19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) นำคณะราชทูตสยาม เชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการ ถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
ราชทูตสยามในคณะของพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ได้เริ่มต้นการเดินทางไปยังสหราชอาณาจักร เพื่อเชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษ
พระยามนตรีสุริยวงศ์ หรือที่มีนามเดิมว่า ชุ่ม บุนนาค เป็นบุตรคนที่ 9 ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับท่านผู้หญิงจันทร์ และน้องชายแท้ๆ ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยามนตรีสุริยวงศ์ได้รับมอบหมายให้เป็นราชทูตเดินทางไปยังราชสำนักอังกฤษเพื่อถวายพระราชสาส์นแก่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียในปี พ.ศ. 2400
ในการเดินทางครั้งนี้ หม่อมราโชทัย ล่ามของคณะทูต ได้ประพันธ์ "นิราศลอนดอน" ขึ้นเพื่อบันทึกเรื่องราวการเดินทาง ส่วนพระยามนตรีสุริยวงศ์มีบุตรชาย 18 คน และบุตรหญิง 10 คน
เมื่อภารกิจเสร็จสิ้น คณะทูตตัดสินใจเดินทางกลับโดยใช้เส้นทางบกผ่านฝรั่งเศส แทนที่จะเดินทางทางเรือจากอังกฤษกลับตรงเหมือนขาไป โดยในเชิงอรรถของหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวว่า
"การที่ราชทูตกลับทางฝรั่งเศสนั้น ปรากฏในจดหมายเหตุของรัฐบาลอังกฤษว่า แต่เดิมรัฐบาลจะจัดให้กลับมาเรือจากเมืองอังกฤษเหมือนเมื่อขาไป แต่เนื่องจากการเดินทางขาไปประสบปัญหาคลื่นใหญ่ที่อ่าวบิศเคำบากเต็มที ขากลับเป็นฤดูหนาวและคลื่นใหญ่ยิ่งกว่าขาไป จึงขอเปลี่ยนเส้นทางกลับทางประเทศฝรั่งเศส รัฐบาลจึงได้จัดการให้มาทางนั้น"
การเลือกเส้นทางผ่านฝรั่งเศสทำให้คณะทูตต้องเสียเวลาช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง 2 สัปดาห์ และในช่วงนี้ คณะทูตได้มีโอกาสเข้าเฝ้าจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศสเป็นกรณีพิเศษ ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีการแจ้งจุดมุ่งหมายล่วงหน้าอย่างเป็นทางการ