Wednesday, 24 April 2024
TOP UNIVERSITY

คณะสัตวแพทยศาสตร์ เป็นคณะที่หลาย ๆ คนที่รักและเมตตาเหล่าสัตว์น้อยใหญ่ต่างสนใจ อยากที่จะศึกษาเกี่ยวกับการดูแลรักษาสัตว์ไม่ให้บาดเจ็บ และ ปลอดภัย การเรียนในคณะนี้ยังต้องพบเจออีกหลาย ๆ อย่าง ที่ไม่ใช่แค่การดูแลรักษาสัตว์เท่านั้น

สำหรับใครที่สนใจอยากที่จะเรียนในคณะสัตวแพทยศาสตร์แต่ยังไม่รู้ว่าการเรียนภายใน 6 ปีนั้นจะต้องพบเจอกับอะไร วันนี้ THE STUDY TIMES จะขอมาแนะนำการเรียนในคณะนี้กัน ที่นอกจากการเรียนที่เข้มข้นไปด้วยเนื้อหาแล้ว ยังต้องพบเจอกับอะไรอีกมากมายเลยทีเดียว 

แต่ก่อนอื่น คณะสัตวแพทยศาสตร์ นั้นหมายถึง สัตว์ รวมกับคำว่า แพทย์ และ ศาสตร์ คือการเรียนเกี่ยวกับการรักษาสัตว์ไม่ใช่แค่เพียงสัตว์เลี้ยงเท่านั้น ยังรวมไปถึงสัตว์ทุกชนิดและทุกประเภท เมื่อจบมาแล้วจะได้รับวุฒิการศึกษาคือ สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต นอกจากการเรียนเพื่อรักษาสัตว์ คณะนี้ยังต้องเรียนเกี่ยวกับ ผลผลิตด้านปศุสัตว์ การขยายพันธุ์สัตว์ การเลี้ยง และบำรุงพันธุ์สัตว์ วิธีการควบคุมโรคของสัตว์ที่สามารถติดต่อมาถึงมนุษย์ได้ รวมถึงด้านสุขศาสตร์อาหาร และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ เรียกได้ว่าครอบคลุมทุกอย่างเกี่ยวกับสัตว์จริง ๆ 


โดยในคณะสัตวแพทยศาสตร์ จะเรียนทั้งหมด 6 ปี เหมือนกับเรียนแพทยศาสตร์ และ เภสัชศาสตร์ โดยจะแบ่งเป็น ปี 1 - 3 เรียกว่าชั้น Pre-clinic และปี 4 - 6 เรียกว่าชั้น Clinic โดยมีการเรียนคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้

ปี 1 (ชั้น Pre-clinic) จะเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานทั่วไป เช่น ฟิสิกส์ทางการแพทย์ เคมีทั่วไป ชีววิทยาทั่วไป เคมีอินทรีย์ เป็นต้น 

ปี 2-3 (ชั้น Pre-clinic) เป็นชั้นปีที่เริ่มเรียนวิชาของคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ ซึ่งการเรียนในคณะนี้ ไม่ได้เรียนแค่เฉพาะสัตว์เลี้ยงในบ้านอย่างสุนัขหรือแมวเท่านั้น ยังต้องเรียนไปถึงสัตว์ในฟาร์มเช่น หมู ไก่ ม้า วัว รวมไปถึงสัตวน้ำอีกด้วย วิชาที่เรียนยกตัวอย่างเช่น  จุลกายวิภาควิทยา หลักสัตวบาล Anatomy Neuroanatomy Immunology สรีรวิทยา อนามัยสิ่งแวดล้อม เภสัชวิทยา เป็นต้น เรียนตั้งแต่โครงสร้างของสัตว์และสิ่งมีชีวิตที่มองเห็นและมองไม่เห็น จนถึงสุขอนามัยในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ 

ปี 4-6 (ชั้น Clinic) เริ่มเข้าสู่วิชาเกี่ยวกับการรักษา พยาบาลสัตว์มากขึ้น วิชาเรียนจะเจาะลึกลงไปอีก เช่น อายุรศาสตร์ตามระบบอวัยวะ เทคนิคการวินิจฉัยและการรักษาโรคสัตว์ รังสีวิทยา พิษวิทยา หลักการศัลยศาสตร์และวิสัญญี เทคโนโลยีชีวภาพทางการสืบพันธุ์ของสัตว์ สุขศาสตร์อาหาร กฎหมายและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ เป็นต้น ซึ่งในช่วง 3 ปีนี้ก็จะมีความยากมากยิ่งขึ้น มีการฝึกงานและทำวิจัยต่าง ๆ เพื่อให้ตัวผู้เรียนมีประสบการณ์มากยิ่งขึ้น พร้อมที่จะไปดูแลรักษาพยาบาลสัตว์น้อยใหญ่ 

เมื่อเรียนจบแล้ว คณะสัตวแพทยศาสตร์ไม่ได้จบมาเป็นสัตว์แพทย์อย่างเดียวนะคะ ยังสามารถทำงานในหน่วยงานรัฐ ได้แก่ กรมปศุสัตว์, กรมประมง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฯลฯ ส่วนหน่วยงานเอกชน สามารถประกอบอาชีพในธุรกิจด้านอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ การผลิตอาหารสัตว์ และธุรกิจฟาร์มสัตว์ต่าง ๆ

ส่วนสถาบันที่เปิดสอนในคณะสัตวแพทยศาสตร์มีดังต่อไปนี้ 
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ จังหวัดชลบุรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์    
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คณะสัตวแพทยศาสตร์ถือว่ามีความน่าสนใจอย่างยิ่งในการเข้าศึกษาต่อเพราะนอกจากจะได้ช่วยเหลือสัตว์น้อยใหญ่แล้ว ยังฝึกความอดทนอีกมาก แต่ทุกการเรียนรู้จะแลกมาด้วยประสบการณ์ที่อาจจะไม่มีวันลืมได้เลย THE STUDY TIMES ขอเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ทุกคนตามความฝันของตัวเองได้สำเร็จนะคะ


ที่มา 
https://www.dek-d.com/tcas/45341/
https://campus.campus-star.com/education/133857.html
https://www.admissionpremium.com/adplanning/fac?id=20150911135458QJCr0qY

รู้จัก “คณะเศรษฐศาสตร์” คณะของคนที่ชอบวิเคราะห์ มีหลักการ และมีเหตุผล !

เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะรู้จักหรือเคยคุ้นชื่อ “คณะเศรษฐศาสตร์” พอได้ยินถึงชื่อคณะหลาย ๆ คนอาจจะนึกแค่ว่าเรียนเกี่ยวกับเลข การคำนวณ จบไปทำงานธนาคาร แต่แท้จริงแล้วคณะนี้เรียนอะไร THE STUDY TIMES จะขอมาแนะนำเกี่ยวกับคณะนี้กันค่ะ 

คณะเศรษฐศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการควบคุมและกระจายทรัพยากรของมนุษย์ โดยคำว่าเศรษฐศาสตร์ในภาษาอังกฤษคือ Economics มาจากคำว่า Oikonomia ในภาษากรีกโบราณ มีความหมายว่า การจัดระเบียบเรื่องในบ้าน และ การบริหารจัดการภาระหน้าที่ 

เดิมทีเศรษฐศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชารัฐศาสตร์ ที่เพิ่งแยกออกมาเป็นวิชาของตัวเองช่วงปลายศตวรรษที่ 19 การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ โดยสามารถแบ่งตามเนื้อหาได้เป็น 2 สาขาหลัก ๆ คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหาภาค 



เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษาในเรื่องของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับบุคคล โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจนั้น ๆ และบุคคล หรือหน่วยงานสำคัญ ๆ ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องในแต่ละเรื่อง เช่น การศึกษาเกี่ยวกับตลาดแต่ละตลาด และตัวแทนทางเศรษฐกิจ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับครัวเรือน หน่วยธุรกิจ ผู้ซื้อ และผู้ขาย ฯลฯ

ส่วนเศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาเศรษฐกิจในภาพรวม เช่น อุปทานมวลรวมและอุปสงค์มวลรวม การว่างงาน เงินเฟ้อ การเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เป็นต้น

ส่วนการเรียนในแต่ละชั้น ปี 1 จะได้เรียนในวิชาพื้นฐานทั้งหมด ทั้งวิชาคณิตศาสตร์ สถิติ ภาษาอังกฤษ รวมถึงจะได้เรียนวิชาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นอีกด้วย

พอเข้าสู่ ปี 2 จะได้เรียนเข้าใจลึกมากยิ่งขึ้นในวิชาเศรษฐศาสตร์ในหลาย ๆ ระดับ เช่น เศรษฐศาสตร์จุลภาค เศรษฐศาสตร์มหาภาค และการนำความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

ส่วน ปี 3 ปีนี้ จะได้เจอวิชาเฉพาะที่เจาะลึกมากขึ้น รวมถึงเนื้อหาที่มีความหลากหลาย เช่น  หมวดการเงิน หมวดทรัพยากรมนุษย์ หมวดสินค้าเกษตร หมวดนโยบาย หมวดการพัฒนา 

และ ปี 4 ปีสุดท้าย เนื้อหาการเรียน จะได้เลือกเรียนเฉพาะหมวด ที่ตัวเองได้เลือกและมีการทำวิจัยจบและมีการสัมมานาตามแต่ละมหาวิทยาลัย 



สำหรับสาขาในคณะเศรษฐศาสตร์มีดังต่อไปนี้ 

เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ / เศรษฐศาสตร์การจัดการ เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการพลิกแพลงเอาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ไปใช้ในการบริหารจัดการในทุกๆ ด้านขององค์กร หรือธุรกิจต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ

เศรษฐศาสตร์การเงิน เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการจัดการด้านการเงินให้มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยทฤษฎี และความรู้ทางเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์การคลัง เรียนเกี่ยวกับนโยบาย และมาตรการการคลัง การหารายได้ และการใช้จ่ายของรัฐบาล รวมถึงผลกระทบของมาตรการการคลังที่มีต่อเศรษฐกิจ

เศรษฐศาสตร์การพัฒนา และวางแผน ศึกษานโยบาย และกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งยังศึกษาบทเรียนตัวอย่างในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ

เศรษฐศาสตร์แรงงาน และทรัพยากรมนุษย์ เน้นการเรียนเพื่อนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปแก้ปัญหาตลาดแรงงาน ปัญหาการว่างงาน และการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นสาขาที่ศึกษาเพื่อหาวิธีจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ถูกนำไปใช้ในระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

เศรษฐศาสตร์ทฤษฎี และการวิจัย / เศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณ เน้นการเรียนด้านทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก ซึ่งบัณฑิตจากสาขานี้จะเป็นคนที่มีการตัดสินใจที่แม่นยำ เพราะจะมีมุมมอง การคิดวิเคราะห์ และการเชื่อมโยง สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระดับภาพรวมได้เป็นอย่างดี

เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ สาขานี้จะผสมผสานความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ เข้ากับความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้นักศึกษาเติบโตไปในโลกของการค้าระหว่างประเทศได้

เศรษฐศาสตร์เกษตร เรียนเพื่อนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในการจัดการการเกษตร

เศรษฐศาสตร์สหกรณ์ สาขานี้จะเน้นการจัดการสหกรณ์ ด้วยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์การพัฒนา เรียนเพื่อนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมในระดับประเทศ

เศรษฐศาสตร์สาธารณะ ศึกษาบทบาทของรัฐบาลที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ทั้งยังวิเคราะห์บทบาทของรัฐบาล ในการใช้จ่ายงบประมาณ ภาษีอากรของราษฎร และศึกษาถึงการใช้นโยบายการคลังในการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจด้วย

เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมด้วย



ในประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทั้งในภาครัฐและเอกชนมีดังต่อไปนี้ 

มหาวิทยาลัยภาครัฐ
•    คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
•    วิทยาลัยนานาชาติ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหิดล 
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา 
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
•    คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  
•    คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร  
•    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  
•    คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  
•    คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา  
•    สำนักวิชาการจัดการ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  
•    คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ  
•    คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม  
•    คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี 
•    คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง  
•    สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  
•    สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 

มหาวิทยาลัยภาคเอกชน 
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ 
•    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
•    คณะบริหารธุรกิจ สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

หลาย ๆ คนสงสัยว่าพอจบไปแล้วจะต้องทำงานที่ธนาคารอย่างเดียวหรือไม่ จริง ๆ แล้วคณะเศรษฐศาสตร์เมื่อเรียนจบแล้วสามารถทำงานได้หลากหลาย ทั้งในงานธนาคาร บริษัทด้านการเงินหรือบริษัทด้านตลาดหลักทรัพย์ ทำงานในบริษัทประกันภัย ที่ต้องการนักเศรษฐศาสตร์ เพื่อทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับสภาวะของตลาด และการวางแผนในการดำเนินธุรกิจอย่างไรให้ได้กำไร บริษัทที่ต้องการฝ่ายการตลาดหรือ Marketing ก็สามารถทำงานด้านนี้ได้เช่นเดียวกัน 

ในปัจจุบันคณะเศรษฐศาสตร์ถือว่ามีความสำคัญในทุกประเทศ เพราะ เศรษฐกิจถือว่าเป็นตัวเดินเครื่องที่สำคัญ การค้าขาย ธุรกิจต่าง ๆ ส่วนใหญ่ก็ต้องใช้ศาสตร์ความรู้จากเศรษฐศาสตร์ทั้งสิ้น สุดท้ายนี้ THE STUDY TIMES ก็ขอเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ทุกคนเจอทางที่ตัวเองชอบกันนะคะ 


ที่มา
https://campus.campus-star.com/education/76630.html
https://tcaster.net/2021/01/about-bachelor-of-economics/
https://www.sanook.com/campus/1401708/

รู้จัก ‘พยาบาลศาสตร์’ คณะในฝันของเหล่าผู้มีจิตเมตตา

หลาย ๆ คนมีความฝันที่อยากจะเป็นพยาบาลคอยดูแล เอาใจใส่ คนไข้ และการประกอบอาชีพนี้จะต้องมีความเมตตา เพราะจะต้องคอยดูแลผู้ป่วยทั้งด้านสุขภาพอนามัย รวมไปถึงจิตใจผู้ป่วยอีกด้วย THE STUDY TIMES จะมาแนะนำ “คณะพยาบาลศาสตร์” กันว่าในช่วงระยะเวลา 4 ปีพยาบาลจะต้องเรียนอะไรกันบ้าง 

คณะพยาบาลศาสตร์ที่แรกในประเทศไทยคือ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่าวิชาแพทย์ผดุงครรภ์มีความจำเป็นแก่ชีวิตของสตรี เนื่องจากในสมัยนั้นสตรีต้องเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากการคลอดบุตร 

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถจึงได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ตั้งโรงเรียนเพื่ออบรมผดุงครรภ์ขึ้นในบริเวณโรงพยาบาลศิริราชเริ่มเปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2439 โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์แลการพยาบาลไข้” สังกัดกรมศึกษาธิการ ซึ่งต่อมาเรียกว่ากระทรวงธรรมการ ขึ้นภายในบริเวณโรงศิริราชพยาบาล ซึ่งนับเป็นโรงเรียนพยาบาลแห่งแรก และเป็นจุดเริ่มของการศึกษาด้านการพยาบาลของประเทศด้วย หลังจากนั้นประเทศไทยก็ได้พัฒนาหลักสูตรและได้มีคณะพยาบาลศาสตร์ตามมหาวิทยาลัยเพื่อให้ประชาชนได้มีทักษะ ความรู้ในด้านการพยาบาล

ซึ่งคณะพยาบาลศาสตร์ในแต่ละปีนั้นจะมีการสอบแข่งขันกันค่อนข้างสูง และ การที่จะได้เรียนในคณะพยาบาลศาสตร์นั้น จะต้องมีใบรับรองแพทย์ด้านสุขภาพกาย เพราะการเรียนและการทำงานในคณะพยาบาลนั้นจะต้องใช้ทั้งแรงกายและแรงใจอย่างมาก นอกจากที่เราจะต้องทำงานในการดูแล เราจะต้องทำงานในด้านบริการอีกด้วย ไม่ว่าคนไข้จะดีหรือไม่ดีก็จะต้องควบคุมสถานการณ์ให้ได้อีกด้วย 

หลังจากที่ได้สอบเข้าเรียนในคณะพยาบาลศาสตร์ได้แล้วนั้น ในแต่ละช่วงปีก็จะมีการเรียนที่แตกต่างกันไป โดยในช่วงปีแรกจะเป็นการเรียนปรับพื้นฐาน เรียนวิชาพื้นฐานเหมือนกันทุกสาขา เช่น วิทยาศาสตร์ เคมี ชีววิทยา จิตวิทยา ฯลฯ ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ในด้านภาษา การสื่อสาร และศึกษาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

พอช่วงปีที่ 2 จะเป็นการเริ่มเรียนทางด้านพยาบาลและชีววิทยาเพิ่มมากขึ้น เป็นหมวดวิชาเฉพาะพื้นฐานวิชาชีพเช่น สรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์ ปรสิตวิทยา การพยาบาลเบื้องต้น โภชนาการและโภชนาการบำบัด เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์

ก้าวเข้าปีที่ 3 จะเรียนลึกมากยิ่งขึ้นในทางด้านวิชาชีพ และการฝึกปฏิบัติต่าง ๆ หมวดวิชาเฉพาะในด้านทฤษฎี การรักษาโรคเบื้องต้น การพยาบาลผู้ประสบภัยพิบัติการพยาบาลชุมชน การพยาบาลผู้สูงอายุ การพยาบาลจิตเวช การพยาบาลผู้ใหญ่ การพยาบาลมารดา-ทารกแรกเกิดและการผดุงครรภ์ ช่วงปีที่ 3 นี้จะได้มีการเข้าเวรจริง ๆ เพื่อเรียนรู้จากการปฏิบัติมีการเข้าเวร ดูแลคนไข้จริง  ๆ โดยจะเจอคนไข้เกือบทุกรูปแบบ เป็นการพยาบาลเด็ก พยาบาลผู้ป่วย

ปีที่ 4 ปีสุดท้ายจะเป็นการฝึกงาน (ฝึกปฏิบัติการพยาบาล) โดยนิสิตหรือนักศึกษาพยาบาลจะได้เรียนในวิชาที่เกี่ยวกับอนามัยชุมชน การรักษาโรคเบื้องต้น รวมไปถึงการฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินและวิกฤต ฝึกปฏิบัติการพยาบาลเด็ก ฝึกปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช ฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดา-ทารกแรกเกิด และการผดุงครรภ์ เรียกได้ว่าเป็นปีที่ท้าทายสุด ๆ ใน 4 ปีเลยล่ะค่ะ 

เมื่อเรียนจบแล้ว นิสิตหรือนักศึกษาพยาบาลทุกคนจะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพพยาบาลด้วย เหมือนเป็นการการันตีว่าสามารถพร้อมที่จะปฏิบัติในหน้าที่พยาบาล เมื่อจบแล้วสามารถทำอาชีพพยาบาลในโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน หรือตามสถานที่ ๆ มีหน่วยพยาบาลเช่น โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน หรือ ตามคลินิกต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถทำงานดูแล พยาบาลผู้ป่วยตามบ้านหรือผู้ป่วยติดเตียงได้อีกด้วย  

สำหรับรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในคณะพยาบาลศาสตร์มีดังต่อไปนี้ 

สถาบันอุดมศึกษารัฐบาล
•    คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เปิดสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก)
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
•    สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
•    ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
•    วิทยาลัยนานาชาติ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
•    สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
•    สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
•    วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
•    วิทยาลัยพยาบาลพระยาภักดีชุมพล มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
•    สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
•    สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
•    สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (เปิดสอนเฉพาะหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง)

วิทยาลัยพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น

•    สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
•    วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์
•    วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
•    วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ
•    วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
•    วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ

วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
•    วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
•    วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
•    วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

•    มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
•    มหาวิทยาลัยคริสเตียน (หลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติ)
•    มหาวิทยาลัยปทุมธานี
•    มหาวิทยาลัยพายัพ
•    มหาวิทยาลัยรังสิต
•    มหาวิทยาลัยราชธานี
•    มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
•    มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
•    มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
•    มหาวิทยาลัยสยาม
•    มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
•    มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (หลักสูตรนานาชาติ)
•    มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
•    มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
•    วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
•    วิทยาลัยเชียงราย
•    วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
•    วิทยาลัยเซนต์เทเรซา-อินติ (หลักสูตรนานาชาติ)
•    วิทยาลัยนครราชสีมา
•    วิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ
•    วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย

พยาบาลในปัจจุบันถือว่าเป็นอาชีพที่สำคัญอย่างมาก นอกจากจะช่วยเหลือคุณหมอแล้ว การดูแลผู้ป่วยถือว่าเป็นหน้าที่หลักที่สำคัญของพยาบาล การได้รับการดูแล เอาใจใส่ คณะพยาบาลศาสตร์ถือว่าได้เป็นอีกคณะหนึ่งที่น่าสนใจและได้ทำคุณงามความดี ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันไว้อย่างมากมาย


แหล่งข้อมูล 
https://campus.campus-star.com/education/44923.html
https://www.admissionpremium.com/content/5688 
https://th.wikipedia.org/wiki/คณะพยาบาลศาสตร์มหิดล

รู้จัก “มศว ประสานมิตร” เป๊ะปังยังไง ทำไมใคร ๆ ถึงอยากเรียน ?!

หลาย ๆ คนก็คงจะรู้จัก “มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ” หรือ “มศว” ว่าเป็นมหาวิทยาลัยชื่อดังที่ผลิตบุคลากรในวงการต่าง ๆ มากมาย มีวิทยาเขตด้วยกัน 2 ที่คือ มศว ประสานมิตร ที่อโศก กรุงเทพฯ และ มศว องครักษ์ ที่จังหวัดนครนายก ในวันนี้ THE STUDY TIMES จะมาแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักถึงประวัติและชื่อเสียงของ มศว ประสานมิตร กัน

มศว หรือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ถือกำเนิดเมื่อตอนสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากที่ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจและสังคมได้คลี่คลาย การศึกษาในยุคนั้นก็ต้องการที่จะพัฒนาให้คงอยู่

แต่มีประชากรครูไม่เพียงพอต่อประชากรนักเรียนเพื่อผลักดันการศึกษาทางด้านวิชาชีพครู กระทรวงศึกษาธิการจึงก่อตั้ง “โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง” ได้สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2492 ที่ถนนประสานมิตร กรุงเทพมหานคร โดยได้ถือกำเนิดขึ้นจาก หม่อมหลวง ปิ่น มาลากุล ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น

หลังจากนั้นจึงได้พัฒนามาเป็น “วิทยาลัยวิชาการศึกษา” ในปี พ.ศ.2496 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี เป็นผู้นำพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน หลังจากนั้นก็พัฒนาต่อมาเรื่อย ๆ มีหลักสูตรมากมายจนกลายมาเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมี 2 วิทยาเขตคือ มศว ประสานมิตร ที่อโศก กรุงเทพฯ และ มศว องครักษ์ ที่จังหวัดนครนายก

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความหมายว่า "มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร" "วิโรฒ"มาจากคำว่า "วิโรฒ" ในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความงอกงามหรือเจริญ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (อ่านว่า สี-นะ-คะ-ริน-วิ-โรด) มีชื่อย่อว่า "มศว" (ไม่มีจุด) เขียนอักษรโรมันว่า "Srinakharinwirot University" มีชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า SWU (อ่านว่า สะ-วู)

สัญลักษณ์ของมศวคือกราฟ ซึ่งเป็นสมการทางด้านคณิตศาสตร์ Y = ex (Exponential Curve) เส้นกราฟของการขยายเพิ่มขึ้น มีความหมายสอดคล้องปรัชญาที่ว่า “การศึกษาคือความเจริญงอกงาม” หรือ สิกขา “วิรุฬหิ สมปตตา” หรือ “ Education is Growth” รวมทั้งสอดคล้องกับ “สีเทา–แดง” ซึ่งสีเทา เป็นสีของสมอง หมายถึง “ความคิด” และสีแดงเป็นสีของเลือด หมายถึง “ความกล้าหาญ” สีเทา – แดง จึงหมายถึง “คิดอย่างกล้าหาญ” นั้นเอง โดย มศว จะใช้คำว่า นิสิต แทนตัวผู้เรียน

ในวันนี้ THE STUDY TIMES ขอพูดถึง มศว ประสานมิตร กันก่อนนะคะ โดย มศว ประสานมิตรตั้งอยู่ที่ถนนสุขุมวิท 23 เขตวัฒนา อโศก การเดินทางก็ง่ายและสะดวกมาก ๆ เนื่องจากตัวมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ใกล้ BTS และ MRT (อยู่หลังตึกแกรมมี่ด้วยนะ)

นอกจากนี้ มศว ประสานมิตร ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการสอบแข่งขันแอดมิชชั่นสูงสุดเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย โดยคณะที่เป็นยอดนิยมคือ คณะวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม นั่นเอง ซึ่งเป็นคณะที่มีการแข่งขันสูงมาก ๆ โดยเฉพาะเอกภาพยนตร์ หรือ คนในคณะจะเรียกเอก Cinema ที่มีรุ่นพี่อย่าง เก้า จิรายุ เจเจ กฤษณภูมิ และมีรุ่นพี่ดาราคนอื่น ๆ ที่กำลังศึกษาต่อหรือจบจากคณะนี้ก็มีอีกเพียบ

ในส่วนของคณะที่มศว ประสานมิตร มีคณะที่ศึกษาอยู่ที่มศว ประสานมิตรทั้ง 4 ปีมีคณะดังต่อไปนี้

คณะศึกษาศาสตร์

คณะเศรษฐศาสตร์

คณะทันตแพทยศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์

คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

คณะศิลปกรรมศาสตร์

วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม

วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน

ส่วนคณะอื่น ๆ จะเป็นการสลับเปลี่ยนกันไปเรียนที่มศว องครักษ์บ้าง อย่างเช่นคณะแพทย์ศาสตร์จะเรียนที่ มศว ประสานมิตรตั้งแต่ปี 1 – 3 และจะไปเรียนต่อในชั้นปีที่ 4 – 6 ที่ มศว องครักษ์

สังคมของมศวในแต่ละคณะก็มีความแตกต่างหลากหลายกันไปแต่จากที่ได้ประสบพบเจอนั้นสังคม มศว ถือว่าเป็นสังคมที่ดี ทุกคนเป็นมิตรและมีอัธยาศัยดีมาก ๆ เลยละค่ะ คณะคุณครูหรืออาจารย์ ก็มากไปด้วยประสบการณ์จัดเต็มทุกเนื้อหาการสอน เรียกได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่อัดแน่นไปด้วยการเรียนรู้ที่ไม่ที่สิ้นสุดจริง ๆ ค่ะ

นอกจากนี้ รอบ ๆ มศว ประสานมิตร เป็นแหล่งออฟฟิศ มีแหล่งของกิน และ และห้างสรรพสินค้า มากมายเพราะว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ใจกลางย่านออฟฟิศ เหล่าพนักงานออฟฟิศและผู้คนหนาแน่นจริง ๆ ค่ะ เรียกได้ว่าสัมผัสบรรยากาศของเสน่ห์กรุงเทพฯเต็ม ๆ

ถ้าผู้ใดสนใจที่อยากจะเข้าศึกษาต่อที่มศวไม่ว่าจะเป็นที่ประสานมิตรหรือองครักษ์ ทางมหาวิทยาลัยจะมีงาน Open House ที่จัดขึ้นทุก ๆ ปีในช่วงเดือนพฤศจิกายน โดยแต่ละปีก็จะมีธีมการจัดงานที่แตกต่างกันไป และ มีบรรดาพี่ ๆ ศิษย์เก่าที่ชื่อเสียงมาแชร์ประสบการณ์และให้กำลังใจน้อง ๆ นักเรียนถึงที่ โดยงานจะจัดที่ มศว ประสานมิตรนะคะ ส่วนจัดวันที่เท่าไร ทาง THE STUDY TIMES จะรีบนำข่าวมาแจ้งให้เร็วที่สุดเลยค่ะ


แหล่งข้อมูล : https://www.swu.ac.th/history.php

10 อันดับ Best Business Schools จาก Top MBA ทั่วโลกปี 2022

เช็ค 10 อันดับ Best Business Schools จาก Top MBA ทั่วโลกปี 2022 พร้อมเช็คคะแนนค่าเฉลี่ย GMAT

1.) Stanford University
Stanford, CA

2.) University of Pennsylvania (Wharton) 
Philadelphia, PA

3.) University of Chicago (Booth)
Chicago, IL

4.) Northwestern University (Kellogg)
Evanston, IL

5.) Harvard University
Boston, MA

5.) Massachusetts Institute of Technology (Sloan) 
Cambridge, MA

7.) Columbia University
New York, NY

7.) University of California--Berkeley (Haas)
Berkeley, CA

9.) Yale University
New Haven, CT

10.) Dartmouth College (Tuck)
Hanover, NH

10.) New York University (Stern)
New York, NY

ขอบคุณข้อมูลจาก U.S. News Ranking


ที่มา: https://www.facebook.com/1842580962422694/posts/4644392138908215/?d=n
 

#TCAS64 รอบที่ 4 รับตรงอิสระ คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ขอนแก่น เปิดรับสมัครออนไลน์ 70 ที่นั่ง ระหว่างวันที่ 3-7 มิ.ย. 64

#TCAS64 รอบที่ 4 รับตรงอิสระ คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ขอนแก่น เปิดรับสมัครออนไลน์ 70 ที่นั่ง ระหว่างวันที่ 3-7 มิ.ย. 64

วันที่รับสมัคร

03/06/2564 - 07/06/2564

สมัครผ่านทางเว็บไซต์

https://admissions.kku.ac.th/regis_app

คุณสมบัติของผู้สมัคร

- กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.6

- สำเร็จการศึกษา ม.6

- มีสัญชาติไทย

คุณสมบัติเฉพาะ

คุณสมบัติผู้สมัคร

• มีสัญชาติไทย และอาศัยอยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

• เป็นโสด อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี บริบูรณ์

• กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือสำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ (โครงสร้าง 2 และ 3) ในโรงเรียนต่างๆ ของประเทศไทย

• มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตั้งแต่ 3.25 ขึ้นไป

• มีสุขภาพ ร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม ไม่มีความพิกล พิการหรือผิดปกติทางด้านร่างกายและจิตใจ ที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การประกอบวิชาชีพพยาบาลและอื่นๆ ตามแนวทางการพิจารณาในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ ในวิชาชีพการพยาบาลของคณะพยาบาลศาสตร์

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก 
https://admissions.kku.ac.th/web/Direct/DirectDetail/1905/6

TCAS 64 จุฬาลงกรณ์ รอบที่ 4 (Direct Admission) รับสมัครวันนี้-4 มิ.ย. 64

คุณสมบัติของผู้สมัคร

- กำลังศึกษาอยู่ หรือ สำเร็จการศึกษาชั้น ม. 6 หรือ เทียบเท่า ในไทยหรือต่างประเทศ

- GPAX ตามที่กำหนด

- มีคะแนนสอบวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ หรือ ผลการทดสอบ ตามเกณฑ์ที่กำหนด ใช้ผลคะแนนย้อนหลัง ไม่เกิน 2 ปี

คณะที่เปิดรับ ดังนี้

- คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา (นานาชาติ) จำนวนรับ 25 คน 
https://pgschula.org/new-page-1

- คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมีประยุกต์ (นานาชาติ) จำนวนรับ 50 คน 
https://bsac.chemcu.org/wp-content/uploads/2021/05/Admission-announcement-2021_R3.pdf

เกณฑ์การพิจารณา

- สอบสัมภาษณ์ออนไลน์ 

การสมัคร

- สมัครผ่านเว็บไซต์ ตามเว็บไซต์ที่โครงการสมัครกำหนด
.
กำหนดการ

รับสมัคร

27 พ.ค.-04 มิ.ย. 64

รายละเอียดเพิ่มเติม
http://www.atc.chula.ac.th/TCAS/TCAS4.html


ขอบคุณที่มา : https://www.trueplookpanya.com/tcas/quotanews?id=7624&fbclid=IwAR21k8ll7Xcrs7ev1IwBaP6vF_TtEQNkp9y9wkBhD0ioGgW8sMCOLGiMKyw
 

การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประจำปี 2564 ร่วมโหวตผลงานโดนใจ "เตียงลอยน้ำจากขวดพลาสติกเพื่อผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ประสบอุทกภัย"

เตียงลอยน้ำจากขวดพลาสติก เพื่อผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ประสบอุทกภัย Floating bed made of plastic bottles for bed-bound patient in the flood area.

เตียงลอยน้ำจากขวดพลาสติกเพื่อผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ประสบอุทกภัย

แนวคิด นำขวดพลาสติกใช้แล้วทิ้ง ใส่แนวคิดเชิงออกแบบ เป็นนวัตกรรมช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่อุทกภัย

ลักษณะเฉพาะ ทำยูนิตทุ่นลอยน้ำจากขวดและตะกร้าพลาสติก รับน้ำหนักได้ตามหลักแรงลอยตัวทางฟิสิกส์

กระบวนการ นำขวดพลาสติกปิดฝาจัดวางจนเต็มตะกร้า ยึดปิดด้วยสายรัดพลาสติก จัดวางและยึดแต่ละยูนิตต่อกันตามต้องการ

ทดลองใช้และมอบสู่ชุมชน สามารถใช้งานได้จริงและปลอดภัย มอบให้ผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนปากนคร 5 ครอบครัว เตียงขนาด 3.5 ฟุต รับน้ำหนักได้ 288 กก.

การต่อยอดเชิงพาณิชย์ ทำเตียงลอยน้ำ 2 ชั้น สำหรับผู้ป่วยและผู้ดูแล โดยเตียงเสริมทำจากโครงตะแกรงเหล็ก ติดตั้งล้อเลื่อน และมีจุดเชื่อมยึดกับเตียงหลักเข้าด้วยกันเมื่ออุทกภัย ทำให้ผู้ดูแลสามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและของใช้จำเป็น ได้อย่างทันท่วงที (จดอนุสิทธิบัตร 5 มี.ค. 64)

ประโยชน์จากโครงการ

- ลดขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อม เตียง 3.5 ฟุต ลดปริมาณขวดน้ำ (600 cc) 480 ขวด ตะกร้า 40 ใบ

- ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่องค์กรและชุมชน ได้แก่ อบจ. วพบ. อสม. ปากนคร และชุมชนเกาะทวด นครศรีธรรมราช

ผู้จัดทำ

1.) นายพชร อัศวผดุงสิทธิ์ นางสาวพิชามญชุ์ อัศวผดุงสิทธิ์

2.) แพทย์หญิงเจริญตา อัศวผดุงสิทธิ์ นายแพทย์สุรเจตน์ อัศวผดุงสิทธิ์

 

ร่วมโหวตได้ ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 31 พ.ค. 64

https://kmutnb-inno.top/invention/11/atifact/70?back=%2Fvote

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม BALAC

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม BALAC (The BA Program in Language and Culture) คณะอักษรศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2564 (รอบ admission)

????????????ผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องยืนยันสิทธิ์โดยกรอกแบบฟอร์ม Google (ซึ่งจะส่งทางอีเมล) ภายในวันที่ 26 เมษายน 2564 ก่อน 12.00 น.

????????????หากผู้สมัครไม่ดำเนินการตามเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
????????????????????
https://www.arts.chula.ac.th/~balac/v2020/index.php/2021/04/23/list-of-successful-applicants-for-entry-into-the-bachelor-of-arts-in-language-and-culture-international-program-faculty-of-arts-for-the-2021-academic-year-admission-round/


ที่มา: https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=3813660668682426&id=230198280362034&sfnsn=mo
 

ข่าวดีสำหรับคนที่อยากเรียน สาย Computer Engineering ในมหาวิทยาลัยท็อประดับโลก “Carnegie Mellon University” มหาวิทยาลัย อันดับ 1 ด้าน Computer Engineering

พบกันที่งาน Open House CMKL Thailand 
เปิดรับสมัคร นักศึกษาปริญญาตรี
Bachelor of Engineering in AI & Computer Engineering (AiCE), CMKL Thailand 
เปิดโอกาสให้ นักเรียนภาคไทยและอินเตอร์ ระดับชั้น ม.4 - ม.6, Year 11 - 13 UK, GRADE 10 - 12 US  และผู้ปกครอง ที่สนใจมองหามหาวิทยาลัยที่เน้นด้านนวัตกรรม และงานวิจัย AI, Data Science, Cybersecurity มหาวิทยาลัยที่มีอุปกรณ์การเรียนรู้และงานวิจัยที่ล้ำสมัยรองรับการศึกษาของโลกยุคใหม่
แล้วพบกันในงาน Open House 
อาทิตย์ที่ 25 เม.ย. 64
เวลา 10.00 - 12.00 น.
ที่ The Newton Sixth Form (สยามสแควร์ ซอย 6)
ลงทะเบียนเข้าร่วม Open House ด่วน ที่นั่งจำนวนจำกัด!
https://share.hsforms.com/1Y09JoivMR3a4gG-8SoC53g3ietv
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Website: aice.cmkl.ac.th
Tel: 065-429-2454
Line: @thenewtonsixthform


ที่มา: https://www.facebook.com/1837277359682399/posts/3823122377764544/?sfnsn=mo


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top