ยว (Stand Alone) สายป่านไม่ดีจริง หรือฐานลูกค้าไม่ภักดีจริง อาจจะเหนื่อยนักในยุคนี้ แม้แต่จะเป็นธุรกิจใหญ่ก็ตาม
ดังนั้น ในช่วงที่ผ่านมา การจับมือกันทางธุรกิจ จึงเกิดขึ้นบ่อยๆ โดยเฉพาะจับกับแบบ "ข้ามธุรกิจ" แล้วเอาความเชี่ยวชาญของแต่ละธุรกิจเข้ามาเสริมความแข็งแกร่ง เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่
ล่าสุด 3 บริษัทใหญ่อย่าง บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL ร่วมมือกับบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS และ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ออกโครงการใหม่ร่วมกันโดยใช้ชื่อว่า "MTL Health Buddy"
สาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MTL เผยว่า "โครงการนี้เป็นการนำร่องเพื่อยกระดับระบบนิเวศน์ของวงการสุขภาพ (Health Ecosystem) ที่ลูกค้าของเมืองไทยฯ จะได้รับความสิทธิประโยชน์จากการที่เราได้ร่วมมือกับทั้ง BDMS และไฟเซอร์ โดยทาง BDMS จะทำหน้าที่ผู้ช่วยด้านสุขภาพ พร้อมให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพ ค้นหาศูนย์แพทย์เฉพาะทาง ค้นหาแพทย์ที่เหมาะกับโรค ทำการนัดหมาย ปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และสิทธิพิเศษอื่น ๆ ให้กับ "ลูกค้าของเมืองไทยประกันชีวิต" กว่า 4 ล้านคน"
"ขณะเดียวกัน ทาง ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จะเข้ามาเป็นอีกทางเลือกแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม ในการเข้าถึงการรักษาแบบมุ่งเป้า (Targeted Therapy) และหากได้รับผลตอบรับที่ดี หลังจากนี้จะมีการหารือถึงความเป็นไปได้ในการเตรียมขยายสิทธิประโยชน์การรักษากลุ่มโรคอื่นๆ อีกต่อไปในอนาคต เช่น โรคมะเร็งปอด มะเร็ง ลำไส้ เป็นต้น"
ด้าน พญ.ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร กลุ่ม 1 BDMS ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในส่วนของบริษัทฯ จะให้บริการการปรึกษาแพทย์แบบ Teleconsultation ทั้งการปรึกษาปัญหาสุขภาพจากอาการป่วย หรือการวางแผนสุขภาพเชิงป้องกัน รวมไปถึงการหา Second opinion
โดยมีทีมแพทย์จากศูนย์แห่งความเป็นเลิศ Center of Excellence ในสาขาต่างๆ ร่วมให้คำปรึกษา อาทิ โรคสมอง หัวใจ มะเร็ง กระดูก หรืออุบัติเหตุ การเจ็บป่วยที่รุนแรง ฯลฯ หากเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม จะมีการดูแลโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคมะเร็ง พร้อมแนะนำการเลือกใช้ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) ซึ่งได้ร่วมมือกับทางไฟเซอร์ในการให้ยามุ่งเป้าเพื่อการรักษาในระยะยาวอีกด้วย
.
ปัจจุบัน การรักษาด้วยโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้า หรือ Targeted Therapy ในคนไข้ทั่วไป ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เฉลี่ยประมาณ 100,000 บาทต่อการรับยา 1 ครั้ง และบางคนต้องรับยาเดือนละหลายครั้ง ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ และหากการรักษายาวนานเป็นปี คนไข้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงหลายล้านบาท
.
แต่หากลูกค้าเมืองไทยประกันชีวิต ที่มีประกันสุขภาพอีลิทเฮลท์ (Elite Health) ที่มีวงเงินความคุ้มครอง 20 - 100 ล้านบาท จะได้รับสิทธิ์ในการรักษาแบบ Targeted Therapy ทันที ส่วนลูกค้าประกันมะเร็ง (CI) อื่น ๆ แม้ไม่ได้รับสิทธิ์นี้ แต่จะได้รับสิทธิ์เป็นส่วนลดค่ายานวัตกรรมจากไฟเซอร์แทน เช่น เดือนนี้จ่าย แต่เดือนหน้าฟรีค่ายา เป็นต้น
.
Did you know
- มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิง
- มะเร็งเต้านม เป็นอันดับ 2 ของยอดผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด
- ปีค.ศ.2018 พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมใหม่กว่า 2 ล้านคนทั่วโลก
- ยอดผู้เสียชีวิต 6.3 แสนคนทั่วโลก
- ในไทย มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 1.9 หมื่นคนต่อปี
- คนไทย เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านม 5,900 คนต่อปี
แม้ธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise (SE) จะเป็นแนวคิดของการทำธุรกิจที่ดีต่อการแก้ไขปัญหาพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นหนึ่งในแนวทางการขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ของสหประชาชาติ
แต่ปัญหาสำคัญที่จะเรียกว่าปัญหาใหญ่เลยก็ว่าได้ของธุรกิจเพื่อสังคม คือ ความยากในการเข้าถึง "แหล่งเงินทุน" ที่จะนำมาใช้ต่อยอดและหมุนเวียนระบบธุรกิจ
เพราะด้วยเป้าหมายของการสร้างธุรกิจ SE โดยธรรมชาติ จะไม่ได้มองในเรื่องผลกำไรมาเป็นอันดับแรก ทางสถาบันการเงินส่วนใหญ่ จึงปล่อยกู้ให้ยาก แล้วเมื่อเป็นเช่นนั้น โอกาสที่จะได้เห็นธุรกิจแนวนี้เติบโตในระยะยาว จึงเป็นเรื่องยากด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ก็มี ธนาคารออมสิน ที่กำลังออกมาอุดช่องโหว่ตรงนี้ ตามนโยบายที่ต้องการเพิ่มบทบาทการเป็นธนาคารเพื่อสังคมอย่างแท้จริงตามยุทธศาสตร์ขององค์กร
ล่าสุดธนาคารออมสิน ได้ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อสำหรับโครงการโดยเฉพาะได้แก่ "สินเชื่อธุรกิจ ออมสินขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่อง หรือเพื่อต่อเติมซ่อมแซมสถานที่ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบกิจการ" ออกมา
.
โดยสินเชื่อดังกล่าวตอบโจทย์ธุรกิจ SE ดังนี้
.
เงื่อนไข
.
วิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า "ปัจจุบันทางออมสินได้มีการอนุมัติสินเชื่อดังกล่าวให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมไปแล้วรวมกว่า 17 ล้านบาท และนอกเหนือจากนั้น ทางธนาคารยังได้ร่วมกับสมาคมธุรกิจเพื่อสังคมแห่งประเทศไทย (Social Enterprise Thailand Association: SE Thailand) เพื่อช่วยสนับสนุนบริษัทสมาชิก ทั้งด้านการให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ และช่วยสร้างองค์ความรู้เพื่อยกระดับกิจการให้สามารถช่วยเหลือชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย"
ได้เสียววาบ ๆ กันอีกรอบ อาจจะถึงขั้นล็อกดาวน์กันเลยก็เป็นได้ หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด - 19 ระลอกใหม่ในไทย ระลอกนี้เริ่มมาจากแดนเหนือ และเริ่มแพร่กระจายแบบไม่รู้จะคุมอยู่แค่ไหน แต่ที่แน่ ๆ เริ่มเล็ดหลุดมากรุงเทพฯ เรียบร้อย
เรื่องโรคยังไงก็ต้องปล่อยหน้าที่ให้ทางการจัดการไป แต่ถ้าหันกลับมามองในแง่ของธุรกิจที่เหมือนกำลังจะกลับมาจะทำยังไงต่อไป ถ้าโควิด - 19 คัมแบ็คอีกรอบ
ลองมาตั้งสมมติฐานกันดูว่า หากโควิด - 19 กลับมาระบาดรอบสองแล้ว ผู้ประกอบการธุรกิจไทย จะรับมือกันอย่างไรต่อ? และจะยังมีแรงยกการ์ดตั้งรับไหวไหม? ที่สำคัญงวดนี้รัฐบาลควรจะหามาตรการใดมารับมือ?
"หากดูจากบทเรียนล็อกดาวน์รอบแรก"
กุญแจสำคัญของล็อกดาวน์รอบแรก ธุรกิจจะกลับมาดูธุรกิจตัวเองมากขึ้น เรียนรู้ตัวเองมากขึ้น เพราะผู้ประกอบการจะมีเวลามากขึ้น จากการที่โควิด - 19 ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงัก โดย 3 เรื่องที่สามารถกลับมานั่งนิ่ง ๆ แล้วทบทวนตัวเอง คือ รายได้ / ต้นทุน และกำไร
- อย่างรายได้ ถ้าอยากให้กลับมีเหมือนเดิม ก็ต้องเข้ามาดูลูกค้าว่ากลุ่มไหนที่มีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจของเรา ต้องจับไว้ให้มั่น ไม่ใช่จับมันทุกกลุ่มเหมือนก่อนไหม
- อย่างต้นทุน ถ้าอยากให้ลดลง ก็ต้องทำให้ต้นทุนต่าง ๆ ไม่จำเป็น ลดลง บางสายงานจำเป็น ไม่จำเป็น ต้องโยกย้ายคนไหม ค่าใช้จ่ายไหน ไม่จำเป็นบ้าง ค่าน้ำ ค่าไฟ และอื่น ๆ อาจจะต้องตัด
- อย่างกำไร ถ้าอยากให้มากขึ้น ก็ต้องมีเวลากลับเข้ามาดูว่าธุรกิจส่วนไหนที่เราจะสามารถทำอะไรให้ได้มากขึ้น หรือขยายไปเป็นธุรกิจใหม่ที่ตอบสนองต่อยุคโควิด - 19 เช่น ร้านอาหาร ก็เปลี่ยนตัวเองจากขายหน้าร้าน มาส่งเดลิเวอรี่อย่างเดียว
ทีนี้ถ้าโควิด -19 รอบ 2 มา แล้วเกิดมันหนักจนรัฐต้องปิดประเทศอีกรอบ บอกเลยว่า...งวดนี้หนักแน่นอน!! เพราะจากข้อมูลในช่วงล็อกดาวน์ที่มีการประเมินจากศูนย์วิจัยต่าง ๆ พบว่า
- ระบบเศรษฐกิจต้องสูญเสียรายได้ในประเทศประมาณ 1.5 หมื่นล้านต่อวัน
- เมื่อเอา 30 วันคูณเข้าไป ก็ตก 4.5 แสนล้านต่อเดือน
- และถ้าเอา 10 เดือนคูณเข้าไป ก็จะสูญเสียไป 4.5 ล้านล้านต่อปี
ฉะนั้นหากเกิดเหตุขึ้นอีก ตัวเลขนี้ก็จะเกิดตาม และจะไม่มีอะไรไปทดแทนได้อีกเลย ถ้าต้องล็อกดาวน์นานมากขนาดนั้น
"รัฐต้องวางหมากให้แม่น" การ์ดที่ภาครัฐต้องตั้ง คือ ดูแลทรัพยากร รวมถึงรายได้ธุรกิจภายในประเทศ หากต้องมีการล็อกดาวน์ ก็ควรล็อกแค่เฉพาะส่วน และปล่อยในบางส่วน เช่น พื้นที่เศรษฐกิจสำคัญในกรุงเทพ อย่าง ราชประสงค์ สยาม เยาวราช สีลม สุขุมวิท หากจะต้องเลือกล็อก ก็ต้องล็อกเฉพาะบางจุดของพื้นที่ เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายในพื้นที่นั้น ๆ ไม่ควรปิดทั้งหมด
ขณะเดียวกันต้องเลือกผ่อนปรนบางธุรกิจที่สามารถกระตุ้นภาคการจับจ่ายไว้ด้วย โดยเฉพาะร้านอาหาร เพราะหากปิดทั้งหมด การจะกลับมาแบบเฟสแรกนี่คงยากมาก ๆ ไหนจะในแง่มูลค่าเศรษฐกิจ ไหนจะในเรื่องพนักงาน และคนทำงานด้วย โดยเฉพาะเรื่องตัวเลขคนตกงานที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด - 19
มีการคาดการณ์ตัวเลขพุ่งขึ้นไปถึงกว่า 8 ล้านกว่าคน ตัวเลขนี้ไม่ว่าจะชดเชยยังไง ก็ถมกันไม่หมด เพราะไม่ใช่แค่การสูญเสียเชิงมูลค่าเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ยังมีการสูญเสียมูลค่าทางใจที่ยากกู้คืนกลับ พูดง่าย ๆ คือ ในประเทศไม่ควรล็อกดาวน์ทั้งหมด แต่ถ้าปิดประเทศ ไม่ให้ต่างประเทศเข้ามา อันนี้ ควรทำ!!
...ทีนี้หันกลับมามองภาคผู้ประกอบธุรกิจจะรับมือไหวไหม ถ้าโควิดระบาดจริง ๆ ?
ในที่นี้มี 3 สิ่งที่อยากให้ผู้ประกอบการลองคิด การตั้งการ์ดของผู้ประกอบการอาจจะเริ่มที่การกลับมาดูแลตัวเองเท่านั้น และในส่วนของ "รายได้" และ "กำไร" คงไม่เกิดขึ้นง่าย ๆ สิ่งที่ทำได้อย่างเดียว คือ จัดการ "ต้นทุน" ให้เข้ม ต้องกลับมาทำให้องค์กร "ผอม" เพื่อให้ต้นทุนต่ำลง...นี่คือสิ่งแรกที่ต้องทำ!!
ต่อมา...ถ้าผ่านวิกฤตินี้ไปได้ จนไปถึงกลางปีหน้า อาจจะเห็นหลาย ๆ ผู้ประกอบการที่เคยทำธุรกิจหนึ่ง เปลี่ยนไปทำอีกธุรกิจหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยก็ได้ แบบที่บางธุรกิจหันมาทำหน้ากากอนามัยขาย หรือบางธุรกิจ เช่น โรงแรม มาทำอาหารขายไปเลย...นี่คือสิ่งต่อมาที่ควรทำ !!
ต่อมา...ถ้ารอไม่ไหว ต้องหาแรงสนับสนุน ผู้ประกอบการธุรกิจหนึ่ง อาจจะต้องร่วมมือกับผู้ประกอบการอื่น ๆ ลองหันมาดูว่าธุรกิจเรา มีสิ่งไหนเป็นคีย์ซัคเซสที่ทำได้ดี
แล้วสิ่งไหนที่เราทำได้ยากหรือไม่ถนัด แต่ผู้ประกอบการอื่น ๆ มีศักยภาพมากกว่า
แล้วผู้ประกอบการก็ควรต้องหาทางไปร่วมมือกับเขาทันที!!
เช่น เดิมเคยทำอาหารได้อร่อยมาก แต่ไม่มีสายส่งอาหาร หรือไม่มีฐานลูกค้าในพื้นที่อื่น ๆ ไม่มีวิธีการกระจายไปหาผู้บริโภคได้มากพอ ก็อาจจะต้องไปคุยกับร้านค้าอื่น ที่มีสาขาหลาย ๆ จุด เพื่อกระจายสินค้าให้มากขึ้น แล้วแบ่งกำไรกัน ต้องจำไว้ว่าเวลาเจอวิกฤติ การร่วมมือ สำคัญมากกว่า การแข่งขัน ท่องไว้...อย่าเห็นแก่ตัวในยามยาก!!…นี่คือสิ่งสุดท้ายที่ห้ามมองข้าม!!
ช่วงวิกฤติหลายคนมักจะพูดถึงคำว่าโอกาสใหม่ ๆ นั่นก็ใช่!! แต่ไม่ทั้งหมด
เพราะจริงๆ แล้ว โอกาสมันมาจากการเจอนวัตกรรมใหม่ ที่ตอบโจทย์ธุรกิจช่วงนั้น
ต้องหาให้เจอ ต้องดิ้นให้สุด...
ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท. ร่วมกับบริษัท ไดรฟ์ดิจิทัล จำกัด และแอปพลิเคชัน Tinder ทำเส้นทางคนโสด ซิงเกิล เจอร์นี่ย์ #อย่าล้อเล่นกับความเหงา ส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศสไตล์คนโสด คนเดียวก็เที่ยวได้ ด้วยความหลากหลายสไตล์การท่องเที่ยว โสดซีซั่นทั่วประเทศ 9 เส้นทาง คือ
.
1.) แม่ฮ่องสอน
2.) เชียงใหม่
3.) เชียงราย
4.) ลพบุรี-สระบุรี
5.) อุดรธานี-เลย ชุมพร-สุราษฎร์ธานี
6.) ภูเก็ต
7.) พัทยา
8.) พระนครศรีอยุธยา
9.) และกรุงเทพฯ
.
โดยนำร่อง 3 เส้นทาง คือ โสดสายมู ล่องเรือ ไหว้พระ หารัก, โสดสายแซ่บ ซีเคร็ด ไอแลนด์ เกาะลับไม่ห่างรัก และโสดสายชิลล์ รถไฟขบวนสุดท้าย ซึ่งเริ่มเปิดจองตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2563 นี้
.
สำหรับเส้นทางนำร่องแรก คือ โสดสายมู ล่องเรือ ไหว้พระ หารัก โดยททท. ร่วมกับบริษัท แกรนด์เพิร์ล จำกัด จัดทริปล่องเรือ ขอพร ไหว้พระ 9 วัด กับหมอช้าง “ทศพร ศรีตุลา” เล่าถึงเคล็ดลับการไหว้พระขอพร และดินเนอร์กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ในวันที่ 20 ธ.ค.นี้ จำนวนจำกัด 100 คน ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยสามารถลุ้นเข้าร่วมทริปผ่านกิจกรรมของพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ ได้แก่ แฟนเพจ Sneakout แอปพลิเคชัน Tinder
ส่วนเส้นทางที่ 2 โสดสายแซ่บ เกาะลับไม่ห่างรัก ร่วมกับ เลิฟ อันดามัน จัดปาร์ตี้ริมทะเล ชมคอนเสิร์ต ณ เกาะไข่ จังหวัดภูเก็ต ราคาพิเศษ 222 บาท สำหรับ 50 คนแรก ในวันที่ 9 ม.ค.64 และเส้นทางโสดสายชิลล์ รถไฟขบวนสุดท้าย ร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ปิดโบกี้รถไฟลอยน้ำ เที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี (วันเดียวกลับ) ชมวิว ถ่ายรูป และรับประทานอาหารกลางเขื่อน ราคาพิเศษ 555 บาท สำหรับ 50 คนแรก ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2564