น.ศ. ‘หลักสูตรนักบริหารการงบประมาณระดับสูง’ ลงพื้นที่เก็บข้อมูล เพื่อหาแนวทาง จัดการกับภัยพิบัติอย่างยั่งยืน

วันที่ 4-5 มิถุนายน 2566 นักศึกษา "หลักสูตรนักบริหารการงบประมาณระดับสูง (นงส.) รุ่นที่ 10 กลุ่มไข่มุก" ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัย เรื่อง "แนวทางการบริหารงบประมาณด้านภัยพิบัติแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน" กรณีศึกษาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสระบุรี และจังหวัดชุมพร

ในการนี้ นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัด (พี่ดวง กลุ่มบุษราคัม) ให้การต้อนรับ และให้ข้อมูลภาพรวมการดำเนินการของจังหวัด

กลุ่มไข่มุก นำโดยนายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ได้ร่วมสัมภาษณ์ หัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจน ผู้บริหาร สมาชิก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน  ภาคเอกชน สถานศึกษา และประชาชน ในพื่นที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม รวมถึงปัญหาด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่ ซึ่งได้รับความร่วมมือในการสะท้อนปัญหาและให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาพื้นที่เป็นอย่างดียิ่ง

เขตพื้นที่อำเภอท่าแซะ โดยเฉพาะตำบลนากระตาม เป็นพื้นที่ลุ่ม ได้รับผลกระทบอุทกภัยน้ำท่วมมากที่สุด เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่รับน้ำจากคลองท่าแซะและคลองรับล่อ ซึ่งเกิดน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ได้รับความเสียหายและผลกระทบมากหรือน้อย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในแต่ละปีมีปริมาณน้ำฝนมากหรือน้อย 

จากการสัมภาษณ์พบว่า แนวทางการป้องกันเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วม ประชาชนเสนอขุดลอกคลองเพื่อช่วยระบายน้ำ ลงสู่ทะเลให้เร็วที่สุด เพื่อลดผลกระทบและความเสียหายของบ้านเรือนประชาชนรวมถึงพืชผลทางการเกษตร การดำเนินการแก้ปัญหาจะเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการงบประมาณของภาครัฐทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

นอกจากผลกระทบจากอุทกภัยแล้ว เมื่อน้ำได้ไหลลงสู่ทะเลแล้ว แม่น้ำ ลำคลอง ก็จะแห้ง เนื่องจากไม่มีเขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำ หรือฝายชะลอน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภค และใช้เพื่อการเกษตรหลังฤดูฝน "เกษตรกรสวนทุเรียน ต้องจ้างรถขนน้ำไปรดต้นทุเรียนในช่วงหน้าแล้ง" เกษตรกรกล่าว 

ปัญหาเรื่องน้ำ ต้องมีการบริหารจัดการร่วมกันทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน เกษตรกร อาทิ สทนช. กรมชลประทาน จังหวัด อบจ. อบต. พื้นที่ส่วนใหญ่ในท่าแซะเป็นพื้นที่ป่า ต้องมีการบูรณาการในพื้นที่อย่างจริงจัง และสร้างการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน
"น้ำมามาก ก็ท่วม น้ำลงทะเลหมด ก็แล้ง" ผู้นำท้องถิ่นกล่าว
 
ดังนั้น หากจะก่อนสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝายกั้นน้ำ จะอยู่ในพื้นที่ป่า และพื้นที่เกษตรกร แนวทางเบื้องต้นที่ได้จากพื้นที่อาจต้องมีการบริหารงบประมาณแบบกระจายลงสู่เชิงพื้นที่ การปรับแก้กฎหมาย ให้อำนาจจังหวัด หรือท้องถิ่นมากขึ้น ซึ่งผลจะสรุปอย่างไร ทางกลุ่มจะสรุปและนำเสนอต่อสำนักงบประมาณ เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงบประมาณด้านภัยพิบัติแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ต่อไป