Thursday, 8 June 2023
INFO

กระทรวง อว. ปลดล็อกอีก 2 หลักสูตรแซนด์บ็อก พร้อมผลิต วิศวกรคอมพิวเตอร์ & บุคลากรธุรกิจการบิน ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ

เมื่อปี 2565 เราได้รับข่าวดีคณะทำงานในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ที่ประชุมคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา ได้อนุมัติ 4 หลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ ตอบสนองการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) ซึ่งก้าวข้ามขีดจำกัดของการจัดการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานเดิม เพื่อจัดการศึกษารูปแบบใหม่ สร้างนวัตกรรมการอุดมศึกษา มุ่งเน้นผลิตคนให้ตอบโจทย์ความต้องการของภาคการผลิต (Demand Driven) และเท่าทันความต้องการของประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ โดยทั้ง 4 หลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ นั้น คือ

1.) หลักสูตรการผลิตและพัฒนากำลังคนสาขาฉุกเฉินการแพทย์
นำโดยวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยอีก 6 แห่ง และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สถาบันพระบรมราชชนก ตั้งเป้าผลิตกำลังคนสาขาฉุกเฉินการแพทย์ ระดับผู้ประกอบโรคศิลปะ จำนวน 15,000 คน ภายใน 10 ปี

2.) หลักสูตรการผลิตบุคลากร High-tech Entrepreneur
นำโดย International School of Management (ISM) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับ Harbour.Space University ประเทศสเปน หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (Thaichamber) และบริษัทต่างๆ ตั้งเป้าผลิตกำลังคนที่มีความรู้ขั้นแนวหน้า (frontier knowledge) ด้านเทคโนโลยี จำนวน 400 คน ภายใน 7 ปี

3.) หลักสูตรการผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และดิจิทัล
นำโดยมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล และสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยอีก 6 แห่ง ตั้งเป้าผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และดิจิทัล 1,880 คน ภายใน 8 ปี

4.) หลักสูตรการผลิตกําลังคนศักยภาพสูงที่มีความรู้เชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์และแนวคิดเชิงนวัตกรรม
นำโดยวิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชวิทย์) สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และสถาบันอุดมศึกษา ตั้งเป้าผลิตกําลังคนทักษะสูงที่มีความรู้เชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์ และแนวคิดเชิงนวัตกรรม 175 คน ภายใน 9 ปี โดยรวมแล้วจะสร้างบุคลากรที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศในด้านต่างๆ ได้ทั้งสิ้นกว่า 17,455 คน

จนกระทั่ง ล่าสุดในปี 2566 นี้ กระทรวง อว.ปลดล็อกอีก 2 หลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ ได้แก่

5.) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งเป้าผลิตกำลังคนในกลุ่มวิศวกรคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล 1,200 คน

6.) หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการบินนานาชาติ โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ตะวันออก เพิ่มการผลิตกำลังคนในกลุ่มพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

ไทยเนื้อหอม!! 5 อันดับต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด (ม.ค. 66)

1. ญี่ปุ่น 14 ราย (ร้อยละ 27) เงินลงทุน 3,588 ล้านบาท
2. สิงคโปร์ 6 ราย (ร้อยละ 12) เงินลงทุน 410 ล้านบาท
3. สหรัฐอเมริกา 6 ราย (ร้อยละ 12) เงินลงทุน 9 ล้านบาท
4. สหราชอาณาจักร 5 ราย (ร้อยละ 10) เงินลงทุน 98 ล้านบาท
5. จีน 3 ราย (ร้อยละ 6) เงินลงทุน 548 ล้านบาท

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตัวเลขการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เดือนมกราคม ปี 2566 ได้อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 จำนวน 52 ราย โดยเป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 22 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 30 ราย เงินลงทุนทั้งสิ้น 5,129 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 298 คน

1. ญี่ปุ่น 14 ราย (ร้อยละ 27) เงินลงทุน 3,588 ล้านบาท
2. สิงคโปร์ 6 ราย (ร้อยละ 12) เงินลงทุน 410 ล้านบาท
3. สหรัฐอเมริกา 6 ราย (ร้อยละ 12) เงินลงทุน 9 ล้านบาท
4. สหราชอาณาจักร 5 ราย (ร้อยละ 10) เงินลงทุน 98 ล้านบาท
5. จีน 3 ราย (ร้อยละ 6) เงินลงทุน 548 ล้านบาท

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตัวเลขการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เดือนมกราคม ปี 2566 ได้อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 จำนวน 52 ราย โดยเป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 22 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 30 ราย เงินลงทุนทั้งสิ้น 5,129 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 298 คน

‘คนไทย’ เกินครึ่ง เชื่อ!! ลุงตู่ VS ลุงป้อม ไม่ แตกกัน

แม้ 2 พรรคใหญ่ อย่าง 'พลังประชารัฐ' และ 'รวมไทยสร้างชาติ' จาก 2 ป. พี่น้อง 'ป้อม-ตู่' จะเริ่มออกมาเรียกคะแนนเรียกคะแนนเสียง และฟาดฟันกันด้วยนโยบายเคลมบลัฟแบบไม่ไว้หน้ากัน จนสะท้อนภาพรอยร้าวในความสัมพันธ์ของคู่พี่น้องให้ประชาชนสัมผัสได้ชัดขึ้น แต่หากย้อนดูโพลเมื่อวันที่ 29 ม.ค.66 ก็เชื่อว่านี่น่าจะยังเป็นเพียงความดุเดือดทางการเมือง ที่ท้ายสุด อาจจะเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์แยกกันเดิน ร่วมกันตี หลังการเลือกตั้งนี้จบลง ก็เป็นไปได้

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในวันนั้นได้เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง 'พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ปะทะ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)' ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 23-25 มกราคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการแข่งขันทางการเมืองระหว่าง รองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ จากพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กับ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จากพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) 

การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
 

เปิดรายชื่อตัวตึง ชั้น ม.ต้น โรงเรียนที่สอบเข้า ‘มหิดลวิทยานุสรณ์’ ได้มากที่สุด

อันดับที่ 1 รร.สวนกุหลาบ สอบเข้าได้ 29 คน
อันดับที่ 2 รร.สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน สอบเข้าได้ 24 คน
อันดับที่ 3 รร.บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สอบเข้าได้ 16 คน
อันดับที่ 4 รร.แสงทองวิทยา สอบเข้าได้  11 คน
อันดับที่ 5 รร.ภูเก็ตวิทยาลัย สอบเข้าได้  10 คน
อันดับที่ 6 รร.อุดรวิทยานุกูล สอบเข้าได้  7 คน

 

‘แสนสิริ’ โชว์ผลงานปี 65 กำไรสุทธิ 4,280 ล้านบาท โตก้าวกระโดด 112% ทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์รอบ 38 ปี

นายเศรษฐา ทวีสิน ประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) (SIRI) กล่าวว่า ปี 65 นับเป็นอีกปีท่ามกลางความท้าทายที่แสนสิริผ่านมาได้อย่างแข็งแกร่งในรอบ 38 ปี จากการมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานความไว้วางใจและเชื่อมั่นจากลูกค้าจนส่งผลให้เป็นแบรนด์อันดับหนึ่งของคนอยากมีบ้าน ส่งผลให้ แสนสิริได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าและมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง ทั้งในด้านผลงานยอดขายรวมที่ทำได้ถึง 50,000 ล้านบาท โตขึ้นเกือบ 50% จากปีที่ผ่านมา ขณะที่รายได้รวมในปี 65 แสนสิริมีรายได้รวมทั้งสิ้น 34,983 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากการขายโครงการที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 30,716 ล้านบาท รายได้หลักมาจากที่อยู่อาศัยประเภทแนวราบและแนวสูงในสัดส่วน 67% : 33%

นอกจากนี้ สรุป ผลการดำเนินงานปี 65 แสนสิริยังมีกำไรสุทธิที่โดดเด่น โดยมีกำไรสุทธิสูงถึง 4,280 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มีกำไรสุทธิ 2,017 ล้านบาท ถึง 112% นับว่าเป็นบริษัทที่มีอัตราการเติบโตด้านกำไรสูงที่สุดในอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขณะนี้ อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 12.2% ของรายได้รวม โตขึ้นจากปีก่อนที่มีอัตรากำไรสุทธิ 6.8%

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่ 14.6 ล้านคน เริ่มใช้สิทธิ 1 เม.ย. 66 ประกาศผลเริ่มยืนยันตัวตน 1 มี.ค.66

ชาวบ้านเฮ!!
ครม. เห็นชอบรายงานการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ลงทะเบียน โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 และประชารัฐสวัสดิการใหม่ ให้แก่ผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ 14.6 ล้านราย เริ่มกระบวนการยืนยันตัวตน 1 มีนาคม 66

คณะรัฐมนตรี วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เห็นชอบรายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ลงทะเบียน โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 และกรอบระยะเวลาดำเนินโครงการฯ พร้อมทั้งอนุมัติงบกลาง จำนวน 9,140.35 ล้านบาท ให้กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม นำมาสมทบกับเงินกองทุน ฯ ในการดำเนินการจัดสรรประชารัฐสวัสดิการใหม่ เช่น วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคจากร้านธงฟ้าประชารัฐ จำนวน 300 บาท/คน/เดือน วงเงินค่าเดินทางระบบขนส่งสาธารณะ 750 บาท/คน/เดือน เป็นต้น

รายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนโครงการ ฯ ปี 2565 มีรายละเอียด ดังนี้

1. ผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนโครงการ ฯ ปี 2565 ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ 14,596,820 ราย ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ 5,050,421 ราย ซึ่งผู้ลงทะเบียนที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ อาทิ มีรายได้เกิน 100,000 บาท/ปี มีบัญชีเงินฝากเกิน 100,000 บาท มีบัตรเครดิต มีวงเงินกู้บ้าน/รถ เป็นต้น

อัปเดต ไทม์ไลน์ 'เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5'

สายเที่ยวห้ามพลาด!! เราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 เริ่มเปิดให้ลงทะเบียนแล้ว โดยรัฐบาลจะช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายโรงแรม/ที่พัก 40% จำนวน 560,000 สิทธิ์ (ห้อง/คืน) เข้าพักได้ 10 มี.ค.ถึง 30 เม.ย.นี้

14 เรื่องดี๊ดีที่ ‘บิ๊กตู่’ มีให้ภาคตะวันตก ‘ถนน - ท่องเที่ยว - ปากท้อง’ ครบ!!

ไม่แตกต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ สำหรับภาคตะวันตก อันประกอบไปด้วยจังหวัด กาญจนบุรี, ตาก, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี และราชบุรี ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เร่งผลักดันโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน รวมถึงการยกระดับการท่องเที่ยวให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยตลอดช่วง 8 ปีที่ผ่านมานี้ มีหลากโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนแนวทางต่าง ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากมาย

>> จังหวัดกาญจนบุรี

1. Skywalk กาญจนบุรี แลนด์มาร์กแห่งใหม่ริมแม่น้ำแคว บนความสูง 12 เมตรจากพื้นถนน และความยาวของ Skywalk กาญจนบุรี อยู่ที่ 150 เมตร ตลอดริมแม่น้ำ ตัวพื้นของ Skywalk กาญจนบุรี ทำจากกระจกใสแข็งแรง ตลอดทางเดินสามารถมองเห็นแม่น้ำด้านล่าง

2. จัดระเบียบเรือนแพและปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำแคว เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

3. แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ตำบลห้วยกระเจา อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี 

4. โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี มีพื้นที่ผ่าน 3 จังหวัด คือ จ.นนทบุรี จ.นครปฐม และ จ.กาญจนบุรี ระยะทาง 96.41 กิโลเมตร 

>> จังหวัดตาก

5. มอบสิทธิมอบสุขในที่ดินทำกิน หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 5 ป่า ประกอบด้วย ป่าช่องแคบและป่าแม่โกนเกน / ป่าแม่ละเมา / ป่าแม่สอด / ป่าท่าสองยาง และ ป่าแม่ระกา พร้อมทั้งมอบสมุดประจำตัวผู้ได้รับการคัดเลือกให้ทำกินในชุมชนตามนโยบายรัฐบาล ในพื้นที่จังหวัดตาก ให้กับประชาชนในพื้นที่ป่าช่องแคบและป่าแม่โกนเกน จำนวน 1,231 เล่ม 

6. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ร่วมกันผลักดัน ให้ ‘ไม้กลายเป็นหิน’ ณ อุทยานแห่งชาติดอยสอยมาลัย จังหวัดตาก ถูกบันทึกสถิติโลกว่าเป็น ‘ไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลก’ ลง Guinness World Records ได้สำเร็จ เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเยาวชน ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจด้านแหล่งธรณีวิทยาที่สำคัญในประเทศไทย

7. สะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมย หรือที่ชาวเมียนมาเรียกแม่น้ำตองยิ่น แห่งที่ 2 บริเวณฝั่งไทยที่บ้านวังตะเคียนใต้ หมู่ที่ 7 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก 

20 โปรเจกต์ หนุน EEC เดินหน้า ภายใต้ผู้นำที่ชื่อว่า ‘ประยุทธ์ จันทร์โอชา’

โครงการ EEC (Eastern Economic Corridor) ซึ่งมีอีกชื่อเป็นภาษาไทยว่า ‘โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก’ อีกหนึ่งความหวังใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยปัจจุบันมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และเงื่อนไขในการเอื้อต่อการลงทุนแล้วหลายประการ

1. พัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา)
2. พัฒนารถไฟทางคู่ (ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย)
3. พัฒนาท่าเรือมาบตาพุด / ท่าเรือแหลมฉบัง เป็น ‘ประตูการค้า’ เชื่อมโยงกับประเทศในอาเซียน
4. พัฒนาท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ หรือท่าเรือจุกเสม็ด รองรับนิคมอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวทางทะเล
5. ปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ยกระดับเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลัก แห่งที่ 3


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top