Saturday, 20 April 2024
7Eleven

เจ้าถิ่นเจ๋ง!!! ร้านสะดวกซื้อเจ้าถิ่นใน ‘อินโดนีเซีย’ แข็งแกร่ง!! แม้แต่ ‘7-11’ ยังต้องยอมแพ้ - ล้มเลิกกิจการ

สวัสดีนักอ่านทุกท่านครับ วันนี้ผมมีเรื่องราวน่าสนใจจากประเทศเพื่อนบ้านมาเล่าสู่กันฟังครับ หากพูดถึงร้านสะดวกซื้อในไทยที่เราเห็นได้บ่อย เข้าใช้บริการบ่อย ก็ต้องนึกถึง 7-Eleven ถูกต้องไหมครับ และเป็นที่รู้กันโดยทั่วว่า 7-Eleven ประสบความสำเร็จในประเทศไทยอย่างยิ่ง

แต่ถึงแม้ว่า 7-Eleven จะประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายในหลาย ๆ ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็น ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา และเมียนมาร์ แต่ใน ‘อินโดนีเซีย’ แล้วนั่น กลับเป็นเรื่องที่ยากแสนยาก และไม่มีทีท่าว่าจะสามารถเจาะตลาดร้านสะดวกซื้อของประเทศนี้ได้

เหตุผลหลัก ๆ ที่เป็นเช่นนั้น คือ ‘อินโดนีเซีย’ มีเครือข่ายร้านค้าสะดวกซื้ออยู่แล้ว เช่น ‘Indomaret’ และ ‘Alfamart’ ที่สามารถพบเจอได้เกือบทุก ๆ ๑ กม. หรือน้อยกว่านั้น และร้านค้า ๒ เจ้านี้จะกระจายตัวอยู่ตามเมืองใหญ่หรือเมืองเล็ก ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ 7-Eleven ทำแล้วได้ผลดีในประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ร้านสะดวกซื้ออย่าง Lawson's และ Family Mart ก็ใช้วิธีการนี้ด้วยเช่นกัน

นอกจาก 7-Eleven จะนิยมเปิดร้านสะดวกซื้อภายในอาคาร สำนักงาน หรือในพื้นที่ที่มีคนพลุกพล่าน โดยกำหนดเป้าหมายไปยังพื้นที่ที่ Indomaret และ Alfamart ตั้งอยู่ หวังให้มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการแล้ว 7-Eleven ยังอัปเกรดร้านให้เป็นร้าน ‘ระดับพรีเมียม’ โดยมีบริการสถานที่นั่งรับประทานอาการ ดื่มเครื่องดื่ม และมี Wi-Fi ให้ใช้ฟรีอีกด้วย

ดูเหมือนว่ากลยุทธ์นี้จะดึงดูดความสนใจจากลูกค้าได้ แต่ก็เพียงแค่ในระยะแรกที่เป็นกระแสเท่านั้น เพราะเมื่อเวลาผ่านไปผู้คนมักจะเข้ามาซื้อเพียงเครื่องดื่มที่มีราคาถูก เพียงหวังจะได้นั่งในร้านเพื่อใช้ Wi-Fi ฟรีเป็นเวลาหลายชั่วโมง ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้ 7-Eleven มีรายได้น้อย ในขณะที่ค่าใช้จ่ายสูง (ค่าไฟฟ้า อินเทอร์เน็ต และค่าเช่าพื้นที่ในพื้นที่ระดับพรีเมียม) 

7-Eleven เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น นักเรียนนักศึกษา อายุระหว่าง 18 - 25 ปี โดยลูกค้ากลุ่มนี้จะใช้ 7-Eleven เป็นสถานที่แฮงก์เอาต์ และสถานที่ท่องเที่ยวทั้งในกลางวันและกลางคืน (24 ชม.) โดยมีการนำเสนอรายการอาหารและเครื่องดื่มของ 7-Eleven แบบดั้งเดิมเช่น Slurpee และของว่างพร้อมกับอาหารท้องถิ่นและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นั่นจึงไม่แปลกใจว่าทำไมถึงฮิตในกล่มวัยรุ่น

ในปี ค.ศ. 2020 7-Eleven มีสาขามากถึง 70,750 แห่งทั่วโลก แต่ร้าน 7-Eleven แต่กลับไม่มีสักสาขาเดียวในอินโดนีเซีย เนื่องจากในปี ค.ศ. 2017 7-Eleven ได้ประกาศปิดสาขาทั้งหมด หลังเข้ามารุกธุรกิจในประเทศนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 

การดำเนินงานของ 7-Eleven ในอินโดนีเซียจะดำเนินงานผ่านผู้ให้บริการท้องถิ่นคือ PT Modern Internasional ซึ่งจัดการบริการที่ตรงกันข้ามกับร้านสะดวกซื้อในอเมริกาที่เน้นการซื้อกลับบ้านและของกินเล่นยามดึก หลังเริ่มธุรกิจได้ไม่นาน บริษัท PT Modern Internasional ก็เริ่มขยายตัวภายในกรุงจาการ์ตา โดย 7-Eleven เปิดสาขาแห่งที่ 21 ภายในปี ค.ศ. 2010 และมีสาขาครบ 100 แห่งในปี ค.ศ. 2012 

ในปี ค.ศ. 2013 บริษัทมียอดขายสูงสุดประมาณ 78 แห่งจากร้านค้าทั้งหมด 190 แห่ง ดูเหมือนว่าอนาคตของ 7-Eleven ในอินโดนีเซียจะสดใส แต่ในความเป็นจริงกลับไม่ใช่ เนื่องจากประสบปัญหาที่แก้ไม่ตกเพราะลูกค้าไม่ยอมใช้เงินในร้าน แม้ว่าจะมีลูกค้าจำนวนมากใน 7-Eleven แต่ก็จ่ายเงินซื้อเครื่องดื่มเพียงแก้วเดียว แล้วนั่งนาน ๆ หลายชั่วโมง 

บริษัท PT Modern Internasional ได้ออกมาบอกด้วยว่า “ยอดขายที่ขาดหายไปเป็นเพราะการแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งรายเดิมและรายใหม่ เช่น Family Mart และ Alfamart”

All Now เปลี่ยนใช้รถบรรทุกไฟฟ้า กระจายสินค้าเข้า 7-Eleven  เล็งเพิ่มจำนวนรถให้บริการเป็น 100 คัน ภายในสิ้นปี 2567

(26 ก.ค. 66) นายธเนศ พิริย์โยธินกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ออลล์ นาว (ALL NOW) เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัท ออลล์นาว เป็นกลุ่มบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินธุรกิจบริหารจัดการโลจิสติกส์ครบวงจรโดยมีโมเดลธุรกิจเป็นผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์และศูนย์กระจายสินค้าแบบครบวงจรให้แก่ธุรกิจทั้งในและนอกเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีผนึกกำลังกับซีพี ออลล์ ในการเป็นพันธมิตรด้านโลจิสติกส์และการกระจายสินค้าทั้งแบบ off-line และ on-line จากศูนย์กระจายสินค้าไปสู่ร้าน 7-Eleven กว่า 10,000 จุดทั่วประเทศ และเพื่อเป็นการต่อยอดธุรกิจแบบยั่งยืน จึงได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำโลจิสติกส์ด้านส่งเสริมการลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม โดยประกาศดำเนินโครงการ EV Vision ด้วยการใช้รถบรรทุก 4 ล้อไฟฟ้าขนาดใหญ่ในการขนส่งสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าไปยังร้านสาขา 7-Eleven โดยรถบรรทุกไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ระยะทาง 200 กิโลเมตร ต่อการชาร์จ 1 ครั้งนอกจากนี้ ตัวรถยังมีขนาดตู้บรรจุสินค้าที่สามารถบรรจุได้มากถึง 16 คิวบ์

“ธุรกิจโลจิสติกส์ เป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมที่จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมาจากเชื้อเพลิงที่ใช้กับยานยนต์ได้ จากความตั้งใจอย่างจริงจังของกลุ่มบริษัท ออลล์ นาว ที่ต้องการจะเป็นส่วนหนึ่งของการลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้า แทนการใช้พลังงานน้ำมัน โดยมุ่งหวังลดปริมาณการสร้างมลพิษทางอากาศเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังช่วยลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ ด้วยการขนส่งสินค้าปริมาณที่มากขึ้นต่อเที่ยว ซึ่งโครงการ EV Vision เป็นโอกาสที่ดีที่กลุ่มบริษัท ออลล์ นาว จะตั้งเป้าเป็นผู้นำทางด้านโลจิสติกส์สีเขียว เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในอนาคต” นายธเนศกล่าว

ปัจจุบัน ออลล์ นาว ได้เริ่มนำร่องขนส่งและกระจายสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าบางบัวทองเป็นแห่งแรก ไปยังสาขา7-Eleven ในกว่า 20 เส้นทาง และวางแผนที่จะขยายเพิ่มเติมไปสู่ศูนย์กระจายสินค้ามหาชัย และ ลาดกระบัง ทำให้สามารถกระจายสินค้าไปได้กว่า 700 สาขา พร้อมกับตั้งเป้าเพิ่มจำนวนรถบรรทุกไฟฟ้าที่จะให้บริการทั้งหมดเป็น 100 คัน ภายในสิ้นปี 2567 พร้อมกันนี้ ออลล์ นาว ยังได้ลงทุนติดตั้งสถานีชาร์จประจุไฟฟ้าในพื้นที่ศูนย์กระจายสินค้าแต่ละแห่ง โดยตั้งเป้าขยายการติดตั้งสถานีไปให้ครอบคลุมครบทุกศูนย์กระจายสินค้าในอนาคต นอกจากนี้ ออลล์นาว ยังวางแผนที่จะขยายการขนส่งและกระจายสินค้าด้วยรถขนส่งไฟฟ้าไปในธุรกิจอื่นๆทั้งในและนอกเครือฯ ต่อไปในอนาคต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็นผู้นำธุรกิจโลจิสติกส์สีเขียวที่ช่วยส่งเสริมการลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมภายในปี 2568” นายธเนศกล่าว.-สำนักข่าวไทย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top