เทียบนโยบายยกเลิก ‘Blacklist’ (Credit bureau) แล้วมาปล่อยกู้ด้วย Credit score ของพรรคชาติพัฒนากล้า

                  

                 

Credit bureau กับ Credit score แตกต่างกันอย่างไร? คนไทยส่วนใหญ่แล้วรู้จักแต่ Credit bureau ซึ่งรวบรวมจัดเก็บโดย บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูลบัญชีสินเชื่อและประวัติการชำระสินเชื่อทุกประเภทของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งส่งมาจากสถาบันการเงินและบริษัทที่เป็นสมาชิก Credit bureau โดยข้อมูลที่จัดเก็บหรือรายงานใน Credit bureau แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1.ข้อมูลบ่งชี้ คือข้อเท็จจริงที่บ่งชี้ถึงตัวลูกค้า ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ-นามสกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด ซึ่งไม่มีการจัดเก็บหมายเลขโทรศัพท์ และข้อมูลที่อยู่ที่ลูกค้าแจ้งกับสถาบันการเงินและบริษัทที่เป็นสมาชิก Credit bureau

2.ข้อมูลสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติและประวัติการชำระหนี้ จำแนกเป็นรายบัญชีที่มีอยู่ในแต่ละสถาบันการเงินและบริษัทสมาชิก โดยมีข้อมูลที่สำคัญดังนี้ 

-สรุปข้อมูลบัญชีสินเชื่อ ซึ่งจะบอกว่าลูกค้ามีสินเชื่ออยู่ทั้งหมดกี่บัญชี มีจำนวนบัญชีที่ใช้สิทธิแก้ไขข้อมูลหรือโต้แย้งกี่บัญชี

-ประเภทและเลขที่บัญชีของสินเชื่อ

-ชื่อผู้ให้สินเชื่อ

-วงเงินที่ได้รับอนุมัติ และวงเงินที่ใช้ไป

-สถานะของบัญชี เช่น ปกติ  ปิดบัญชี พักชำระหนี้ ค้างชำระหนี้ 

-รายละเอียดการชำระหนี้ ซึ่งจะแสดงประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมา ทั้งที่ชำระตรง ชำระล่าช้า หรือผิดนัดชำระ

-ข้อมูลอื่น ๆ เช่น วันที่เปิดบัญชี วันที่ชำระหนี้ล่าสุด วันที่ปิดบัญชี วันที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 

                                            

Credit bureau เป็นระบบที่เป็นการรายงานเครดิต (Credit report) เป็นการบันทึกประวัติเครดิตและกิจกรรมของบุคคล เพื่อเป็นฐานข้อมูลที่ให้โดยเจ้าหนี้ เช่น ผู้ให้กู้และบริษัทบัตรเครดิต รายงานอาจมีข้อมูลหลากหลาย ตั้งแต่รายละเอียดส่วนบุคคล เช่น ชื่อและหมายเลขประจำตัวประชาชน ไปจนถึงข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับการยึดสังหาริมทรัพย์และการล้มละลาย 

              

Credit score นั้นก็ต้องใช้ข้อมูลจากรายงานเครดิต (Credit report) เพื่อคำนวณคะแนนเครดิต เป็นตัวเลข 3 หลักซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 300 ถึง 850 โดยจะแสดงภาพรวมของสถานการณ์เครดิตของแต่ละบุคคล Credit score ขึ้นอยู่กับประวัติเครดิตของบุคคล ท่ามกลางปัจจัยอื่น ๆ บริษัทที่ให้คะแนนเครดิตจะใช้ข้อมูลจากรายงานเครดิตเพื่อสร้าง Credit score พวกเขาคำนวณคะแนนโดยใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่าแบบจำลองการให้ Credit score ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย ซึ่งรวมถึงประวัติการชำระเงินของบุคคล หนี้ และจำนวนการสมัครขอสินเชื่อล่าสุด

                       

ข้อมูลที่นำเสนอนี้สรุปรวมรวบมาจากข้อมูลของ Credit bureau กับ Credit score ที่เป็นระบบที่ใช้คู่กันในประเทศสหรัฐอเมริกา การคิดคำนวณ Credit score จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลที่มาจาก Credit bureau ซึ่งในขณะนี้ประเทศไทยมีเพียงหน่วยงานเดียวที่รวบรวมข้อมูลในลักษณะนี้คือ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด และยังไม่มีหน่วยงานไหนที่ทำหน้าที่คิดคำนวณ Credit score อย่างเป็นทางการเลย ผู้เขียนเข้าใจว่า ฝ่ายสินเชื่อของแต่ละสถาบันการเงินก็คงจะพิจารณาให้สินเชื่อผู้ขอกู้ด้วยการคิดคำนวณ Credit score อยู่แล้ว Credit score จึงน่าจะไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่ในวงการเงิน การธนาคารของบ้านเราแต่อย่างใดเลย

                  

อันที่จริงแล้วระบบ Credit bureau ที่ใช้กันในบ้านเรานั้นก็ถือว่า มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากลแล้ว การคิดคำนวณ Credit score เพื่อให้สินเชื่อก็ทำอยู่โดยหน่วยงานที่ให้สินเชื่อแล้ว สำหรับนโยบายยกเลิก ‘Blacklist’ นั้น ส่วนตัวของผู้เขียนเห็นว่า อันที่จริงกลุ่มผู้อยู่ในรายชื่อ  ‘Blacklist’ นั้นควรเป็นกลุ่มที่รัฐบาลควรหาทางช่วยเหลือเพื่อที่จะทำให้คนเหล่านั้นหลุดจากบ้วง ‘Blacklist’ แล้วสามารถยืนหยัดด้วยตัวเองเพียงลำพังมากกว่า โดยจัดตั้งหน่วยงานที่มีการประสามความร่วมมือจากหลาย ๆ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นวาระแห่งชาติในการแก้ไขและหาทางป้องกันปัญหานี้อย่างจริงจัง 

                         

แต่ที่สุดแล้วพรรคการเมืองไทยส่วนใหญ่ก็คงใช้นโยบาย ‘เลี้ยงไข้ ให้ปลา ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้’ แทนที่จะออกนโยบาย ‘ให้เบ็ด ทำให้คนไทยทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเอง’ เหล่านี้ทำให้ปัจจัยที่มีผลทำให้พรรคการเมืองที่จะประสบชัยชนะในการเลือกตั้ง จึงเป็นเรื่องของประชาชานิยม ลด แลก แจก แถม อยู่ต่อไป และทำให้บ้านเมืองของเรายากที่จะหลุดจากกับดับรายได้ปานกลาง และยังคงอยู่ในจำพวกของประเทศที่กำลังพัฒนาต่อไป