Sunday, 28 May 2023
REGION

เพชรบูรณ์-กองพลทหารม้าที่ 1 ปล่อยชุดปฏิบัติการป้องกันไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์

ที่บริเวณสนามหน้าแหล่งสมาคมนายทหารค่ายพ่อขุนผาเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ พลตรีนฤทธิ์ ถาวรวงษ์ ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 1 เป็นประธานพิธีตรวจความพร้อมและปล่อยแถวชุดป้องกันไฟป่าและหมอกควัน กองพลทหารม้าที่ 1 ประจำปี 2565 โดยมี พ.ท.บุญญฤทธิ์  แจ้งแสงทอง  หัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือน กองพลทหารม้าที่ 1 กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นายอำนาจ แย้มศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์   หัวหน้าส่วนราชการ กำลังพลทหาร เข้าร่วม

พ.ท.บุญญฤทธิ์ แจ้งแสงทอง หัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือน กองพลทหารม้าที่ 1 กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ซึ่งปัจจุบันได้เริ่มเข้าสู่หน้าแล้งทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว รัฐบาลได้ให้หน่วยงานของภาครัฐ และภาคเอกชน บูรณาการร่วมกันในการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ

กองทัพบกจึงได้มอบให้หน่วยขึ้นตรงกองทัพบก ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานและส่วนราชการในการดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยใช้กำลังพลและยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่สนับสนุนการปฏิบัติอย่างเต็มขีดความสามารถ

‘มท.1’ ลงพื้นที่ ต.คลองแห รับฟังผลการดำเนินงาน “คืนคลองสวย น้ำใส ให้คลองแห จังหวัดสงขลา” พร้อมร่วมโยน EM Ball บำบัดน้ำเสีย

พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยและคณะ เดินทางมาตรวจราชการ ณ พื้นที่ อำเภอหาดใหญ่ ในกิจกรรม “คืนคลองสวย น้ำใส ให้คลองแห จังหวัดสงขลา” โดยนายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา, นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และส่วนราชการในจังหวัดสงขลา ร่วมให้การต้อนรับคณะฯ

ในการนี้พลตรี สิรภพ ศุภวานิช ผู้บัญชาการกองพลพัฒนาที่ 4 ได้ชี้แจ้งผลการปฏิบัติภารกิจและความคืบหน้าของการดำเนินการโครงการ “คืนคลองสวย น้ำใส ให้คลองแห จังหวัดสงขลา” ณ ศาลาเอนกประสงค์ วัดคลองแห ต.คลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

‘เพชรอัมพร’ คว้าสุดยอดมะขามหวาน รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565

เพชรบูรณ์ - ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ นายอำนาจ แย้มศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานในพิธีมอบถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แก่ นางแดง คำแว่น ที่ส่งมะขามพันธุ์อื่นๆ พันธุ์เพชรอัมพร เข้าประกวดในงานมะขามหวานนครบาลเพชรบูรณ์ และได้รับการคัดเลือกเป็นสุดยอดมะขามหวานเพชรบูรณ์ ประจำปี 2565 พร้อมมอบรางวัลผู้ชนะการประกวดมะขามหวานแต่ละสายพันธุ์ โดยมีนายอนันต์ ตั่นฉ้วน เกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ เกษตรกร เข้าร่วมพิธี

ทั้งนี้ จังหวัดเพชรบูรณ์จัดการประกวดมะขามหวาน ในงานมะขามหวานนครบาลเพชรบูรณ์ ประจำปี 2565 จำนวน 5 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ศรีชมภู/พันธุ์ขันตี/พันธุ์สีทอง/พันธุ์ประกายทอง และพันธุ์อื่นๆ และนำมะขามหวาน 5 สายพันธุ์ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ มาคัดเลือก เป็นสุดยอดมะขามหวานเพชรบูรณ์ ประจำปี 2565 และได้ลงพื้นที่สวนที่ได้รับรางวัลเก็บคะแนน โดยจะต้องมี หลักเกณฑ์เป็นสวนที่มีการปลูกตั้งแต่ 5 ไร่ขึ้นไป และขึ้นทะเบียนเกษตรกร มีการบริหารจัดการสวนสร้างองค์ความรู้ที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน สามารถพัฒนาเป็นเกษตรกรต้นแบบสวนมะขามสามารถเผยแพร่ขยายผลให้แก่สาธารณชนได้ ซึ่งผลการคัดเลือก ได้คัดมะขามหวานพันธุ์เพชรอัมพร ของนางแดง คำแว่น ชนะเลิศเป็นสุดยอดมะขามหวานเพชรบูรณ์ ประจำปี 2565 รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท

‘ศรชล.ภาค 1’ โดย ศรชล.จว.เพชรบุรี สร้างความรู้ให้ชุมชน เรื่องกฎหมายในทะเล

เพชรบุรี - ..จีระ มิตรดี รองผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล หรือ ศรชล.จังหวัดเพชรบุรีได้ให้การต้อนรับ คุณ คงขวัญ กลิ่นใจ ผู้ดำเนินรายการ “ท่องชายฝั่ง ฟังเรื่องเด่น” ทาง สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย คลื่นความถี่ Fm 99.75 mhz ช่วงเวลา 15.10 – 16.00 . ตั้งแต่วันจันทร์ ถึง วันศุกร์

โดย คุณคงขวัญ กลิ่นใจ ได้ขอเข้าสัมภาษณ์ รอง ผอ.ศรชล.พบ. ในฐานะตัวแทน ผวจ.พบ./ผอ.ศรชล.จว.พบ. เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ ภารกิจ และการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ที่ประกอบอาชีพ เกี่ยวกับกิจกรรมทางทะเล ใน จว.เพชรบุรี เพื่อนำไปออกในรายการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์ ให้กับพี่น้องประชาชน ในการประกอบอาชีพ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ไม่ทำผิดกฎหมายทางทะเล โดยขาดเจตนา หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์

รวมพลังจิตอาสา!! ‘มทบ.28 - ร.8 พัน.1 - คณะ พสบ.ทภ.2 – ภาคเอกชน’ ช่วยประชา ในโครงการ ‘กองทัพบก สร้างบ้านแห่งน้ำใจ ถวายเป็นพระราชกุศล’

เลย – ที่บริเวณ บ.นาโม้ หมู่ 2 .หาดคำภีร์ อ.ปากชม จ.เลย มณฑลทหารบกที่ 28 (มทบ.28) กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 8 (.8 พัน 1) จับมือกับคณะหลักสูตรพัฒนาสัมพันธ์ระดับผู้บริหาร กองทัพภาคที่ 2 รุ่นที่ 2 และภาคเอกชน จัดพิธีมอบบ้านและห้องน้ำตามโครงการ ‘กองทัพบกสร้างบ้านแห่งน้ำใจ’ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ที่ผ่านมา ให้แก่นายสมหมาย ศรีอินทร์ ชาวบ้าน บ.นาโม้ หมู่ 2 .หาดคำภีร์ อ.ปากชม จ.เลย ซึ่งเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุอัคคีภัย ทำให้บ้านพักอาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลัง

จากเหตุการณ์ดังกล่าว หน่วยทหารในค่ายศรีสองรัก จึงได้ผนึกกำลังร่วมกันจัดกำลังพลชุดช่างเข้าช่วยเหลือตามนโยบายกองทัพบก ในการดูแลประชาชน จนดำเนินการแล้วเสร็จและส่งมอบในวันนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนคนไทยบนผืนแผ่นดินไทย ให้กับผู้ยากไร้ ที่มีโอกาสน้อยทางสังคมให้ได้มีกำลังใจลุกขึ้นมาต่อสู้อีกครั้งด้วยแสงแห่งความหวัง แทนความห่วงใยจากกองทัพบก

‘พรรคประชาชาติ’ ไม่ทิ้งประชาชนประสบอุทกภัย ลั่น!! ประชาชน คือ ประชาชาติ พร้อมเปิดตัวผู้สมัครในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

นราธิวาส - พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเลขาธิการพรรคประชาชาติ พร้อมด้วย นายอับดุลอายี สาแม็ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต.3 จังหวัดยะลา นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต.4 จังหวัดปัตตานี นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต.4 จังหวัดนราธิวาส และคณะ เดินทางลงพื้นที่เยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดนราธิวาส พร้อมหารือแนวทางช่วยเหลือฟื้นฟูทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย โดยคณะได้เยี่ยมชาวประมงที่เรือประมงถูกน้ำหลากซัดออกทะเลที่หาดเสด็จตาบา ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ ต่อด้วยเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยประมาณ 100 คน ที่บ้านปูโป๊ ะ ต.มูโน๊ะ อ.สุไหงโกลก และเยี่ยมศูนย์ พักพิงชั่วคราวผู้ประสบภัยน้ำท่วม มีผู้อพยพประมาณ 150 คน ที่ รร.ดารุลฟุรกอน ต.มูโน๊ะ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ทั้งนี้ ในช่วงเย็นได้เดินทางเยี่ยมศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้ประสบภัยน้ำท่วม มีผู้ประสบภัยประมาณ 600 คน ที่ รร.ศึกษาสงเคราะห์ ต.โล๊ะจูด อ.แว้ง และเยี่ยมครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุน้ำท่วม ที่ ต.สากออ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส

นอกจากนี้พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเลขาธิการพรรคประชาชาติ ยังมีการลงพื้นที่ต่อเนื่องใน วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2565 ลงพื้นที่ เยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่วัดลำภู อ.เมืองจ.นราธิวาส และในพื้นที่จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานีอีกด้วย

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเลขาธิการพรรคประชาชาติ กล่าวว่า คณะประชาชาติได้มาเยี่ยมให้กำลังใจ และหาแนวทางช่วยเหลือผู้ที่ประสบ อุทกภัยในสามจังหวัด โดยเริ่มต้นที่จังหวัดนราธิวาสก่อน เป็นจุดที่เกิดการสูญเสียมากที่สุด อย่างเรือประมงที่ออกหาปลาต้องโดนพายุซัดเกิดการเสียชีวิตและเรือจม 2 - 3 ลำ ก็ร่วมทำการกู้โดยต้องขอความช่วยเหลือจากกองทัพเรือให้มาช่วยเหลือเพราะความลำบากต่อการค้นหา สิ่งสำคัญอาชีพประมงเกิดชะตากรรมที่ไม่ใช่ชะตากรรมของความขยัน เป็นชะตากรรมที่รัฐกำหนดให้ ที่รัฐมาจัดระเบียบการประมง ทำให้ชาวประมงใช้ระเบียบที่ไม่เป็นธรรม ใช้กฎหมายที่อยู่เหนือกว่าเป็นธรรม จึงทำให้ประมงพาณิชย์ประมงชายฝั่ง และประมงพื้นบ้านได้รับผลกระทบอย่างทั่วถึง แม้รัฐจะปรับเพดานลงแต่กฎหมายยังอยู่ ซึ่งพรรคการเมืองทุกฝ่ายกำลังนำเสนอแก้อยู่ ในส่วนของพรรคประชาชาติเอาร่างกฎหมายที่แก้แล้วให้ประชาชนดูว่าความสมดุลระหว่างประมงพื้นบ้านที่หาดนราทัศน์ หรือประมงทั้งหมด คือกฎหมายจะต้องให้เกิดความยุติธรรมกับทุกคนและทุกสิ่ง

เลขาพรรคประชาชาติ ยังได้บอกอีกว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้เรามีต้นทุนที่ยิ่งใหญ่มากคือเป็นจังหวัดชายแดน เราจะต้องพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เหนือกว่าประเทศเพื่อนบ้านแต่ในช่วงหลังนี้ทางรัฐได้หลงลืมโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และในช่วงประสบอุทกภัยอยากจะวิงวอนรัฐบาลเมื่อเรามาประสบกับโรคระบาดโควิด-19 และอุทกภัยต่างๆ สิ่งที่รัฐบาลจะทำได้คือการเข้ามาช่วยเหลือเยียวยาหรือเข้ามาฟื้นฟู ให้ประชาชนมีคุณภาพที่ดียืนอยู่ได้ และการส่งเสริมสนับสนุนคุณเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ ถ้าหากเค้าคิดจะทำอะไรอยู่แล้วก็ควรส่งเสริมขยายอำนาจให้เขา ไม่ควรจะขยายอำนาจมาครอบงำจนไม่สามารถจะทำอะไรได้ นายกเคยพูดว่าถ้ามีปัญหา ไม่ต้องไปบอกกับนายกฯแต่ให้บอกกับข้าราชการอันนี้เป็นความคิดที่ผิด ถ้าหากมีปัญหาควรให้ชุมชนท้องถิ่นเค้ายืนได้ด้วยตัวเองช่วยเหลือตัวเองได้ไม่ยังงั้นรัฐก็เข้าไปอำนาจเอาทรัพยากร เข้าไปเอางบประมาณไว้หมด ไม่ได้กระจายงบประมาณเข้ามาในท้องถิ่น ส่วนข้าราชการที่มาก็เป็นตัวแทนของส่วนกลางและวิธีคิดของรัฐบาลกับวิธีคิดของประชาชนจะต่างกันไป

‘ทหารพราน’ ยึดยาบ้าและยาอีหลากสีเกือบ 2.3 ล้านเม็ด มูลค่ากว่า100 ล. ริมแม่น้ำโขง

เมื่อ 2 มีนาคม 65 ที่หน้าหอประชุมประจักษศิลปาคม ศาลากลางจังหวัดหนองคาย นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ,พล...พุฒิพงศ์ มุสิกูล ผบก..จว.หนองคาย ,..มงคล หอทอง รองผู้บัญชาการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงข่าวการตรวจยึดยาบ้า จำนวน 2,286,000 เม็ด ยาอีหลากสี จำนวน 23,867 เม็ด และระบุชนิดไม่ได้ จำนวน 1,540 เม็ด มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท ที่เจ้าหน้าที่ร่วมกันตรวจยึดได้ที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ปากน้ำเปบ้านน้ำเป ตำบลรัตนวาปี อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย

สืบเนื่องจาก ร..วิทยา สิงห์อร ผู้บังคับกองร้อยทหารพรานที่ 2105 ได้รับแจ้งจากสายว่าในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ - ต้นเดือนมีนาคม 2565 จะมีการลักลอบนำยาเสพติดจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศ ที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ปากน้ำเป บ้านน้ำเป ตำบลรัตนวาปี อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย จึงได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทราบ พ..จักรพงษ์ โพธิ์นาแค ผู้บังคับกองบังคับการควบคุมที่ 2 จึงได้ให้ กรมทหารพรานที่ 21 จัดกำลังของกองร้อยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 2105 และสนธิกำลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันลาดตระเวนเฝ้าตรวจบริเวณริมฝั่งโขงและดักซุ่มใกล้จุดที่ได้รับแจ้ง

‘เทศมนตรีหัวหิน’ เจ๋ง!! คว้ารางวัลชนะเลิศดีเด่น ระดับประเทศ ทีมผู้ก่อการดี ป้องกันการจมน้ำ จากนายกตู่

(4 มี..65) ประจวบคีรีขันธ์ - ที่ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร กระทรวงสาธารณสุข, นายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองหัวหิน เข้ารับโล่เกียรติคุณ “ชนะเลิศระดับทอง (ดีเด่น)” ทีมผู้ก่อการดี ป้องกันการจมน้ำ” (MERIT MAKER) ระดับประเทศ ประจำปี 2564 จากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นผู้มอบรางวัลและกล่าวแสดงความยินดี พร้อมกันนี้ นายพงษ์ดนัย เทพวนิลกร หัวหน้าหน่วยกู้ภัยสว่างหัวหินธรรมสถาน ได้นำผลงานที่คว้ารางวัลชนะเลิศในครั้งนี้มาร่วมจัดแสดงด้วย

นายอนุทิน กล่าวว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับเด็ก 3 เรื่องหลัก คือ ว่ายน้ำเป็น ลอยตัวในน้ำหรือรอให้คนมาช่วยได้ การออกกำลังกายและการเรียน 2 ภาษา โดยเรื่องป้องกันการจมน้ำ สธ.ดำเนินงานตามมติสหประชาชาติร่วมมือกับหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ ดำเนินงานป้องกันการจมน้ำและสร้างทีม “ผู้ก่อการดี ป้องกันการจมน้ำ” (MERIT MAKER) ซึ่งช่วยลดการจมน้ำเสียชีวิตของเด็กได้ร้อยละ 56 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จากเดิมเด็กจมน้ำเสียชีวิตปีละ 1,500 คน เหลือ 658 คนในปี 2564 เรามีเครือข่ายฝึกฝนดูแลอบรมเด็กเล็กทั้งในโรงเรียนหรือตามสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งรูปแบบการช่วยเหลือมีแต่ต้องให้ประชาชนใส่ใจกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เพราะถึงเวลาเราคงอ่านศึกษาไม่ทัน จากการครองสติต่างๆ จึงต้องมีการศึกษาการช่วยเหลือหรือเอาตัวรอดจากเหตุฉุกเฉินก่อน ซึ่งจะให้กรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมสุขภาพจิต ทำการสื่อสารสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนว่าการจะไปเที่ยวที่ไหนหรือไปไหนก็ตาม ให้มองเรื่องความปลอดภัย สอดส่องว่าหากมีเหตุฉุกเฉินจะทำอย่างไร ประตูทางออกฉุกเฉิน อุปกรณ์ช่วยชีวิตอยู่ที่ไหน เช่น ชูชีพในเรือ ค้อนทุบกระจกในรถ หลักเดียวกับการออกจากบ้านที่เราพกยาดมยาหม่อง เจลแอลกอฮอล์ หรือเรื่องของภูมิปัญญาการช่วยการจมน้ำ เช่น หากไม่มีชูชีพก็สามารถหาขวดมาเย็บรวมกันเพื่อทำตัวช่วยลอยน้ำก่อนได้ เป็นต้น

‘องคมนตรี’ ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ‘ด้านการผลิตครู - การยกระดับการศึกษา - การพัฒนา Soft Skill’ ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม

พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี เดินทางตรวจเยี่ยมการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ พร้อมร่วมรับฟังการสรุปงานด้านการผลิตและพัฒนาครู การยกระดับคุณภาพการศึกษาของทุกคณะ โครงการพัฒนา Soft Skill ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม การพบผู้แทนนักศึกษาร่วมรับฟังเสียงสะท้อนด้านการจัดการเรียนการสอน เพื่อน้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สู่การลงมือปฏิบัติจริง ตลอดพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่น และให้ความร่วมมือกับจังหวัดอย่างแน่นเฟ้น เพื่อขับเคลื่อนฟื้นฟูผลกระทบด้านต่างๆ กระตุ้นเศรษฐกิจและการสร้างความสามัคคี

โดยได้บูรณาการเข้ากับการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างให้ประชาชนในท้องถิ่นมีความพร้อมต่อการพัฒนาตนเองและขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยมี นายสุทธิพงษ์ คล้ายอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายวิชัย ศรีขวัญ นายกสภามหาวิทยาลัย ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคใต้ 4 แห่ง ผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ให้การต้อนรับและร่วมประชุม เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 ณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ในโอกาสนี้ พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ได้ร่วมรับฟังการบรรยายสรุปในหัวข้อยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและการพัฒนาครูของคณะครุศาสตร์ ในประเด็นการจัดการเรียนการสอน การยกระดับคุณภาพการศึกษา การวิเคราะห์ SWOT ของคณะครุศาสตร์ ซึ่งคณะครุศาสตร์ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการเน้นผลิตบัณฑิตครูและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาที่มีความเป็นเลิศในวิชาชีพและสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นสู่มาตรฐานสากลสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีคุณภาพให้เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของสังคมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

อาชีวศึกษาเชียงใหม่ จัดนิทรรศการวิชาการ "ร้อยหัตถาบูรณาการสานสู่วิชาชีพ"

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่  จัดงานวันวิชาการ "ร้อยหัตถาบูรณาการสานสู่วิชาชีพ" ครั้งที่ 12โดยมีนายวีระพันธ์  ดีอ่อน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดงาน  นายสมบัติ นาหลวง ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ กล่าวรายงาน ณ บริเวณหน้าอาคาร 7 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ มีแขกผู้มีเกียรติ คณะครู และนักเรียน นักศึกษา ร่วมงาน

นายวีระพันธ์ ดีอ่อน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า งานวันวิชาการ "ร้อยหัตถาบูรณาการสานสู่วิชาชีพ"ครั้งที่ 12 เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา ได้แสดงผลงาน ถือว่ามีความสำคัญในการส่งเสริมให้มีเจตคติต่ออาชีพ มีความมั่นใจและภาคภูมิใจในตนเองต่อการเรียนสายวิชาชีพ การจัดทำโครงงานการสร้างและพัฒนาผลงานโดยบูรณาการความรู้ทักษะจากศาสตร์ต่าง ๆ ในสาขาวิชาชีพที่ศึกษา ตามกระบวนการด้วยความรับผิดชอบ มีวินัย มีคุณธรรม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ขยัน อดทน สามารถทำงานเป็นรายบุคคลหรือทำงานเป็นกลุ่มให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด อีกทั้งสามารถนำเสนอผลงานด้วยรูปแบบต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดงานวันวิชาการ "ร้อยหัตถาบูรณาการสานสู่วิชาชีพ" ครั้งที่ 12 จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณภาพ

นายสมบัติ นาหลวง ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ กล่าวว่าการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มุ่งเน้นการปฏิบัติจริง และจัดการเรียนการสอนได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและวิธีการดำเนินงาน มีทักษะการปฏิบัติงานตามแบบแผนในขอบเขตสำคัญและบริบทต่างๆ ที่ต้องใช้การตัดสินใจ การวางแผน การแก้ไขปัญหาและการปฏิบัติงานในบริบทใหม่ๆ รวมทั้งรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติและกิจนิสัยที่เหมาะสมในการทำงาน

มทบ.32​ ร่วมฟังเทศน์มหาชาติ บุญตั้งธรรมหลวงเวียงละกอนฯ 

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 เวลา 13.00 น. พลตรีอโณทัย​ ชัยมงคล​ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32 มอบหมายให้ พันเอกวิชาญ ศรีภัทรางกูร รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32 ร่วมพิธีเปิดโครงการตั้งธรรมหลวงเวียงละกอน จังหวัดลำปาง (เทศน์มหาชาติ) ครั้งที่ 18 ประจำปีงบประมาณ 2565 ระหว่างวันที่ 3 - 4 มีนาคม 2565 ณ อาคารหอประชุมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง  ซึ่งจัดโดยจังหวัดลำปาง ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดลำปาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง  พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานและอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาของบรรพชน ในการทำบุญตั้งธรรมหลวง ให้เป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลัง ภายในงานมีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาประกอบด้วย พิธีอาราธนาพระอุปคุต การแสดงพระธรรมเทศนา “เทศน์มหาชาติ” กิจกรรมส่งเสริมองค์ความรู้ด้านศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตชาวล้านนาที่สำคัญ  

อบจ. พระนครศรีอยุธยา รับโล่ห์ผ่านการประเมินการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วันที่ 3 มีนาคม ที่โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชัน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร นายทวี เสริมภักดีกุลรองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธานพิธีเปิดการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและประโยชน์สุขของภูมิภาค กรณีศึกษาภาคกลางตะวันตกและพร้อมมอบโล่รางวัลให้กับองค์กรปกครองท้องถิ่นที่ผ่านการประเมินการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระดับเข้าถึง เป็นองค์กรแห่งประโยชน์สุข โดยโดยนางสมทรง พันธ์เจริญวรกุล  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการพร้อมรับโล่ห์ผ่านการประเมินการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระดับเข้าถึง เป็นองค์กรแห่งประโยชน์สุข

เทศบาลตำบลศรีบัวบาน ร่วม มูลนิธิพระพุทธสันติธรรม และ มูลนิธิสุทธาธรรมสถาน มอบเตียงสนามกระดาษ จำนวน 50 เตียง เพื่อใช้ในศูนย์ CI

ลำพูน - เทศบาลตำบลศรีบัวบาน ร่วมกับ มูลนิธิพระพุทธสันติธรรม และมูลนิธิสุทธาธรรมสถาน มอบเตียงสนามกระดาษ จำนวน 50 เตียง เพื่อใช้ในศูนย์ CI อำเภอเมืองลำพูน

ที่ศูนย์พักคอยและแยกกักตัวในชุมชน หรือ Community Isolation : CI เทศบาลตำบลศรีบัวบาน ค่ายลูกเสือหริภุญไชย ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน นายจรูญ คำปันนา นายกเทศมนตรีตำบลศรีบัวบาน ร่วมกับ นายอนุกูล ชวพงศ์ ผู้แทนมูลนิธิพระพุทธสันติธรรม และมูลนิธิสุทธาธรรมสถาน ผู้แทน บริษัท SCG จำกัด พร้อมด้วยคณะทำงาน ร่วมมอบเตียงสนามกระดาษ จำนวน 50 เตียง โดยได้รับการประสานงานของเทศบาลตำบลศรีบัวบาน โดยได้รับเกียรติจากนายโยธิน ประสงค์ความดี นายอำเภอเมืองลำพูน เป็นผู้รับมอบ โดยมี สาธารณสุขอำเภอ(สสอ.)เมืองลำพูน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (.อบจ.) ลำพูน เขตอำเภอเมืองลำพูน, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาเทศบาล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

"นิพนธ์" ลงพื้นที่ มอบนโยบายเร่งรัดขจัดความยากจนภาคใต้ ชงจังหวัดจับมือ อปท.ปรับแผนดันงบประมาณ กระจายทรัพยากรแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

วันนี้ 3 มีนาคม 2565  ที่โรงแรม บุรีศรีภู คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา  นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมพิธีเปิดและมอบนโยบายและแนวทางขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในระดับพื้นที่  โดยมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีทุกกรมในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงมหาดไทย ข้าราชการในสังกัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนในพื้นที่ ฯลฯ เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย

โดยกระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อซักซ้อมแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในระดับพื้นที่  เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดทำฐานข้อมูล การบันทึกข้อมูล และการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนทั่วประเทศในทุกมิติได้อย่างแท้จริง

นายนิพนธ์ กล่าวว่า กับดักความยากจนคือกลไกซ้ำเติมที่ทำให้คนจนลืมตาอ้าปากได้ยาก ภารกิจนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายความสามารถ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีข้อจำกัดในเรื่องของงบประมาณ ทั้งยังต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับเงื่อนเวลา ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินการดังกล่าว รัฐบาล กระทรวงมหาดไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาโดยตลอด ทั้งนี้ ที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยได้เร่งรัดแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผ่านกลไกของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน ซึ่งได้บูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของกระทรวงมหาดไทยก็มีการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการดำเนินงานตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ จนลงไปสู่ท้องที่ท้องถิ่น เพื่อขับเคลื่อนและหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน 

ตนมองว่า ในการแก้ไขปัญหาขจัดความยากจน ลดความความเหลื่อมล้ำให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมได้นั้น ท้องถิ่นท้องที่เป็นกลไกสำคัญของกระทรวงมหาดไทยที่ต้อง“บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่พี่น้องประชาชน หากมีการบูรณาการการทำงานร่วมกัน จังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัด อำเภอโดยนายอำเภอ สามารถประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ได้ อาจจะใช้โอกาสการประชุมประจำเดือน หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นวาระพิเศษ ในการพูดคุย ปรับแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้สัดส่วนงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งสัดส่วนโครงสร้างมาดูแลในส่วนนี้ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และนโยบายการขจัดปัญหาความยากจน ซึ่งในปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยได้มีการแก้ไขกฎหมายหลายๆ ฉบับ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความคล่องตัวในการดูแลพี่น้องประชาชนมากขึ้น เชื่อว่าจะทำให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น

นายนิพนธ์ กล่าวต่อไปอีกว่า ตนในฐานะประธานคณะทำงานช่วยอำนวยการพิจารณากลั่นกรองแผนงานโครงการ อ.ก.บ.ภ. ภาคใต้และภาคใต้ชายแดน  ทราบดีว่างบประมาณที่ได้รับการจัดสรรลงมานั้น ได้รับการจัดสรรลงมาอย่างจำกัด ทั้งนี้ ในส่วนของงบพื้นที่หรืองบประมาณบริหารจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ งบฟังก์ชันของกระทรวงต่างๆ เชื่อว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถบริหารได้ แต่สิ่งที่อยากเน้นย้ำ คือ การประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วางแผนร่วมกันในการดึงงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกมาใช้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด ซึ่งหากสามารถนำงบประมาณในส่วนนี้มาปรับใช้ได้อย่างทันท่วงที ก็จะเป็นนิมิตหมายใหม่ในการพัฒนาประเทศต่อไป

นายนิพนธ์ กล่าวต่อว่า ตนเชื่อว่าไม่ใช่เฉพาะพื้นที่ภาคใต้ที่ควรให้ความสำคัญและเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหา หากแต่ควรเกิดขึ้นในทุกๆ ภูมิภาคของประเทศ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องนี้แต่อย่างใด และพร้อมดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เน้นย้ำการลงพื้นที่ไปคลุกคลีกับชาวบ้านเรื่องเรื่องสำคัญ เพราะถือเป็นจุดเชื่อมระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับพี่น้องประชาชน หากสามารถรับสารจากพื้นที่ขึ้นมาแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ก็จะเกิดเป็นผลรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เพราะการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว นอกจากจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยแล้วนั้น ยังเป็นการช่วยสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนในพื้นที่และสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย 

ลำปาง-มทบ.32​ ให้การต้อนรับ​ จก.กร.ทบ. เยี่ยมชมศูนย์บัญชาการควบคุมไฟป่าส่วนหน้า (อำเภอแม่ทะ)

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 เวลา 09.00 น. พลตรีอโณทัย ชัยมงคล ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32  และคณะผู้บังคับบัญชา  ให้การต้อนรับ พลโทนิรันดร  ศรีคชา เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารบก/หัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือน ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก พร้อมคณะทำงานฯ  และผู้แทน WANG โอกาสเดินทางเยี่ยมชมศูนย์บัญชาการควบคุมไฟป่าส่วนหน้า (อำเภอแม่ทะ) จังหวัดลำปาง พร้อมปิดการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญด้านการดับไฟป่าระหว่างกองทัพบกกับกองทัพบกสหรัฐอเมริกา Bush Fire SMEE 2022 ในพื้นที่กองทัพภาคที่ 3  

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความห่วงใยของกองทัพบกในสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ ที่จำเป็นต้องบูรณาการและทุ่มเททั้งกำลังใจ กำลังกาย ยุทโธปกรณ์ต่างๆ ร่วมกัน ทุกภาคส่วนให้สามารถ ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลดี ลดการเกิดไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี มีอากาศที่สดใส และเพื่อให้ลำปางไร้ปัญหาไฟป่าหมอกควันต่อไป    


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top