Saturday, 20 April 2024
INFO

เปิด 4 มาตรฐานใหม่ ยกระดับรางรถไฟไทย ปลอดภัยขั้นสุด

เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 66 ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดทำมาตรฐานการขนส่งทางราง ครั้งที่ 8-2/2566 พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมมนังคสิลา ชั้น 2 อาคาร ณ ถลาง กรมการขนส่งทางราง และผ่านระบบ Zoom cloud meetings  

โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาร่างมาตรฐาน จำนวน 4 มาตรฐาน ได้แก่...

1. มาตรฐานองค์ประกอบทางรถไฟ (Track Components) เพื่อใช้กำหนดมาตรฐานการทดสอบและการรับรองคุณสมบัติและประสิทธิภาพขององค์ประกอบทางรถไฟ ซึ่งประกอบด้วย ราง เชื่อมต่อราง อุปกรณ์ยึดเหนี่ยวราง และหมอนรองราง สำหรับทางรถไฟขนาดกว้าง 1.000 เมตร และขนาด 1.435 เมตร

2. มาตรฐานตำแหน่งเปลี่ยนผ่านบนทางรถไฟ (Railway Track Transition Zone) เพื่อใช้เป็นข้อกำหนดมาตรฐานและเทคนิคในการออกแบบก่อสร้างและปรับปรุงในตำแหน่งเปลี่ยนผ่านบนทางรถไฟขนาดกว้าง 1.000 เมตร และขนาด 1.435 เมตร ที่เชื่อมต่อระหว่างทางรถไฟที่มีหินโรยทางกับทางรถไฟที่ไม่มีหินโรยทางหรือทางรถไฟบนพื้นคอนกรีต รวมไปถึงตำแหน่งเปลี่ยนผ่านบนทางรถไฟ ที่เชื่อมต่อกับสะพาน (Bridge) อุโมงค์ (Tunnel) ท่อทางลอดระบายน้ำ (Culvert) และบริเวณอื่นๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าความแข็งเกร็งแบบทันทีทันใด เพื่อลดโอกาสเกิดความเสียหายและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงทางรถไฟบริเวณตำแหน่งเปลี่ยนผ่านบนทางรถไฟ

3. มาตรฐานการออกแบบทางรถไฟชนิดมีหินโรยทาง (Ballasted Track Design) เพื่อใช้สำหรับเป็นข้อกำหนดมาตรฐานและเทคนิคในการออกแบบทางรถไฟชนิดมีหินโรยทาง บนทางรถไฟขนาดกว้าง 1.000 เมตร และขนาด 1.435 เมตร ให้มีประสิทธิภาพและเกิดความปลอดภัย

4. มาตรฐานระบบระบายน้ำบนทางรถไฟสำหรับระบบขนส่งทางรางระหว่างเมือง (Track Drainage System for Intercity Rail) เพื่อใช้เป็นข้อกำหนดด้านเทคนิคสำหรับการระบายน้ำบนทางรถไฟในเขตทางรถไฟของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างมาตรฐานทั้ง 4 มาตรฐานดังกล่าว โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะผู้จัดทำ นำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปปรับปรุง ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับมาตรฐานดังกล่าวข้างต้นไปบังคับใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป

8 ปีประเทศไทย มีอะไรติดอันดับโลกกับเขามั่ง?

‘ประเทศไทย’ ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ผ่านการจัดอันดับในแง่มุมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านสิทธิมนุษยชนเด็ก ด้านเศรษฐกิจ ด้านการท่องเที่ยว หรือด้านการศึกษา

วันนี้ THE STATES TIMES รวบรวมมาให้แล้วว่าประเทศไทยติดอันดับโลกอะไรบ้าง อยากรู้ก็มาดูเลย!!

📌ครองอันดับ 1 กรุงเทพฯ เมืองที่มียอดจองเข้าพักมากที่สุด และครองอันดับ 2 ประเทศจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก จัดอันดับโดย Agoda สะท้อนศักยภาพด้านการท่องเที่ยวไทย และการดำเนินมาตรการส่งเสริมที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล

📌ครองอันดับ 6 ประเทศน่าอยู่ เหมาะมาทำงานมากที่สุดในโลก จัดอันดับโดย Expat Insider 2023 สะท้อนการทำงานของภาครัฐที่ตอบโจทย์ความต้องการของชาวต่างชาติ เห็นศักยภาพ โอกาส และชื่นชอบประเทศไทย

📌ครองอันดับ 8 ประเทศที่ดูแลสิทธิมนุษยชนเด็กได้ดี จัดอันดับโดย The KidsRights Index 2023 สะท้อนถึงผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของรัฐบาล เข้าถึงระบบการดูแลอย่างเท่าเทียมและมีคุณภาพ

📌ครองอันดับ 9 ประเทศที่มีค่าครองชีพถูก เหมาะแก่การใช้ชีวิตหลังเกษียณ จัดอันดับโดย นิตยสารอินเตอร์เนชันแนลลีฟวิง

📌ครองอันดับ 19 ซอยรมณีย์ จ.ภูเก็ต ถนนสวยที่สุดในโลก จัดอันดับโดย Seasia.Stats สะท้อนความใส่ใจของรัฐบาลในการสนับสนุนและพัฒนาควบคู่อนุรักษ์พื้นที่ เพื่อความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์

📌ครองอันดับ 30 ประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันโลก ประจำปี 2023 จัดอันดับโดย สถาบันการพัฒนาการจัดการนานาชาติ (IMD) ถือเป็นเรื่องที่หน้ายินดีที่ไทยขยับจากอันดับ 33 ในปี 2565 มาเป็นอันดับ 30 ในปี 2566 โดยปัจจัยหลักดีขึ้นทุกด้าน ได้แก่ สมรรถนะด้านเศรษฐกิจอยู่ที่อันดับ 16 (ขยับขึ้น 18 อันดับ) ประสิทธิภาพภาคธุรกิจ อันดับ 23 (ขยับขึ้น 7 อันดับ) ประสิทธิภาพภาครัฐ อันดับที่ 24 (ขยับขึ้น 7 อันดับ) โครงสร้างพื้นฐาน อันดับที่ 43 (ขยับขึ้น 1 อันดับ)

📌ครองอันดับ 43 และอันดับ 1 ของอาเซียน ประเทศที่มีการพัฒนายั่งยืน จัดอันดับโดย สหประชาชาติ ตอกย้ำการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม

📌ครองอันดับ 52 ประเทศที่ระบบนิเวศสตาร์ตอัปดีที่สุดในโลก และครองอันดับ 74 กรุงเทพฯ เมืองศูนย์กลางด้านสตาร์ตอัปของประเทศ ประจำปี 2023 จัดอันดับโดย NIA สะท้อนความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมของรัฐบาล ให้ความสำคัญสนับสนุนสตาร์ตอัปไทยอย่างต่อเนื่อง

📌13 มหาวิทยาลัยของไทย ติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2024 จัดอันดับโดย Quacquarelli Symonds

📌24 โรงแรมของไทย ติดอันดับโรงแรมที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2023 จัดอันดับโดย La liste ตอกย้ำความสำเร็จและศักยภาพด้านการท่องเที่ยวไทย พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการควบคู่ใช้มาตรการส่งเสริมในประเทศ

ชวนส่อง 4 เรื่อง ที่ทำให้ ‘เมืองไทย’ ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่สะดวกสบาย จนแซงหน้า ‘ประเทศเยอรมนี’

🔍 ชวนส่อง 4 เรื่อง ที่ทำให้ ‘เมืองไทย’ ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่สะดวกสบาย จนแซงหน้า ‘ประเทศเยอรมนี’ จะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย!!

1.) การโอนเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่ประเทศไทยจะสามารถโอนเงินให้ผู้รับได้ทันที ในขณะที่ประเทศเยอรมนี ต้องรอประมาณ 1 อาทิตย์ หรืออาจนานกว่านั้น
2.) การขอบัตร ATM ใบใหม่ ที่ประเทศไทยสามารถทำเรื่องขอรับได้ทันที ในขณะที่ประเทศเยอรมนี ต้องรอประมาณ 1 อาทิตย์ หรืออาจนานกว่านั้น
3.) การขอซิมการ์ด ที่ประเทศไทยสามารถหาซื้อซิมการ์ดได้ทันที ในขณะที่ประเทศเยอรมนี ต้องรอประมาณ 1 อาทิตย์ หรืออาจนานกว่านั้น
4.) การรับชมช่องโทรทัศน์ของรัฐบาล ที่ประเทศไทยสามารถรับชมได้ฟรี ในขณะที่ประเทศเยอรมนี ต้องเสียเงินประมาณ 670 บาทต่อเดือน

เปิดประวัติ 'นายอุดม รัฐอมฤต' ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ที่ถูกนักศึกษา มธ.แบน!! ไม่ให้มาเป็นอาจารย์สอนพิเศษ

🔍 เช็กประวัติ 'นายอุดม รัฐอมฤต' ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ที่ถูกนักศึกษา มธ.แบน!! ไม่ให้มาเป็นอาจารย์สอนพิเศษ

รู้หรือไม่!? ‘ประเทศไทย’ ติดอันดับ 11 ของโลก ประเทศที่มี ‘ทอง’ และ ‘เงินทุนสำรอง’ มากที่สุด

🔍 รู้หรือไม่!? ‘ประเทศไทย’ ติดอันดับ 11 ของโลก ประเทศที่มี ‘ทอง’ และ ‘เงินทุนสำรอง’ มากที่สุด✨✨

5 ประเทศที่ใช้เวลาจัดตั้งรัฐบาล ‘นานที่สุดในโลก’

ช่วงนี้การเมืองไทยร้อนระอุ และถูกพูดถึงอย่างหนักหน่วงทั้งในโลกออนไลน์ ออฟไลน์ และสื่อต่างชาติก็ให้ความสนใจอย่างยิ่ง หลายคนเกิดความกังวลว่าการจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนี้จะใช้เวลานานและส่งผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชน 

วันนี้ THE STATES TIME ได้รวบรวม 5 ประเทศที่ใช้เวลาจัดตั้งรัฐบาล ‘นานที่สุดในโลก’ มาให้ดูกัน จะมีประเทศอะไรบ้างมาดูกัน

1. เบลเยียม ใช้เวลา 541 วัน การเลือกตั้งในปี 2010 ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เพราะความแตกต่างทางนโยบาย จากฝ่ายการเมืองอย่าง ‘พรรคการเมืองฝ่ายเฟลมมิช’ และ ‘ฝ่ายฟรองโคโฟน’ โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปประเทศ ไม่มีรัฐบาลกลางเกือบ 2 ปี จนถูกบันทึกลงสถิติโลก

2. สเปน ใช้เวลา 315 วัน ในปี 2015 การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่อาจทำให้สเปนพ้นจากทางตันได้ เพราะถึงแม้พรรคสายอนุรักษ์นิยมจะชนะ แต่ไม่สามารถคุมเสียงข้างมากในสภาที่จำนวน 176 ที่นั่งเอาไว้ได้ จากทั้งหมด 350 ที่นั่ง อีกทั้งพรรคการเมืองอื่น ๆ ก็มีท่าทีต่อต้านการเมืองรูปแบบเดิม ๆ โดยพรรคประชาชนสเปนพยายามเจรจากับกลุ่มพรรคการเมืองอื่นหลายครั้ง แต่ก็ล้มเหลว กว่าจะตั้งรัฐบาลได้สำเร็จก็กินเวลาเกือบ 1 ปี

3. เนเธอร์แลนด์ ใช้เวลา 225 วัน หลังการเลือกตั้งในปี 2017 รัฐบาล 4 พรรคผสมของเนเธอร์แลนด์ ที่มีทั้งสายเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยม โดยมีนโยบายสนับสนุนความหลากหลายทางเพศที่ต่างกัน จนต้องใช้เวลาเจรจากัน 225 วัน แถมยังมีเสียงข้างมากเกินรัฐสภาแค่ 1 เสียงเท่านั้น ขณะที่มีพรรคการเมืองอยู่ในสภาถึง 13 พรรค 

4. เยอรมนี ใช้เวลา 136 วัน เกือบจะต้องเลือกตั้งใหม่ เพราะจัดตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จ เมื่อนางแองเกลา เมเคิล ผู้นำพรรค CDU ชนะการเลือกตั้งในปี 2017 ด้วยคะแนน 33% ซึ่งถือว่าต่ำมาก จึงต้องจัดตั้งรัฐบาล รวมกับพรรค SDP ซึ่งได้ที่นั่งอันดับ 2 แต่การเจรจาล้มเหลวหลายครั้ง เพราะมีนโยบายไม่ตรงกันหลายเรื่อง จนต้องใช้เวลาเจรจานาน 136 วัน ท้ายสุดต้องยอมยก ก.คลัง ก.ต่างประเทศ ก.แรงงาน ให้พรรค SDP ถือเป็นการเจรจาที่นานที่สุดในประวัติศาสตร์เยอรมนี

5. สวีเดน ใช้เวลา 134 วัน ในปี 2018 พรรค Social Democrats ได้คะแนนเสียงต่ำที่สุดในรอบศตวรรษของพรรค จึงต้องรวมคะแนนเสียงกับกลุ่มพรรคฝั่งซ้ายอื่น ๆ จนอยู่ที่ 40.6% ขณะที่อันดับ 2 รวมคะแนนเสียงได้อยู่ที่ 40.3% ซึ่งนั่นก็ยังไม่พอให้ Social Democrats จัดตั้งรัฐบาลได้ ทางรัฐสภาจึงมีมติหลังการเจรจากว่า 134 วัน ให้ผู้นำพรรค Social Democrats เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย ตัดปัญหาการเลือกตั้งที่หาข้อสรุปไม่ได้ไป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top