Saturday, 12 October 2024
NEWSFEED

14 ตัวสุดท้าย!! ‘โลมาอิรวดี’ แห่งทะเลสาบสงขลา นับถอยหลังสู่วันสูญพันธุ์

จากกรณีที่ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขียนในเฟซบุ๊กระบุว่า ทะเลสาบสงขลาคือสถานที่แห่งแรกในโลกที่โลมาอิรวดีในน้ำจืดจะสูญพันธุ์ โดยขณะนี้เหลืออยู่เพียง 14 ตัว จากเดิมที่เคยมีอยู่ 100 กว่าตัว โลกนี้มีโลมาอิรวดีอยู่ในน้ำจืดเพียง 5 แห่ง อินเดีย 140 ตัว อินโดนีเซีย 90 ตัว พม่า 80 ตัว กัมพูชา 90 ตัว และไทย 14 ตัว

"ทะเลสาบสงขลาคือสถานที่แห่งแรกในโลกที่โลมาอิรวดีในน้ำจืดจะสูญพันธุ์ มันไม่มีอะไรจะเถียงได้ด้วยตัวเลขที่เห็น เพื่อนธรณ์บางคนอาจบอกว่า ลาวสูญพันธุ์ไปก่อนแล้วนะ ดร.ก้องเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญสัตว์ทะเลหายากของไทย อธิบายให้ผมฟัง ประชากรโลมาในแม่น้ำโขงของลาว/กัมพูชา เป็นกลุ่มเดียวกัน ว่ายไปว่ายมา หากเราอนุรักษ์ในกัมพูชาไว้ได้ ในอนาคตยังมีหวังที่โลมาจะกลับเข้าไปในลาว ผิดจากทะเลสาบสงขลา ผิดกันที่ว่า ของเราจบแล้ว…จบเลย ไม่มีมาจากไหนอีก ปิดฉากสุดท้ายของประวัติศาสตร์ 6,000 ปี"

ผศ.ดร.ธรณ์ ระบุว่า อะไรคือ 6 พันปี นานมาแล้ว ระดับน้ำทะเลในแถบนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ จนสูงสุดเมื่อ 6 พันปีก่อน โลมาอิรวดี สัตว์เฉพาะเขตอินโดแปซิฟิก หากินตามชายฝั่งไปทั่ว โลมาฝูงหนึ่งเข้ามาอยู่ในทะเลเหนือแผ่นดินพัทลุง/สงขลา ระดับน้ำทะเลเริ่มลดต่ำลง จนทะเลกลายเป็นทะเลสาบ เหลือเพียงช่องแคบๆ ที่ยังเชื่อมต่ออยู่กับทะเลข้างนอก แต่โลมายังมีความสุขอยู่ในทะเลสาบที่นี่ไม่มีผู้ล่าลูกๆ ของพวกเธอ ยังมีปลากินเยอะแยะเลย ทะเลสาบสงขลาในสมัยก่อนที่สมบูรณ์สุดขีด โลมาออกลูกหลานจนเป็นร้อยๆ ตัว แล้วมนุษย์ก็เข้ามา สมัยก่อน ความต้องการไม่มาก โลมายังมีความสุข พวกเธอว่ายไล่เลาะเลียบเรือลำน้อยของชาวประมง เราอยู่ด้วยกันได้ ทว่า…คนมีมากขึ้น จับปลามากขึ้น

‘อุ๊ กรุงสยาม’ ยกพระเครื่องไทย อีกหนึ่ง Soft Power ต่างชาติตอบรับ สร้างมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทต่อปี

นายวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ หรือ ‘อุ๊ กรุงสยาม’ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บ้านใหม่ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โพสต์เฟซบุ๊กกล่าวถึง ‘พระเครื่อง’ คือ Soft Power อีกอย่างของไทย ที่คนจีน, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ฮ่องกง สนใจและคนไทยจำนวนมากทั่วประเทศ มีมูลค่าการตลาดหลายหมื่นล้านบาทต่อปี

การสักยันต์ ฝรั่งชอบ แม้แต่แองเจลลิน่า โจลี่ ยังสักยันต์กับอาจารย์หนู

ฮ่องกง, จีน, มาเลย์, สิงคโปร์ มีศูนย์พระเครื่องไทยมานานหลายปีแล้ว

พระเกจิไทย รวมถึงฆราวาสที่ดูทรงแบบขลังๆ ไทย เดินสายไปทำมาหากินในต่างประเทศนำเงินเข้ามาปีละไม่น้อย

คนจีน มาไลฟ์สดขายพระผ่าน โซเชี่ยล ของจีน แล้วรับออเดอร์กันสดๆ รวมถึงพิธีปลุกเสกพระใหม่ ให้คนจีนได้ชมกันสดๆ พระใหม่วันนี้ ต้องทำโบรชัวร์ภาษาจีนกันแล้ว

คนจีน มาเปิดศูนย์พระเครื่องในไทยกันบนพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วานกันเป็นปี

‘ญี่ปุ่น’ พัฒนา 'ตะเกียบเสริมเค็ม' ตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพ ลดโซเดียมก็อร่อยได้

หลังจากพัฒนาจอทีวีรับรสไปแล้ว นักวิจัยชาวญี่ปุ่นคนนี้ยังได้คิดค้นตะเกียบเสริมรสเค็ม หวังช่วยคนลดโซเดียม

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ศาสตราจารย์โฮเมอิ มิยาชิตะ จากมหาวิทยาลัยเมจิ ประเทศญี่ปุ่น ได้พัฒนาตะเกียบไฟฟ้าที่ช่วยเสริมรสชาติเค็ม เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดการบริโภคโซเดียมแต่อาหารยังคงมีรสเค็มอยู่

ซึ่งนับว่าตอบโจทย์ชาวญี่ปุ่นที่มักบริโภคอาหารรสเค็ม โดยเฉลี่ยแล้วผู้ใหญ่ชาวญี่ปุ่นบริโภคเกลือประมาณ 10 กรัมต่อวัน ซึ่งมากกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำถึง 2 เท่า

การบริโภคโซเดียมที่มากเกินไปเป็นสาเหตุหนึ่งของความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ เพื่อป้องกันโรคเหล่านี้จึงจำเป็นต้องลดปริมาณเกลือที่เราบริโภคลง แต่การทำเช่นนั้นทำให้เราต้องทนกินอาหารที่ไม่อร่อย หรือรสชาติไม่ถูกปาก

แก่นแห่ง Soft Power ไม่ใช่แค่สร้าง 'ความนิยม-การเผยแพร่เสน่ห์วัฒนธรรม' แต่ 'ทั้งสอง' ต้องเป็นส่วนหนึ่งของ Soft Power

ดร.ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์ นักวิจัยด้านอุตสาหกรรมบันเทิงระหว่างประเทศ วัฒนธรรม และความมั่นคงร่วมสมัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กเกี่ยวกับกระแส Soft Power ในขณะนี้ไว้ ว่า...

ตั้งใจจะโพสต์เรื่องนี้นานแล้ว ไม่ใช่เพราะเกิดกระแสอะไรบางอย่างแล้วโพสต์ตามกระแสครับ

soft power ไม่ใช่การสร้างความนิยม

soft power ไม่ใช่การเผยแพร่เสน่ห์วัฒนธรรม

แต่ทั้งความนิยมกับเสน่ห์วัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของ soft power ซึ่งหมายถึงอำนาจการโน้มน้าวแบบหนึ่ง soft power มุ่งการสร้างเครือข่ายเพื่อผลประโยชน์ขนาดใหญ่

จะเข้าใจคำนี้ ต้องย้อนกลับไปดูคำอธิบายของ Nye แต่ถ้าจะรู้เท่าทันคำนี้ ต้องคิดให้ไกลกว่า Nye แม้ Nye เสนอคำอธิบายก็จริง แต่ไม่ใช่คนที่หาวิธีสร้าง soft power ตรงกันข้าม soft power ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติมานาน Nye เพียงเอ่ยมันในรูปทฤษฎีเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ (หมายถึงสหรัฐฯ) กระทั่งคำ soft power เองก็เป็น soft power อย่างหนึ่ง ด้วยทำให้สังคมโลกเข้าใจผิดว่า มันคืออำนาจแห่งความสร้างสรรค์ ทั้งที่จริงมันเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการเมืองโลก รศ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล เคยบอกว่า อย่าหลงทางกับคำว่า soft แต่ต้องสนใจคำว่า power เนื่องจากมันคือคำหลักเหมือนใน hard power ไม่ว่าจะ soft หรือ hard มันก็คือการทำให้อีกฝ่ายสมยอม

5 คดี 'ที่ดิน' หลุมดำชีวิตนักการเมือง  

✨ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี  
•คดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษก 
•โทษจำคุก 2 ปี (หนีคดีไปต่างประเทศ)

✨วัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย
•คดีทุจริตจัดซื้อที่ดิน อ.คลองด่าน จ.สมุทรปราการ 
•โทษจำคุก 10 ปี (หนีคดีไปต่างประเทศ)

✨ยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีตรองนายกฯ และอดีต รมว.มหาดไทย
•ใช้อำนาจโดยมิชอบ เพิกถอนคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน เพื่อช่วยเหลือบริษัท อัลไพน์ เรียลเอสเตท จำกัด และผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
•โทษจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา

ใครก็อยากสาด 'ดาราไทย' ที่ด้อมอยากสาดน้ำด้วย แห่งปี 65

ใกล้ถึงเทศกาลวันสงกรานต์ ที่ใครหลายๆ คิดถึง ในปี 2565 ทางกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็น เรื่อง ความคิดถึง วันวาน สงกรานต์ โดยดาราคนบันเทิง ที่คนอยากเล่นน้ำสงกรานต์ด้วย อันดับหนึ่งฝ่ายหญิง ยังเป็น อั้ม พัชราภา ขณะที่ฝ่ายชาย เป็น ณเดชน์ คูกิมิยะ

โดยผลสำรวจ 5 อันดับแรก ฝ่ายหญิง ประกอบด้วย

อันดับ 1 ซุปตาร์ตัวแม่ ‘อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ’ 21.3%
อันดับ 2 ‘เบลล่า ราณี แคมเปน’ 10.6%
อันดับ 3 ‘ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์’ 10.1%
อันดับ 4 ‘ลิซ่า ลลิษา มโนบาล’ 5.1%
อันดับ 5 ‘ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์’ 4.5%

เกาะยอในความทรงจำ (๓)

นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว นักเขียนเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงความทรงจำเมื่อครั้งทำงานเก็บข้อมูลชีวิตชาวบ้านที่เกาะยอ จังหวัดสงขลา ว่า...

#ผักกาดดองกับยายเลี่ยนเห้ง เก้าลิ่ม
ยายเล่าไว้เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๔

เมื่อก่อนคนแก่เกาะยอโดยเฉพาะแถบบ้านท้ายเสาะจะปลูกผักกาดกันมากทั้งผักกาดเขียวปลี ผักคะน้า ผักชายคิ้ม (ผักกวางตุ้ง) ผักกาดเขียวปลีเอามาดองขายได้ เกาะยอเคยมีชื่อทางทำผักกาดดองขาย แต่เมื่อราว ๕๐ ปีมานี้ชาวบ้านหันไปปลูกสวา (ละมุด) กันมาก เลยเลิกปลูกผักกาดไป 

ผักกาดดองและแตงดองจะเริ่มทำขายกันช่วงเดือน ๕-๕ เพราะเป็นช่วงหมดฝน แดดจัด ดองผักได้สบาย และจะหยุดทำในช่วงเดือน ๑๒-๓ เพราะฝนชุก มรสุมลง ปลูกผักไม่ได้ ปกติผักกาดจะหว่านเมล็ดได้ต้นกล้าแข็งแรงราว ๑ เดือน ปลูกลงหลุมอีก ๒ เดือน ก้นหลุมใส่หญ้าเผาเป็นปุ๋ย ดูแลจับหนอนถอนหญ้าไม่นานก็ได้กินแล้ว เดี๋ยวนี้ในปีพ.ศ. ๒๕๔๔ คนเกาะยอยังปลูกผักทำผักกาดดองแตงดองอยู่ ๒ เจ้า ที่บ้านสวนใหม่ คือยายเฒ่าเลี่ยนเห้ง เก้าลิ่ม อายุ ๘๕ ปี และพี่อำไพ พันธ์มโน อายุ ๕๓ ปี

ยายเลี่ยนเห้งเป็นแม่ของป้าหนูเจ้าของสูตรข้าวยำใบยอ คนแถวบ้านสวนใหม่เรียกยายว่า "ยายเฒ่ากระดูกเหล็ก" เพราะยายแก่งั่กแล้ว แต่ยังควงจอบคลานขึ้นชายเขาไปปลูกผักกาดและถอนหญ้าอยู่ทุกวัน จอบประจำตัวของยายเรียก "จอบคุณนาย" เป็นจอบด้ามเล็กเหมาะมือคนเฒ่า 

ยายเล่าว่า ยายคลานไปถอนหญ้า เอาม้านั่งตัวเตี้ยนั่ง (กระ)ถดไปทีละน้อย งุ่มง่ามใช้จอบจวกดิน ยืนจวกนั่งจวกจนผ้านุ่งเปิด ของข้างในโผล่ออกมาล่อไม่มีใครเห็น ยายปลูกผักดองผักขายมาตั้งแต่ราคา ๓ ถ้วยแกง ๕ บาท ใส่เรือยนต์พาไปขายบ่อยาง (สงขลา) ขายดิบขายดีล้วงผักดองหยิบผักดองขายจนมือเปื่อย ตอนหลังใส่หม้อบรรทุกหลังคารถสองแถวออกไปจากเกาะ น้ำดองผักหกราดหัวรดหน้าลูกน้องรถ (เด็กท้ายรถ) อยู่ประจำ ตอนนั้นผักดองถ้วยละ ๑๐ บาท ราคาดีแต่ยายทำไม่รอด ทำมากไม่ไหว ยายบอก -เสียดายเหลือเกิ๊น มาพบไม้งามตอนขวานแหว่ง เราหมดแรงเสียแล้ว!-

ผักกาดดองเกาะยอเป็นผักดองหวาน ต้องใช้ผักแก่ถ้าผักอ่อนดองแล้วสีดำไม่สวย มีวิธีทำตามลำดับขั้นตอนดังนี้

๑.) ล้างผักกาดเขียวปลีให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้ง แล้วฝานเป็นชิ้นขนาดประมาณ ๒ นิ้ว

๒.) เอาน้ำใส่เนียง (โอ่งเล็ก) ให้น้ำท่วมผัก หากไม่ท่วมผักลอยเหนือน้ำผักจะเปื่อย แล้วขัดปากเนียงด้วยไม้ไผ่สาน ไม่ให้ผักลอย หากทำขายต้องคอยพลิกผักวันละ ๒-๓ ครั้ง จะได้จมน้ำทั่ว ผักไม่เปื่อย

๓.) ผสมเกลือลงในน้ำแช่ผัก ชิมรสให้พอเค็ม กลางวันเอาออกตากแดด ให้โดนแดดจัดผักกาดจะสีสวย กลางคืนปิดฝาไว้ ไม่ให้ฝนลงไปโดน เพราะจะเสียได้

๔.) แช่ผักไว้ ๒ คืน แล้วเปลี่ยนน้ำใหม่ ใส่เกลือใหม่ไม่ต้องมาก ให้พอเค็มนิดๆ 

๕.) แช่ผักไว้อีก ๒ คืน เคี่ยวน้ำตาลโตนดจนเดือดพลุ่งเป็นน้ำเชื่อม ทิ้งให้เย็น ใส่ลงในผัก ผักน้อยใส่น้อย ผักมากใส่มาก ชิมให้ได้รสหวานทิ้งไว้ ๑ คืน เช้าจะออกรสเปรี้ยว ใส่น้ำเชื่อมโตนดลงอีกนิดให้พอมีรสหวานแล้วขายได้เลย

ผักกาดดองหวานนี้เอามาต้มกับหมู หรือบีบน้ำออกผัดกับไข่ หรือกินเล่นก็ได้

‘ดร.วินัย’ เผย!! การอดอาหารทางศาสนา มีผลประโยชน์ต่อสุขภาพค่อนข้างดี

ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผอ.ศวฮ.) ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ‘Dr.Winai Dahlan’ เกี่ยวกับการถืออดอาหารทางศาสนากับประโยชน์ต่อสุขภาพ ว่า…

การอดอาหารในทางศาสนา นอกจากจะปฏิบัติกันเป็นปกติในบรรดาผู้นับถือศาสนาอิสลามที่ทำกันทุกเดือนรอมฎอนที่เรียกกันว่า “การถือศีลอด” โดยอดอาหาร 28 - 30 วัน ไม่บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในช่วงเวลากลางวัน ยังมีการถืออดอาหารในศาสนาอื่นเช่นเดียวกัน อย่างเช่น ชาวคริสต์นิกายกรีกออร์โธดอกซ์ที่เคร่งในศาสนาถือศีลอดอาหารที่เรียกว่า “ถืออดอาหาร” รวม 180 - 200 วันในแต่ละปี โดยการถืออดอาหารหลักๆ ได้แก่ การอดอาหาร 40 วันก่อนคริสต์มาส ที่เรียกว่า Nativity fast อดอาหาร 48 วันก่อนเทศกาลอีสเตอร์ที่เรียกว่า Lent การอดอาหาร 15 วันในเดือนสิงหาคมที่เรียกว่า Assumption

เกาะยอในความทรงจำ (๒)

นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว นักเขียนเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงความทรงจำเมื่อครั้งทำงานเก็บข้อมูลชีวิตชาวบ้านที่เกาะยอ จังหวัดสงขลา ว่า 

กุฏิวัดท้ายยอ เรื่องเล่าจากพ่อหลวง-พระครูมานพ อคฺคธมโม เจ้าอาวาสวัดท้ายยอ ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา เล่าไว้เมื่อกลางปี พ.ศ. ๒๕๔๒ 

“หมู่กุฏิที่วัดท้ายยอขึ้นทะเบียนกรมศิลปากรตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ กุฏิอายุกว่าสองร้อยปี เจ้าอาวาสองค์ที่ผ่านๆ มาท่านเก่งทางช่าง ทั้งสร้างทั้งซ่อมกันเอาไว้ พ่อหลวงเองได้วิชาช่างปลูกเรือนจากย่า พ่อของย่าเป็นช่าง ย่าจดจำมาถ่ายทอดให้ฟังหมด พอโตขึ้นมาก็มาเป็นลูกมือของพระอธิการเส้า ท่านให้ความรู้เรื่องเรือน ช่วยท่านยกไม้ ส่งไม้ อยู่หลายปี

เรือนคือมงคลวัตถุที่เป็นที่อยู่อาศัย เรือนโบราณจะมีสูตรในการสร้างเรียก “เรือนสูตร” ประกอบด้วย “มาตราสูตร” คือการวัดเป็นคืบเป็นศอกเพื่อออกสัดส่วนระยะเรือน และ “มงคลสูตร” คือศาสนธรรมคำสอน เป็นปริศนาธรรมควบคุมการออกสัดส่วนเรือน

อย่างพวกสัมมาอาชีวะจะปลูกเรือน ต้องตั้งจั่วก่อน คือออกสัดส่วนเรือนจากความสูงของจั่ว แต่ถ้าเป็นพวกนักเลงต้องตั้งเสาขึ้นก่อนให้มั่นคง แล้วชีวิตก็จะรุ่งเรืองไปตามแนวของแต่ละคน

โดยมากขนาดของเรือนจะใช้ร่างกายเจ้าของเรือนเป็นตัวกำหนดสัดส่วน อย่างพวกสัมมาอาชีวะตั้งจั่วก่อนนั้น จะต้องหาดั้ง (ความสูงของจั่ว) ก่อน เพราะดั้งเปรียบได้กับจมูกเป็นลมหายใจ ต้องเอาดั้งเจ้าของเรือน เพราะเจ้าเรือนจะต้องรักบ้านเท่าชีวิตตัว การหาดั้งใช้วิธีเอาไม้วัดตั้งบนหัวแม่โป้งนิ้วเท้าให้สูงขึ้นถึงหัวคิ้ว นั่นคือขนาดของดั้ง จากนั้นเอาดั้งเข้าสูตรทำจั่ว “หักดั้งตั้ง ๒ หนให้ชนกัน จันทันนั้นดั้งบวกคืบสืบสอดใส่”

เรือนคนแต่ละลักษณะก็ไม่เหมือนกัน อย่างเรือนกำนันกระดานพื้นหน้าห้องต้องมีสัญญาณเตือนภัย เหยียบปุ๊บต้องลั่นให้ได้ยิน จะได้รู้ตัว ป้องกันคนมาร้ายเพราะคนมาดีมักจะเรียกก่อน ส่วนเรือนเจ้าอาวาสกระดานหน้าห้องเหยียบแล้วต้องเงียบกริบ เพื่อชาวบ้านจะได้แอบดูได้ว่าพระทำอะไรอยู่ในห้อง

พ่อหลวงเกิดที่นี่ เกาะยอสมัยก่อนผลไม้อุดมสมบูรณ์มาก พวกขนมจากในเมืองขนมเปี๊ยะคนที่นี่ไม่กิน เพราะอาหารสมบูรณ์ กินข้าวกับน้ำผึ้งแล้ว เป็นคำพื้นของคนเฒ่าแก่ที่พูดติดปาก เพราะคนอิ่ม ไม่หิว ของกินบริบูรณ์ ขนาดไม้สร้างบ้านยังเป็นไม้ผล

เกาะยอทำอ่างดินเผามีชื่อ เขาพูดเป็นคำคล้องจองว่า สทิ้งทำหม้อ เกาะยอทำอ่าง หัวเขาค้าโพงพาง บ่อยางขายเคย เกาะยอทำกระเบื้องหลายแบบมีกระเบื้องหางแหลมมุงหลังคา กระเบื้องตีนเชิงชาย กระเบื้องกาบกล้วย กระเบื้องอกไก่สันหลังคา อิฐมีหลายขนาด เรียกอิฐหน้าวัว ของเกาะยอมีเอกลักษณ์ คือมีลายน้ำในเนื้ออิฐ เพราะเอาดินหลายที่มาผสมทำอิฐ เตาเผาอิฐสมัยเด็กๆ เห็นถึง ๘ เตา เด็กเกาะยอเมื่อก่อนไม่เล่นลงเลก็ขึ้นเขา เอาลูกหมากมาเล่นซัดราว 

สมัยก่อนเรือโดยสารคือนาฬิกาบอกเวลาของคนเกาะยอ ตี ๕ (๐๕.๐๐ น.) เรือยนต์ติดเครื่องวิ่งเกาะยอ-สงขลา เด็กตื่น พ่อแม่ลุกตั้งข้าวให้ลูกไปโรงเรียน ตี ๖ (๐๖.๐๐ น.) เรือออกจากท่า เด็กนักเรียนชายนั่งบนหลังคา นักเรียนหญิงนั่งในท้องเรือ พร้อมผลไม้จำนวนมาก จนต้องพ่วงเรือ ถึงสงขลาส่งเด็กแล้วก็รับครูมาสอนนักเรียนที่วัดท้ายยอ สองโมงเช้า (๐๘.๐๐ น.) พอดีโรงเรียนขึ้นเรือออกจากเกาะยออีกเที่ยว คราวนี้บรรทุกกุ้งปลาเต็มลำเรือไปส่งสงขลา จะสวนกับเรือที่ออกจากสงขลาตอนตี ๙ (๐๙.๐๐ น.) ถึงเกาะยอตี ๑๐ (๑๐.๐๐ น.) ได้พักเที่ยง บ่ายโมงเรือติดเครื่องไปสงขลา เด็กนักเรียนที่พักเที่ยงแล้ววิ่งเล่นอยู่ตามป่าได้ยินเสียงต้องรีบกลับห้องเรียน จากนั้นมีเรือออกตี ๓ (๑๕.๐๐ น.) จากสงขลามาเกาะยอ รับครูกลับไปสงขลา พอตี ๕ (๑๗.๐๐ น) เรือกลับมา พาเด็กนักเรียนจากสงขลามาส่งบ้าน เด็กเกาะยอต้องรีบขึ้นบ้าน เดิมมีแต่ป่า มืดเร็วกว่าเดี๋ยวนี้

เกาะยอในความทรงจำ (๑) 

นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว นักเขียนเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงความทรงจำเมื่อครั้งทำงานเก็บข้อมูลชีวิตชาวบ้านที่เกาะยอ จังหวัดสงขลา ว่า 

ดิฉันเข้าไปทำงานเก็บข้อมูลชีวิตชาวบ้านรอบทะเลสาบสงขลากับอ.เขมานันทะ น้องกิ๋ว-คุณปรัศนันท์ กังศศิเทียม และทีมงานคนอื่นๆ เป็นครั้งแรกเมื่อกลางปีพ.ศ. ๒๕๔๒ เขียนเป็นหนังสือ “ทะเลสาบสงขลา” และ “อนุทินทะเลสาบ” ให้กับ สำนักพิมพ์สุขภาพใจ แล้วหลังจากนั้น ในปีพ.ศ. ๒๕๔๔ ดิฉันก็ยังได้เข้าไปเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตผู้คนและวัฒนธรรมชาวบ้าน ที่เกาะยอ เมืองสงขลา ให้กลุ่มบริษัทแปลน เป็นช่วงที่ดิฉันและน้องกิ๋วพักอยู่สงขลาหลายเดือน นับเป็นความทรงจำที่ยิ้มได้เสมอเมื่อรำลึกถึง

หลังจากนั้น...นานครั้ง ดิฉันถึงมีโอกาสเข้าไปที่เกาะยออีกบ้าง หลักๆ คือไปที่สถาบันทักษิณคดีศึกษา มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เกาะยอ ที่จำได้และถ่ายภาพเก็บไว้ก็คือช่วงปีพ.ศ. ๒๕๔๘ และปีพ.ศ. ๒๕๕๙

มีเรื่องเกี่ยวกับเกาะยอ ที่ดิฉันเขียนไว้ในหนังสือ “อนุทินทะเลสาบ : บันทึกจากแผ่นดินของปู่-ทะเลของย่า” พิมพ์เผยแพร่ในปีพ.ศ. ๒๕๔๔ พลิกดูวันนี้มีหลายเรื่องที่เห็นว่ามีค่า สำหรับคนเกาะยอ-สงขลา รุ่นหลัง จึงนำมาขึ้นเพจ ให้ได้อ่านกัน

สำหรับภาพประกอบนั้น ดิฉันตั้งใจนำมาให้ได้ดูเปรียบเทียบ ๒ ช่วงในห้วงเวลาที่เปลี่ยนไป ภาพเก่านั้นถ่ายไว้เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๘ ภาพสีสดใสบันทึกไว้เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๕๙ 
ซึ่งบัดนี้ คงเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ในช่วงปัจจุบัน
ดูภาพ และอ่านเรื่องเกาะยอกันนะ
#เกาะยอ

"ผ้าดำดี ลูกสาวสวย" คือคำพังเพยที่ชาวสงขลาระบุกันถึงภาพของเกาะยอในวันวาน ผ้าที่ทอขึ้นจาก "ด้ายกุหลี" หรือเส้นไหมละเอียดสีดำ ด้วยฝีมือของสาวเกาะยอ ตาคม ผิวขาวนวล ตามเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนของบรรพบุรุษ ได้สร้างชื่อให้เกาะยอเป็นสถานที่อันโดดเด่นในบริเวณปากอ่าวทะเลสาบสงขลา ทั้งยังเป็นแหล่งของผลไม้อร่อยนานาพันธุ์ กระเบื้องดินเผามุงหลังคา และมาตุภูมิของอิงอร-นักเขียนผู้ใช้สำนวนภาษาประดุจปลายปากกาจุ่มหยาดน้ำผึ้ง

ธานี ไพโรจน์ภักดิ์ ชาวเกาะยอ กำนันวัย ๖๗ ปี เล่าว่า ๒-๓ ชั่วอายุคนก่อนนี้ คนเกาะยอส่วนใหญ่เป็นจีนฮกเกี้ยนอพยพมาจาก ต.น้ำน้อย อ.หาดใหญ่ และ ต.ทุ่งหวัง อ.เมืองสงขลา จีนสมัยนั้นแล่นเรือใบมาเห็นเกาะแห่งนี้ร่มรื่นน่าอยู่ มีที่ว่างไร้เจ้าของมากมาย จึงชวนกันมาตั้งรกราก พบว่ามีต้นยอขึ้นอยู่มาก ถึงเรียกกันว่า "เกาะยอ" มาแต่บัดนั้น

จีนเริ่มต้นชุมชนบนเกาะขึ้นที่บ้านนาถิ่น ได้เมียคนไทย พากันทำสวน ปลูกฝ้าย ปลูกครามย้อมผ้าตามถนัด สาวเกาะยอทอผ้าทุกครัวเรือน คิดค้นลายผ้าขึ้นอย่างมีแบบฉบับของตนเอง พื้นดำ น้ำเงินขัดลายยกดอกเป็นลายราชวัตร ลายลูกแก้ว ลายข้าวหลามตัด ลายดอกพริก ลายดอกก้านแย่ง ฯลฯ ทอทั้งผ้าพื้นสีเขียว สีน้ำเงิน เป็นโสร่งทั้งของหญิงและชาย จากฝ้ายเป็นด้ายกุหลีที่ละเอียดกว่าเส้นไหม จนมาถึงไหมเทียมโทเรในปัจจุบัน

ลักษณะโดดเด่นของผ้าเกาะยอก็คือ ความหนาคงทน สวยด้วยลายเฉพาะถิ่น ส่งขายไกลทั่วเมืองไทย เดี๋ยวนี้สาวเกาะยอยังทอผ้ากันอยู่กว่า ๒๐๐ ครอบครัว เสียงกี่กระตุกกึงกังยังกังวานอยู่ยามบ่าย เมื่อเดินผ่านลัดเลาะไปตามถนนคดเคี้ยวในเกาะ

ถนนที่เพิ่งลาดยางช่วงปีพ.ศ. ๒๕๒๗-๒๕๒๘ วกเวียนทับเส้นทางเดินโบราณที่เลี้ยวเลาะเข้าไปตามสวนผลไม้นานา เกาะยอเลื่องชื่อเรื่องผลไม้อร่อย เป็นที่โจษจันกันมานานแล้ว ดังหลักฐานในบันทึกของสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษี คราวเสด็จออกตรวจราชการภาคใต้ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ว่า "อนึ่งที่ปากช่องทะเลสาบนั้นมีเกาะๆ หนึ่งชื่อเกาะยอ...มีสวนเรียงรายอยู่ในเกาะและรอบเกาะเป็นสวนผลไม้ หมาก มะพร้าว จำปาดะ ขนุน สะตอ พุมเรียง ละมุด ทุเรียน และมีสวนมัน ผักและพลูต่างๆ บริบูรณ์ มีบ้านราษฎรเจ้าของสวนเรียงราย" 

คุณตาประวิทย์ นพคุณ วัย ๘๖ ปี คนย่านถนนนครนอก อำเภอเมืองสงขลา ยืนยันด้วยรอยยิ้มและดวงตาเป็นประกายสดใสเมื่อเล่าถึงเกาะยอครั้งคุณตายังหนุ่มว่า "คนเกาะยอทำสวนทอผ้า ผู้หญิงเกาะยอตัวขาว เชื้อจีนสวยมากๆ ผลไม้เกาะยอขึ้นชื่อ มีทั้งสวา(ละมุด) จำปาดะ มะพร้าว ทุเรียน"

ร้อยกว่าปีหลังบันทึกของเจ้าฟ้าภาณุฯ ผลไม้เกาะยอยังอุดม ผ้าเกาะยอยังดี ลูกสาวชาวเกาะยอยังสวย กระเบื้องเกาะยอเท่านั้นที่กลายไปเป็นตำนาน

เรือนไทยใต้ซ่อนตัวอยู่หลังแมกไม้ครึ้ม แดดสว่างจับหลังคากระเบื้องดินเผา คือภาพงามยามเย็น บ่งบอกถึงวิถีชีวิตสงบเนิบช้า เรือนปั้นหยาทุกหลังที่ผ่านตา ล้วนมุงกระเบื้องเกาะยอ นอกจากจะให้ความงามอันกลมกลืนกับเรือกสวนรอบข้างแล้ว กระเบื้องเกาะยอยังแข็งแกร่ง คงทนอยู่ได้ถึง ๔๐-๕๐ ปี ขึ้นชื่อว่ามุงแล้วร่มเย็นอยู่สบาย ช่วงรุ่งเรืองคนเกาะยอตั้งเตาเผากระเบื้องกันราว ๑๐ เจ้า ขุดดินจากทุ่งนาปั้นกระเบื้อง อิฐ โอ่ง อ่าง กันตั้งแต่เดือนยี่ถึงเดือน ๑๑ มาหยุดเอาหน้ามรสุม ยามฝนชุก ชื้นแฉะจนตากกระเบื้องไม่ได้ คนเกาะยอเล่าว่า เคยบรรทุกกระเบื้องเป็นหมื่นๆ แผ่น ลงเรือใบ รอนแรมไปในเวิ้งทะเลสาบสงขลาแถบเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง ขายไกลถึงเมืองตรัง ยะลา ปัตตานี นราธิวาส รุ่งเรืองมีชื่อเสียงโด่งดังถึงกลันตัน ตรังกานู ปีนัง สิงคโปร์ จนพวกพ่อค้าพากันเอาเรือสำเภา ๒ หลักขนาดใหญ่ออกทะเลลึก มาบรรทุกกระเบื้องไปขายเอง

กิจการกระเบื้องดินเผาเกาะยอเพิ่งมาสิ้นสูญไปเมื่อราว ๒๐ ปีนี้เอง วันเวลาเคลื่อนไป หากบ้านเก่าที่เคยใช้กระเบื้องเกาะยอกลับอยู่กันยาวนาน มุงหลังคามากว่า ๕๐ ปีไม่มีพัง แทบไม่ต้องซ่อมแซม บ้านใหม่ก็ถูกกระเบื้องโรงงาน ที่แม้จะมุงแล้วร้อนอบอ้าว ทั้งไม่คงทนเท่า แต่ราคาที่ถูกกว่า เบากว่า ใช้ไม้โครงหลังคาน้อยกว่าที่เข้ามาแทน ก็ทำให้ชาวบ้านสมัครใจหันไปใช้ของใหม่ที่ผลิตออกมาตีตลาด จนกระเบื้องเกาะยอค่อยๆ สูญสิ้นความนิยมไปโดยปริยาย คงเหลือเพียงกระเบื้องดินเผาของเมืองสงขลาก็แต่ที่บ้านท่านางหอม นอกเกาะยอห่างไกลออกไป ให้นึกถึงตำนานของบ้านหลังคากระเบื้องดินเผา สวยสงบในดงไม้ จารึกไว้ถึงวันวานอันรุ่งเรืองของ "เบื้องเกาะยอ" ในวันเวลานี้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top