Friday, 29 March 2024
INFO

จีนอยู่ตรงไหน? ในความขัดแย้ง 'อิสราเอล-ปาเลสไตน์'

ปัจจุบัน 'จีน' ถือหนึ่งในผู้เล่นที่มีบทบาทสูงในเวทีโลกทั้งในมิติเศรษฐกิจและในมิติความมั่นคง เชื่อว่า จีนไม่ได้เลือกข้างที่จะสนับสนุนด้านใด ไม่ว่าจะเป็น อิสราเอล ปาเลสไตน์ และ/หรือ ฮามาส แต่จีนเลือกข้างการสนับสนุนการสร้างสันติภาพในภูมิภาคตะวันออกกลาง

ที่เป็นเช่นนี้ เพราะ ‘จีน’ ดำเนินนโยบายเช่นนี้มาแล้วอย่างต่อเนื่องยาวนาน อย่างน้อยก็ตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

โดยจีนภายใต้การนำของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงก็เริ่มสร้างสัมพันธ์ทางการทูตที่ดีกับโลกมุสลิมผ่านประเด็นที่เปราะบางที่สุดในโลกมุสลิม ซึ่งก็คือ ประเด็นปาเลสไตน์ โดยเชิญทั้ง มาห์มูด อับบาส (Mahmoud Abbas) ประธานาธิบดีแห่งรัฐปาเลสไตน์ และ เบนจามิน เนทันยาฮู (Benjamin Netanyahu) นายกรัฐมนตรีอิสราเอลให้เดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการในช่วงเวลาเดียวกัน แม้จะเป็นคนละพื้นที่ก็ตาม (จีนเชิญ เนทันยาฮูไปยังมหานครเซี่ยงไฮ้ และเชิญอับบาสไปยังกรุงปักกิ่ง) 

จีนยังใช้ความเป็นเจ้าภาพในการนำเสนอแผนการสร้างสันติภาพระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ ใน ค.ศ.2013 (Four-Point Peace Proposal) ซึ่งมีข้อเสนอคือ...

1) เรียกร้องให้มีการก่อตั้งรัฐปาเลสไตน์ที่มีอิสระเสรีภาพทุกประการอยู่ร่วมควบคู่ไปกับรัฐอิสราเอล โดยยึดแผนที่และเขตแดนตามที่ตกลงกันไว้ใน ค.ศ. 1967 (ซึ่งปัจจุบันฝ่ายอิสราเอลเข้าไปครอบครองดินแดนเกือบทั้งหมดของปาเลสไตน์) โดยให้เมืองหลวงของปาเลสไตน์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองเยรูซาเล็ม 

2) อิสราเอลยังมีสิทธิในการรักษาความมั่นคงของตนเอง แต่ต้องเริ่มต้นกระบวนการเจรจาสันติภาพเพื่อสันติสุขที่ยั่งยืนโดยมีประชาชนของทั้งสองรัฐเป็นที่ตั้ง 

3) เรียกร้องให้ฝ่ายอิสราเอลยุติการเข้าไปตั้งถิ่นฐาน การปิดล้อมและยึดครองพื้นที่ฉนวนกาซา และทั้ง 2 ฝ่ายต้องยุติการใช้ความรุนแรงต่อพลเรือน รวมทั้งต้องแสวงหาทางออกสำหรับนักโทษชาวปาเลสไตน์ร่วมกัน โดยเชื่อว่านี่คือเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการเริ่มต้นการเจรจาสันติภาพ และ 

4) เรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมและให้การสนับสนุนเพื่อให้การเจรจาระหว่าง 2 ฝ่ายเกิดขึ้นได้อีกครั้ง รวมทั้งเรียกร้องให้นานาชาติให้ความช่วยเหลือแก่ชาวปาเลสไตน์เพิ่มขึ้น 

สิ่งนี้คือการแสดงความพยายามครั้งแรกของจีนที่จะเข้ามามีบทบาทในการไกล่เกลี่ยเพื่อกระบวนการสร้างความสมานฉันท์ท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง และนั่นทำให้คะแนนนิยมและความชื่นชมจีนในกลุ่มประชาคมความร่วมมือสันนิบาตอาหรับ (Arab League) อันประกอบไปด้วยสมาชิก 22 ประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ได้แก่ แอลจีเรีย, บาห์เรน, คอโมโรส, จิบูตี, อียิปต์, อิรัก, จอร์แดน, คูเวต, เลบานอน, ลิเบีย, มอริเตเนีย, โมร็อกโก, โอมาน, ปาเลสไตน์, กาตาร์, ซาอุดิอาระเบีย, โซมาเลีย, ซูดาน, ซีเรีย, ตูนิเซีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน มีความนิยมต่อจีนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 

อีกทั้งจีนเองก็ยังดำเนินการผลักดันข้อเสนอสันติภาพนี้อย่างต่อเนื่อง 

โดยล่าสุดใน ค.ศ.2021 (ก่อนที่จะมีการปะทะกันครั้งล่าสุดในวันที่ 7 ตุลาคม 2023) หวัง อี้ (王毅 Wáng yì) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้นก็ยังคงเดินหน้าผลักดันข้อเสนอเพื่อสันติภาพ 4 ประการข้างต้น โดยจีนเรียกร้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายหยุดปฏิบัติการทางทหารและหยุดการเป็นศัตรูกันโดยทันที และกล่าวว่า “อิสราเอลต้องใช้ความยับยั้งชั่งใจเป็นพิเศษ” รวมถึงเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการดำเนินการแผนการสร้างสันติภาพ ค.ศ. 2013

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าการออกมาเรียกร้องของจีนใน ค.ศ. 2021 นี้ก็เป็นการตอบโต้แนวทางการขับเคลื่อนปัญหาตะวันออกกลางของสหรัฐฯ อย่างตรงไปตรงมา เพราะก่อนหน้านั้นสหรัฐฯ เพิ่งจะขัดขวางมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่เรียกร้องให้มีการหยุดยิงในพื้นที่ขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ รวมทั้งสหรัฐฯ ยังอนุมัติการขายอาวุธมูลค่า 735 ล้านดอลลาร์แก่อิสราเอล ท่ามกลางการโจมตีอย่างต่อเนื่องของอิสราเอลต่อ ศูนย์พักพิงพลเรือนในฉนวนกาซา 

การแสดงความจริงใจ และการผลักดันสันติภาพในดินแดนปาเลสไตน์อย่างต่อเนื่องของจีนถือเป็นการซื้อใจประชาคมโลกมุสลิมซึ่งรู้สึกเจ็บแค้นและชิงชังในท่าทีรุกรานของอิสราเอล รวมถึงแนวทางของโลกตะวันตกที่นำโดยสหรัฐฯ ที่มักจะใช้การสร้างความแตกแยกระหว่างรัฐต่าง ๆ ในโลกมุสลิมเพื่อเข้าไปครอบงำ และ/หรือครอบครองการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง

และนี่คือข้อความบางส่วนจาก บทที่ 19 พันธมิตรซุนกวน-เล่าปี่ แห่งศตวรรษที่ 21: พันธมิตรจีน โลกมุสลิม และเศรษฐกิจเกิดใหม่ จากหนังสือ Amidst the Geo-Political Conflicts #สมรภูมิพลิกอำนาจโลก โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม และ รองศาสตราจารย์ ดร.จักรี ไชยพินิจ เผยแพร่โดย สำนักพิมพ์มติชน 

พาสปอร์ตมาเลเซีย ไปไหนก็ได้...ยกเว้น 'อิสราเอล'

รู้หรือไม่? ในพาสปอร์ตของมาเลเซีย จะมีข้อความระบุไว้ว่า… ‘This passport is valid for all countries except Israel’ หรือแปลว่า ‘หนังสือเดินทางนี้ใช้ได้กับทุกประเทศ ยกเว้นอิสราเอล’

ปัจจุบันความสัมพันธ์ของ ‘มาเลเซีย-อิสราเอล’ อยู่ในระดับคู่ขนาน และเมื่อเกิดสงคราม ‘อิสราเอล-ปาเลสไตน์’ ยิ่งทำให้ทางการของมาเลเซีย ‘ตัดความสัมพันธ์พลเมือง’ โดยไม่ให้เข้าอิสราเอล แต่ในทางกลับกัน ความสัมพันธ์ระหว่าง ‘มาเลเซีย-ปาเลสไตน์’ นั้นดีมาก หนำซ้ำในฉนวนกาซา ยังมีถนนชื่อ ‘มาเลเซีย’ อีกด้วย

3 การเคลื่อนไหวใหญ่ของญี่ปุ่น ทวงคืนการเติบโตทางเศรษฐกิจ

👉การเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของญี่ปุ่น ก้าวสู่ยุคใหม่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ นั่นก็คือ การออกมาตรการล่าสุดภายใต้กฎหมายฉบับสำคัญที่มุ่งส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น มีด้วยกัน 3 ด้าน ได้แก่

1.เทคโนโลยีคลาวด์
รัฐบาลญี่ปุ่นได้สนับสนุนโครงการคลาวด์ ของ ‘SAKURA internet’ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้าน AI ของญี่ปุ่น รวมทั้งเร่งให้เกิดการวิจัยและพัฒนา generative AI และการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ภายในประเทศ

2.เซมิคอนดักเตอร์ 
รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจให้เงินทุนส่งเสริมอุตสาหกรรมชิปเซมิคอนดักเตอร์ 8 โครงการ รวมถึงเงินทุนสนับสนุนให้กับ ‘SHINKO Electric Industries’ สูงถึง 17.8 พันล้านเยน หรือประมาณ 4.4 พันล้านบาท เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับซัพพลายเชนด้านเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศที่ครอบคลุมอุปกรณ์การผลิต ชิ้นส่วนและส่วนประกอบ วัตถุดิบ ตลอดจนการเป็นฐานการผลิต

3.เครื่องจักรกลและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
รัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติแผนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม จำนวน 3 หมื่นล้านเยน หรือคิดเป็น 7.5 พันล้านบาท ภายใต้กฎหมายการส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจเป็นครั้งแรก ซึ่งมุ่งไปยังผู้ผลิตหลักของกลุ่มเครื่องจักรกลและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในญี่ปุ่น โดยรัฐบาลต้องการเสริมสร้างขีดความสามารถในการผลิตอุปกรณ์ควบคุมที่มีผลกับการพัฒนาประสิทธิภาพของเครื่องจักรกลและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม อุปกรณ์ควบคุมนี้จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับญี่ปุ่นซึ่งมีความสำคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ

หลักการทรงงาน 23 ประการ ของ ‘ในหลวงรัชกาลที่ 9’ พระผู้เป็นศูนย์รวมใจไทยทั้งชาติ

หลักการทรงงาน 23 ประการของ ‘ในหลวงรัชกาลที่ 9’ พระผู้เป็นศูนย์รวมใจไทยทั้งชาติ 🙏🏻🇹🇭✨

1.) ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ
การที่จะพระราชทานพระราชดำริเพื่อดำเนินงานโครงการ จะทรงศึกษาข้อมูลรอบด้านจากเอกสาร แผนที่ สอบถามเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และราษฎรในพื้นที่ ให้ได้รายละเอียดที่เป็นประโยชน์ครบถ้วน เพื่อพระราชทานความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ตรงความต้องการของประชาชน

2.) ระเบิดจากข้างใน
พระองค์ทรงมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคน ทรงตรัสว่า “... ต้องระเบิดจากข้างใน หมายความว่า ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนา ให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึงออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำเอาความเจริญ หรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาสังคมภายในหมู่บ้านที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว”

3.) แก้ปัญหาที่จุดเล็ก
พระองค์ทรงเปี่ยมไปด้วยพระอัจฉริยภาพในการแก้ไขปัญหา ทรงมองปัญหาในภาพรวม (Macro) ก่อนเสมอ แต่การแก้ปัญหาของพระองค์จะเริ่มจากจุดเล็กๆ (Micro) คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ที่คนมักจะมองข้าม

4.) ทำตามลำดับขั้น
ในการทรงงานพระองค์ทรงเริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นของประชาชนที่สุดก่อน ได้แก่ งานด้านสาธารณสุข เมื่อร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้วก็จะสามารถทำประโยชน์อื่นๆ ต่อไปได้ จากนั้นด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร การอุปโภค บริโภค ที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการให้ความรู้ทางวิชาการ-เทคโนโลยี เน้นปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ราษฎรนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด

5.) ภูมิสังคม
การพัฒนาใดๆ ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศของบริเวณนั้นว่าเป็นอย่างไร และสังคมวิทยาเกี่ยวกับลักษณะนิสัยใจคอของคน ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน

6.) องค์รวม
ทรงมีวิธีคิดอย่างองค์รวม (Holistic) หรือมองอย่างครบวงจรในการที่จะพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการหนึ่งนั้น จะทรงมองเหตุการณ์ ที่จะเกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง ดังเช่นกรณีของ (ทฤษฎีใหม่) ที่พระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทยเป็นแนวทางประกอบอาชีพแนวทางหนึ่ง ที่พระองค์ทรงมองอย่างองค์รวม ตั้งแต่การถือครองที่ดิน โดยเฉลี่ยของประชาชนชาวไทยประมาณ 10-15 ไร่ การบริหารจัดการที่ดินและแหล่งน้ำอันเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพ เมื่อมีน้ำในการเกษตรแล้ว จะส่งผลให้ผลิตดีขึ้น และหากมีผลิตมากขึ้น เกษตรกรต้องรู้วิธีการจัดการและการตลาด รวมถึงการรวมกลุ่มรวมพลังชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เพื่อพร้อมที่จะออกสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมภายนอกได้อย่างครบวงจรนั้น คือ ทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 1 2 และ 3

7. ไม่ติดตำรา
การพัฒนาตามราชดำริของพระองค์ ลักษณะพัฒนาที่อนุโลมและรอมชอมกับสภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และสภาพของสังคม จิตวิทยาแห่งชุมชน ‘ไม่ติดตำรา’ ไม่ผูกมัดติดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่แท้จริงของคนไทย

8.) ประหยัดเรียบง่าย
ได้ประโยชน์สุดในเรื่องของความประหยัดนี้ ประชาชนชาวไทยเคยเห็นว่า หลอดยาสีพระทนต์นั้นทรงใช้อย่างคุ้มค่าอย่างไร ฉลองพระองค์แต่ละองค์ทรงใช้อยู่เป็นเวลานาน หรือแม้แต่ฉลองพระบาทหากชำรุดก็จะส่งซ่อมและใช้อย่างคุ้มค่า ขณะเดียวกันการพัฒนาช่วยเหลือราษฎร ทรงใช้ความเรียบง่ายและประหยัดในการแก้ไขปัญหา ให้ราษฎรสามารถทำได้เอง ประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคมาแก้ไขปัญหา โดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยากนัก

9.) ทำให้ง่าย
ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถของพระองค์ ทำให้การคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุงและแก้ไข งานพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริดำเนินไปโดยง่าย และสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ระบบนิเวศโดยส่วนรวม ตลอดจนสภาพสังคมของชุมชนนั้นๆ ทรงโปรดที่จะทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นง่าย ทำสิ่งที่สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย อันเป็นการแก้ปัญหาด้วยการใช้กฎธรรมชาติเป็นแนวทางนั้นเอง แต่การทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นง่ายนั้นเป็นของยาก ดังนั้นคำว่า “ทำให้ง่าย” หรือ “Simplicity” จึงเป็นหลักคิดสำคัญของการพัฒนาประเทศ ที่มาในรูปแบบของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

10.) การมีส่วนร่วม
พระองค์ทรงเป็นนักประชาธิปไตย จึงทรงนำ “ประชาพิจารณ์” มาใช้ในการบริหาร เพื่อเปิดโอกาสให้สาธารณชน ประชาชน หรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ได้มาร่วมกันแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชน หรือความต้องการของสาธารณชน

11.) ประโยชน์ส่วนรวม
การปฏิบัติพระราชกรณียกิจ และการพระราชทานพระราชดำริในการพัฒนา และช่วยเหลือพสกนิกรของพระองค์ ทรงระลึกถึงส่วนรวมเป็นสำคัญ

12.) บริการรวมที่จุดเดียว
‘การบริการรวมที่จุดเดียว’ หรือ ‘One Stop Services’ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในระบบบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย โดยทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้นแบบในการบริการรวมที่จุดเดียว เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนที่ใช้บริการ ให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยมีหน่วยงานราชการต่างๆ มาร่วมดำเนินการและให้บริการประชาชน ณ ที่แห่งเดียว

13.) ทรงใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
ทรงเข้าใจถึงธรรมชาติและต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดธรรมชาติ ทรงมองอย่างละเอียดถึงปัญหาธรรมชาติ หากเราต้องการแก้ไขธรรมชาติ จะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ เช่น การแก้ไขปัญหาป่าเสื่อมโทรม ได้พระราชทานพระราชดำริ ‘การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก’ ปล่อยให้ธรรมชาติช่วยในการฟื้นฟูธรรมชาติ หรือแม้กระทั่ง ‘การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง’

14.) ใช้อธรรมปราบอธรรม
ทรงนำความจริงเรื่องความเป็นไปแห่งธรรมชาติ และกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักการแนวปฏิบัติที่สำคัญ ในการแก้ปัญหาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติเข้าสู่ระบบที่เป็นปกติ เช่น การทำน้ำดีขับไล่น้ำเสีย หรือเจือจางน้ำเสียให้กลับเป็นน้ำดีตามจังหวะการขึ้นลงตามธรรมชาติของน้ำ การบำบัดน้ำเน่าเสียโดยใช้ผักตบชวา ซึ่งมีตามธรรมชาติให้ดูดซึมสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำ ดังพระราชดำรัสความว่า “ใช้อธรรมปราบอธรรม”

15.) ปลูกป่าในใจคน
เป็นการปลูกป่าลงบนแผ่นดิน ด้วยความต้องการของมนุษย์ทำให้ต้องการบริโภคและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง เพื่อประโยชน์ของตนเองและสร้างความเสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อม ไม่รู้จักพอ ปัญหาความไม่สมดุลจึงบังเกิดขึ้น ดังนั้นในการฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับคืนมา จะต้องปลูกจิตสำนึกในการรักผืนป่าให้แก่คนเสียก่อน

16.) ขาดทุนคือกำไร
“ขาดทุน คือ กำไร” (Our loss is our gain) “การเสีย คือ การได้ ประเทศชาติก็จะก้าวหน้า และการที่คนอยู่ดีมีสุข เป็นการนับที่เป็นมูลค่าเงินไม่ได้…” จากพระราชดำรัสดังกล่าว คือหลักการที่พระองค์ ทรงมีต่อพสกนิกรไทยด้วย ‘การให้’ และ ‘การเสียสละ’ เป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร คือความอยู่ดี มีสุขของราษฎร ซึ่งสามารถสะท้อนเป็นรูปธรรมชัดเจนได้

17.) การพึ่งพาตนเอง
การพัฒนาตามแนวพระราชดำริเพื่อการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น ด้วยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้ประชาชนแข็งแรง พอที่จะดำรงชีวิตต่อไป แล้วขั้นต่อไปก็คือ การพัฒนาให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อม และ ‘พึ่งตนเองได้’

18.) พออยู่พอกิน
การพัฒนาเพื่อให้พสกนิกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เริ่มจากการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในทุกภาคของประเทศ และพระองค์ได้ทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรด้วยพระองค์เอง จึงทรงเข้าพระราชหฤทัยสภาพปัญหาอย่างลึกซึ้ง ในการพัฒนานั้น หากมองในภาพรวมของประเทศมิใช่งานเล็กน้อย แต่ต้องใช้ความคิดและกำลังของคนทั้งชาติจึงจะบรรลุผลสำเร็จด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์จึงทำให้คนทั้งหลายได้ประจักษ์ว่า แนวทางพระราชดำริในพระองค์นั้น ‘เรียบง่าย ปฏิบัติได้ผล’ เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน

19.) เศรษฐกิจพอเพียง
‘เศรษฐกิจพอเพียง’ เป็นปรัชญาที่ทรงพระราชทานชี้แนวทางดำเนินชีวิต แก่พสกนิกรมานานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้พระราชทานไว้ ดังนี้

“ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อมามีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน”

20.) ความซื่อสัตย์สุจริตจริงใจต่อกัน
“คนที่ไม่มีความสุจริต คนที่ไม่มีความมั่นคง ชอบแต่มักง่าย ไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณ เป็นประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ”
- พระราชดำรัสฯ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2522

“ผู้ที่มีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้ มากกว่าผู้มีความรู้มากแต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ”
- พระราชดำรัสฯ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533

“ผู้ว่า CEO ต้องเป็นคนที่สุจริต ทุจริตไม่ได้ ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียวก็ขอแช่งให้มีอันเป็นไป ข้าราชการหรือประชาชนที่มีการทุจริต ถ้ามีทุจริตแล้วบ้านเมืองพัง ที่เมืองไทยพังมาเพราะมีการทุจริต”
- พระราชดำรัสฯ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2546

21.) ทำงานอย่างมีความสุข
พระองค์ทรงพระเกษมสำราญ และทรงมีความสุขทุกคราที่จะช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเคยมีพระราชดำรัสครั้งหนึ่งความว่า “ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกัน ในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น”

22.) ความเพียร
พระองค์ทรงริเริ่มโครงการต่างๆ ในระยะแรกไม่ได้มีความพร้อมมากนัก และทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งสิ้น แต่พระองค์ก็มิได้ท้อพระราชหฤทัย ทรงอดทนและมุ่งมั่นดำเนินงานนั้น ให้สำเร็จลุล่วง ดังเช่นพระราชนิพนธ์ ‘พระมหาชนก’ ซึ่งพระองค์ทรงใช้เวลาค่อนข้างนานในการคิดประดิษฐ์ถ้อยคำให้เข้าใจง่าย และปรับให้เข้ากับสภาพสังคมปัจจุบัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทยปฏิบัติตามรอยพระมหาชนก กษัตริย์ผู้เพียรพยายามแม้จะไม่เห็นฝั่งก็จะว่ายน้ำต่อไป เพราะถ้าไม่เพียรว่ายก็จะตกเป็นอาหารปู ปลา และไม่ได้พบกับเทวดาที่ช่วยเหลือมิให้จมน้ำ เช่นเดียวกับพระองค์ทรงริเริ่มทำโครงการต่างๆ ในระยะแรกที่ไม่มีความพร้อมในการทำงานมากนัก และทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งสิ้นแต่พระองค์ก็มิได้ท้อพระราชหฤทัย มุ่งพัฒนาบ้านเมืองให้บังเกิดความร่มเย็นเป็นสุข

23.) รู้ รัก สามัคคี
พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสในเรื่อง ‘รู้ รัก สามัคคี’ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่มีคุณค่าและมีความหมายลึกซึ้ง สามารถปรับใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย

รู้ : การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดนั้น จะต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา

รัก : คือ ความรัก เมื่อเรารู้ครบถ้วนกระบวนความแล้วจะต้องมีความรัก การพิจารณาที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ไขปัญหานั้นๆ คือ การสร้างฉันทะ

สามัคคี : การที่จะลงมือปฏิบัติควรคำนึงเสมอว่าเราจะทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือร่วมใจกันเป็นองค์กร เป็นหมู่คณะจึงจะมีพลังเข้าไปแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

'ไทย-อิสราเอล' ค้าขายอะไรกันบ้าง?

กลายเป็นข่าวใหญ่ เมื่ออิสราเอลถูกกลุ่มปาเลสไตน์ติดอาวุธหรือ ‘ฮามาส’ โจมตีแบบสายฟ้าแลบด้วยจรวดราว 5,000 ลูกและแรงงานไทยก็ถูกจับเป็นตัวประกันและเสียชีวิตหลายคน

แม้ตอนนี้อิสราเอลจะปิดล้อมฉนวนกาซาได้แล้ว แต่ความขัดแย้งยังคงเป็นฝุ่นตลบ ไม่จางหายโดยง่าย ‘ฮิซบอลเลาะห์’ ซึ่งเป็นกลุ่มมุสลิมชีอะห์ติดอาวุธในเลบานอน ใช้โอกาสชุลมุนนี้เข้าโจมตีทางตอนเหนือของอิสราเอล จนอิสราเอลต้องเร่งระดมพลทหารสำรองอีกกว่า 3 แสนนาย เพื่อรับศึกรอบประเทศ

ถ้าความขัดแย้งบานปลายไปมากกว่านี้ คำถามสำคัญคือ เศรษฐกิจไทยผูกติดกับอิสราเอลมากเพียงใด ไทยนำเข้าสินค้าอะไรจากอิสราเอลมากที่สุด ขณะเดียวกัน ไทยส่งออกอะไรไปอิสราเอลมากที่สุด เพื่อจะได้เตรียมรับมือผลกระทบในสินค้าเหล่านั้น

ข้อมูลจาก ‘กระทรวงพาณิชย์’ โดยร่วมมือกับกรมศุลกากร ระบุว่า ปี 2566 ตั้งแต่เดือน ม.ค - ส.ค. ไทยมีมูลค่าการค้ากับอิสราเอล 29,288 ล้านบาท โดยเป็นมูลค่าส่งออก 18,562 ล้านบาท และเป็นมูลค่านำเข้า 10,726 ล้านบาท ซึ่งไทยได้เปรียบดุลการค้าอิสราเอล 7,836 ล้านบาท อีกทั้งอิสราเอลนับเป็นคู่ค้าอันดับที่ 40 ของไทย

สำหรับสินค้าที่ไทยค้าขายกับอิสราเอล THE STATES TIMES ได้รวบรวมมาให้แล้ว จะมีอะไรบ้าง มาดูกัน!!

'สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา' สร้างประโยชน์อะไร ให้ชาวอยุธยาได้บ้าง

ชวนส่อง!! ประโยชน์ 3 ด้าน จาก ‘สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา’ 🚅💨 ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้พี่น้องชาวอยุธยาได้อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย!! 🇹🇭✨💵

สินค้า GI ไทยตัวไหน? ได้รับการขึ้นทะเบียนในต่างประเทศแล้วบ้าง?

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ยังคงเดินหน้าส่งเสริมสินค้า GI ไทยขึ้นทะเบียน GI ในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าให้กับผู้ประกอบการ GI สร้างรายได้ให้กับชุมชนและรายได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของไทยได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ภารกิจ 5 ด้าน THEOS-2 ‘ขึ้นไปสู่อวกาศเพื่ออะไร??’

บันทึกประวัติศาสตร์ไทยส่งดาวเทียม THEOS-2 ขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ ดาวเทียมไทย THEOS2 ขึ้นสู่ห้วงอวกาศได้สำเร็จเวลา 08.36 น. วันที่ 9 ต.ค.66 จากปล่อยจากฐาน ที่ ท่าอวกาศยานเฟรนช์เกียนา ทวีปอเมริกาใต้

สำหรับ ‘THEOS-2’ เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติความละเอียดสูง ‘ฝืมือคนไทย’

มีประโยชน์สำคัญดังนึ้...

1. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ปริมาณพื้นที่ป่าที่เคยมีและการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าที่เกิดขึ้นว่ามีการลดลงหรือเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ในพื้นที่ไหนบ้าง และประเทศไทยควรมีแนวทางในการบริหารจัดการอย่างไรเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

2. ด้านการจัดการภัยพิบัติ เพื่อส่งข้อมูลให้กับหน่วยงานที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังภัยพิบัติต่างๆ อาทิ ไฟป่า น้ำท่วม น้ำแล้ง และ PM 2.5 สามารถวางแผนความช่วยเหลือต่าง ๆ ได้อย่างเท่าทันต่อสถานการณ์และทันท่วงที

3. ด้านการจัดการเกษตร เพื่อติดตามและคาดการณ์การปลูกพืชเศรษฐกิจ เพื่อคาดการณ์ผลผลิตและราคาพืชผล รวมถึงการวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของพืช เพื่อการใส่ปุ๋ยที่แม่นยำ หรือการแก้ปัญหาการระบาดของแมลงและโรคพืช เป็นต้น

4. ด้านการแบ่งปันข้อมูล โดยประเทศไทยจะเป็นเจ้าของข้อมูล ที่แบ่งปันกันได้ทั้งในแวดวงวิชาการ แวดวงธุรกิจ และความมั่นคง ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้มีประโยชน์แค่ภาครัฐเท่านั้นแต่ยังรวมถึงภาคเอกชนและผู้ประกอบการเทคโนโลยีอวกาศทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย

5. ด้านการพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนไทยที่สนใจในด้านวิทยาศาสตร์และอยากทำงานสายวิทยาศาสตร์ โดย GISDA ได้วางแผนระยะยาว เรื่องการส่งเสริมบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

เปิด 6 เหตุผล!! 99 นักวิชาการและคณาจารย์เศรษฐศาสตร์ ค้าน!! แจกเงินดิจิทัล 10,000

เปิด 6 เหตุผล!! จากนักวิชาการและคณาจารย์เศรษฐศาสตร์จำนวน 99 คน ที่ได้ออกแถลงการณ์คัดค้านและเรียกร้องให้ รัฐบาลยกเลิก 'นโยบายแจกเงิน digital 10,000 บาท' เพราะเป็นนโยบายที่ ‘ได้ไม่คุ้มเสีย'

ข้อควรรู้!! ก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย ‘รถไฟฟ้าสายสีแดง - สีม่วง’ อ่วม!! ขาดทุนหนัก 7 ล้าน / วัน

รัฐบาลมีนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย โดยจะเปิดให้บริการ 2 สายก่อน คือสายสีแดงและสายสีม่วง มาดูกันว่าในปัจจุบันรถไฟฟ้าทั้งสองสายนี้ขนผู้โดยสารวันละเท่าไหร่ มีรายได้มากน้อยเพียงใด สายสีแดงหรือสายสีม่วงขาดทุนมากกว่า?

1. รถไฟฟ้าสายสีแดง
รถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นการลงทุนทั้งหมดโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีเส้นทางจากบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร และจากบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งหมด 41 กิโลเมตร ค่าโดยสารในปัจจุบัน 12-42 บาท 

จากข้อมูลการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 พบว่า

(1) ผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวัน 19,611 คน
(2) รายได้เฉลี่ยต่อวัน 0.59 ล้านบาท
(3) ค่าจ้างบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาต่อวัน 1.31 ล้านบาท
(4) ขาดทุนเฉลี่ยต่อวัน 0.72 ล้านบาท

2. รถไฟฟ้าสายสีม่วง
รถไฟฟ้าสายสีม่วงเป็นการลงทุนทั้งหมดโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีเส้นทางจากเตาปูน-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร ค่าโดยสารในปัจจุบัน 17-42 บาท 

จากข้อมูลการเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 พบว่า

(1) ผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวัน 56,255 คน
(2) รายได้เฉลี่ยต่อวัน 1.41 ล้านบาท
(3) ค่าจ้างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาต่อวัน 7.39 ล้านบาท
(4) ขาดทุนเฉลี่ยต่อวัน 5.98 ล้านบาท

3. ในปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงขาดทุนรวมกันวันละเกือบ 7 ล้านบาท! รถไฟฟ้าสายสีแดงขาดทุนวันละ 0.72 ล้านบาท ในขณะที่รถไฟฟ้าสายสีม่วงขาดทุนมากกว่า โดยขาดทุนถึงวันละ 5.98 ล้านบาท รวมทั้งสองสายขาดทุนวันละ 6.7 ล้านบาท

4. ถ้าเก็บ 20 บาท ตลอดสาย จะขาดทุนหนักขึ้น!!
รมว.คมนาคม บอกว่าจะเร่งผลักดันรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เฉพาะสายสีแดงและสายสีม่วงเป็นสายนำร่องให้ได้ภายใน 3 เดือน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2567 ให้ผู้โดยสาร กรณีนี้หากผู้โดยสารจ่าย 20 บาท เพื่อใช้สายสีแดง (หรือสายสีม่วง) เมื่อเปลี่ยนไปใช้สายสีอื่นจะต้องจ่ายค่าโดยสารเพิ่มขึ้นตามอัตราค่าโดยสารของสายนั้น ๆ 

การเก็บ 20 บาท ตลอดสาย แต่ไม่สามารถใช้ข้ามสายได้ จะไม่ทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมาก และจะสร้างความไม่พอใจให้กับผู้โดยสารที่ในปัจจุบันจ่ายค่าโดยสารต่ำกว่า 20 บาท โดยเฉพาะผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งจ่ายเริ่มต้นเพียง 12 บาท เท่านั้น

เมื่อมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นไม่มาก รายได้จากค่าโดยสารก็จะต่ำกว่าเดิม เป็นผลให้รถไฟฟ้าทั้งสองสายขาดทุนหนักขึ้น

5. สรุป
เห็นด้วยกับการทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง แต่ก่อนเริ่มใช้ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย รมว.คมนาคม จะต้องรู้ว่ารัฐจะต้องสูญเสียรายได้ไปเท่าไหร่? คุ้มหรือไม่กับประโยชน์ที่จะได้รับจากการมีผู้ใช้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น? และที่สำคัญจะมีผู้ใช้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นกี่คน?


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top