Thursday, 28 March 2024
INFO

เปิด 10 ชุดนักเรียนสวยที่สุดในโลก จะมีประเทศไหนบ้าง มาดูกันเลย!! ✨✨

1. เกาหลีใต้ = ผู้หญิงมักจะสวมกระโปรงกับเสื้อเชิ้ต ส่วนผู้ชายจะเป็นกางเกงขายาว เสื้อเชิ้ต ผูกเน็คไทหูกระต่าย ให้ดูลูกคุณ ซึ่งโดยรวมการออกแบบนั้นจะพิถีพิถันและสะดุดตามีสไตล์อยู่เสมอ

2. ไทย = การออกแบบไม่ยุ่งยากจุกจิก กับเนื้อผ้าและสีผ้า มีเพียงแค่เชิ้ตสีขาวกับกระโปรง ก็สร้างความประทับใจได้ไม่ต่างกัน จนเป็นกระแสฮิตที่จีนและเวียดนาม

3. ญี่ปุ่น = การสวมเครื่องแบบนักเรียน เป็นข้อบังคับใน ม.ต้น และ ม.ปลายส่วนใหญ่
โดยผู้ชายจะสวมเสื้อเชิ้ตสีขาว แจ็คเก็ตสีเข้ม ส่วนผู้หญิงจะสวมเสื้อสีขาว แจ็กเก็ตสีเข้ม บวกกับกระโปรงที่มีเน็คไท หรือก็คือชุดทหารเรือ

4. เวียดนาม = ชุดนักเรียนหญิง จะพัฒนามาจากชุดอ่าวหญ่าย ที่เป็นชุดเเต่งกายประจําชาติ ใส่แล้วจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

5. ภูฏาน = จะสวมเครื่องแบบตามชุดประจําชาติของประเทศ

6. อังกฤษ = ปัจจุบันเครื่องแบบนักเรียนของอังกฤษส่วนใหญ่ จะมีสีหลักเป็นสีเขียวเข้ม สื่อถึงความสงบและเอื้อเฟื้อ

7. ฮ่องกง = ฮ่องกงได้สร้างรูปแบบเพิ่มเติม โดยใช้สีฟ้าหรือสีขาวเป็นสีพื้นฐาน โดยมีการผสมเฉดสีการตัดเย็บและการประดับตกแต่งที่แตกต่างกันตามแต่ละโรงเรียน

8. จีน = โรงเรียนส่วนใหญ่ยังคงรักษาเอกลักษณ์แบบดั้งเดิมเอาไว้ โดยเด็กประถมจะแต่งเครื่องแบบคล้ายทหาร ใส่เสื้อสีขาวกับผ้าพันคอสีแดง ส่วนนักเรียนหญิงระดับมัธยมปลาย อนุญาตให้สวมชุดจีนโบราณได้ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างเสื้อเชิ้ตที่มีสไตล์จากชุดกี่เพ้า พร้อมสวมคู่กับกระโปรง

9. มาเลเซีย = เด็กผู้หญิงจะสวมเสื้อเชิ้ตสีขาว สวมทับด้วยชุดกระโปรงสีฟ้าที่เป็นเอกลักษณ์ เรียกได้ว่าเป็นชุดนักเรียนที่กลายเป็นแฟชันสําหรับนักท่องเที่ยว ฮิตไม่แพ้ชุดนักเรียนไทยเลย ส่วนเด็กผู้ชายมักสวมเสื้อเชิ้ตสีขาวกับกางเกงสีขาวหรือสีอื่น ๆ

10. ศรีลังกา = เครื่องแบบส่วนใหญ่จะเป็นสีขาว มีเพียงสีน้ำเงินเท่านั้นที่จะมิกซ์เข้ากัน และเด็กผู้หญิงทุกวัยจะสวมเสื้อผ้าที่มีโทนสีขาวเป็นหลัก ให้ดูเรียบง่าย และสะดุดตา

‘กรุงเทพ’ ยืนหนึ่ง!! เมืองดีที่สุดในเอเชีย 2024

‘ประเทศไทย’ ยังคงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก หลังนิตยสารท่องเที่ยวชื่อดัง DestinAsian ประกาศให้กรุงเทพฯ คว้าอันดับ 1 เมืองที่ดีที่สุด (Best Cities 2024) ในประเภทเมืองที่เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว (Destination) ในเอเชียแปซิฟิก ตามมาด้วยกรุงโตเกียว สิงคโปร์ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ฮ่องกง กรุงโซล นครซิดนีย์ นครเซี่ยงไฮ้ ไทเป และนครโฮจิมินห์ (https://destinasian.com/readers-choice-awards/2024-winners/best-cities)

การจัดอันดับครั้งนี้ เป็นผลมาจากการคัดเลือกของผู้อ่าน ของนิตยสาร DestinAsian ซึ่งได้ประกาศพร้อมจัดอันดับหมวดหมู่ต่าง ๆ ทั้งจุดหมายปลายทางประเภทเมือง เกาะ โรงแรมและรีสอร์ต สายการบิน สนามบิน และการเดินเรือ ที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านเป็นประจำทุกปี ซึ่งในประเภทเกาะที่ดีที่สุด เกาะของไทยก็ได้รับความนิยมในอันดับ 3 คือ ภูเก็ต ตามมาด้วย เกาะสมุย ในอันดับที่ 4 รองจากที่ 1 เกาะบาหลี และที่ 2 เกาะมัลดีฟส์

นอกจากนี้ ในประเภทสนามบิน สนามบินสุวรรณภูมิ ได้อันดับที่ 2 สนามบินที่ดีที่สุด รองจากสนามบินชางงีของสิงคโปร์ ที่ได้อันดับที่ 1 ส่วน อันดับ 3 คือ สนามบินนานาชาติฮ่องกง 

ทางด้านการจัดอันดับประเภทสายการบินที่ดีที่สุด ‘การบินไทย’ ได้อันดับที่ 3 รองจาก สิงคโปร์ แอร์ไลน์ และเอมิเรตส์ ในอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ 

ส่วนประเภทสายการบิน Low-cost ที่ดีที่สุด สายการบิน บางกอก แอร์เวย์ส ได้อันดับที่ 2 รองจาก แอร์เอเชีย

🔎10 ชาติในเอเชียที่เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มากกว่าไทย

‘ภาษีมูลค่าเพิ่ม’ หรือ value-added tax (VAT) เป็นภาษีที่เก็บบนมูลค่าเพิ่มของสินค้า/บริการในแต่ละขั้นของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทย เก็บ VAT อยู่ที่ 7% ถือว่าน้อยกว่าประเทศในเอเชียหลาย ๆ ประเทศ เช่น อินเดีย เก็บอยู่ที่ 18% รองลงมาคือซาอุดีอาระเบียเก็บอยู่ที่ 15%

วันนี้ THE STATES TIMES ได้รวบรวมรายชื่อ 10 ประเทศในเอเชียที่เก็บ VAT มากกว่าไทย จะมีประเทศไหนบ้าง มาดูกัน!!

ส่อง 'คนรวย' ใน 8 ประเทศ เริ่มเฟดตัวไปโกยทรัพย์ใน 'ต่างแดน'

รายงานจาก Ranking Royals เผยว่า ในปี 2023 จีนเป็นประเทศที่มีการย้ายออกสุทธิ (ส่วนต่างของการย้ายออกและย้ายเข้า) ของเศรษฐีระดับ HNWI (High Net Worth Individual) หรือบุคคลมั่งคั่งสูงที่มีการลงทุนมากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐจำนวน 13,500 ราย ตามมาด้วยอินเดียที่มีการย้ายออกสุทธิ 6,500 ราย และสหราชอาณาจักร มีการย้ายออกสุทธิ 3,200 ราย

สำหรับเหตุผลดังกล่าว เริ่มตั้งแต่ จีน จะพบว่า...

การใช้นโยบาย 'เจริญรุ่งเรืองร่วมกัน' (common prosperity) ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง (Xi Jinping) ของจีน กำลังบั่นทอนความมั่งคั่งของเหล่าเศรษฐีลง เป็นปัจจัยขับดันให้ผู้ลงทุนในจีนแห่ออกไปประเทศที่เป็นมิตรต่อการลงทุนมากกว่า เช่น สิงคโปร์ หรือมีการวางแผนสำรองในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ข้อจำกัดเรื่องโควิด-19 ที่ยืดเยื้อก็เป็นเหตุผลเพิ่มเติมที่คนเหล่าคนร่ำรวยจะเลือกออกไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ 

ส่วน อินเดีย แม้ว่าการย้ายออกสุทธิปี 2023 จะอยู่อันดับที่ 2 แต่ถือว่าจำนวนน้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งมีการย้ายออกสุทธิ 7,500 ราย โดยเหตุผลของการย้ายออกจากอินเดียมาจาก 'กฎหมายภาษีต้องห้าม' ประกอบกับกฎที่ซับซ้อนและซับซ้อนเกี่ยวกับการโอนเงินขาออกที่เปิดให้ตีความผิดและใช้ในทางที่ผิด เป็นเพียงประเด็นเล็กน้อยที่กระตุ้นให้เกิดกระแสการโยกย้ายการลงทุนจากอินเดียด้าน การอพยพย้ายถิ่นฐานของเหล่า HNWI ในสหราชอาณาจักร เหตุผลสำคัญ คือ Brexit และการเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อยกเลิกสถานะผู้เสียภาษีที่ไม่มีภูมิลำเนาในสหราชอาณาจักร โดยสถิติชี้ชัดว่าการลงทุนขาเข้าในสหราชอาณาจักรลดลงนับตั้งแต่ถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป ขณะที่เยอรมนีและฝรั่งเศสได้รับประโยชน์ไปแทน

ส่องราคาน้ำมันเฉลี่ยในประเทศอาเซียน (18 มี.ค. 67)

รายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 67 โดยราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ มีปัจจัยทางด้านราคา ดังนี้

1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน

2.ในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่

3.ประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน (อัตรากลาง) ณ วันที่ 15 มี.ค. 67 และประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด

ทั้งนี้สามารถดูราคาย้อนหลังได้ที่ EPPO - Energy Data Visualization หรือคลิกที่ https://public.tableau.com/app/profile/epposite/viz/EPPO_Inter_OilPrice/SUMMARYOILPRICING 

เปิด 20 อันดับ 'ชาติเอเชีย' ที่มีรายได้น้อยที่สุด

📍 เช็กลิสต์ 20 อันดับประเทศในเอเชียที่มีรายได้ต่ำที่สุด โดยอ้างอิงตามรายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ต่อหัว PPP (ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ)

ส่องราคาน้ำมันเฉลี่ยในประเทศอาเซียน (11 มี.ค. 67)

รายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 67 โดยราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ มีปัจจัยทางด้านราคา ดังนี้

1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน

2.ในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่

3.ประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน (อัตรากลาง) ณ วันที่ 8 มี.ค. 67 และประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด

ทั้งนี้สามารถดูราคาย้อนหลังได้ที่ EPPO - Energy Data Visualization หรือคลิกที่ https://public.tableau.com/app/profile/epposite/viz/EPPO_Inter_OilPrice/SUMMARYOILPRICING 

ส่องระดับรายได้ 11 ชาติอาเซียน ประเทศไทยอยู่กลุ่มไหน?

สิงคโปร์มี GNI (Gross National Income) หรือ รายได้ประชาชาติ โดยมีรายได้ประชากรต่อหัวสูงที่สุด และมีรายได้สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้!!

ทั้งนี้ ธนาคารโลก ได้จัดหมวดหมู่เศรษฐกิจโลกออกเป็นสี่กลุ่มรายได้ ได้แก่ ต่ำ, กลางล่าง, กลางบน และสูง ซึ่งอัปเดตทุกปีในวันที่ 1 กรกฎาคม โดยอิงตาม GNI ต่อหัวของปีก่อน คิดเป็นดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการจัดประเภทรายได้ของธนาคารโลกมีจุดมุ่งหมายเพื่อสะท้อนระดับการพัฒนาของประเทศ โดยอาศัย GNI ต่อหัวเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ

จากผลการจัดประเภทรอบนี้ สิงคโปร์ และ บรูไน เป็นสองประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีรายได้สูงที่สุด ในขณะที่มาเลเซีย, ไทย และอินโดนีเซียอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เหลืออยู่จะถูกจัดในกลุ่มรายได้ปานกลางตอนล่าง

สรุปสาระสำคัญ ประกาศกระทรวงพลังงาน ‘การแจ้งข้อมูลการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง’

น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของประชาชน และเป็นต้นทุนหลักของภาคธุรกิจในการประกอบกิจการ หากน้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายภายในประเทศมีการค้ากำไรเกินสมควร มีปริมาณการจัดจำหน่ายไม่เพียงพอ หรือไม่ได้คุณภาพแล้ว จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งต่อประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศ 

รัฐจึงจำเป็นต้องกำหนดนโยบายด้านการพลังงานให้เหมาะสมเพื่อเป็นหลักประกันให้น้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศมีราคาจำหน่ายที่ยุติธรรม มีปริมาณเพียงพอ และได้คุณภาพ แต่การที่รัฐจะสามารถกำหนดและดำเนินนโยบายด้านการพลังงานได้อย่างเหมาะสมนั้น จำเป็นที่รัฐจะต้องได้มาซึ่งข้อมูลราคาและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง 

กระทรวงพลังงานจึงจำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการกำหนดนโยบายด้านการพลังงานของประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของประเทศด้านเศรษฐกิจและความผาสุกของประชาชน

วันนี้ THE STATES TIMES ได้สรุปสาระสำคัญ ประกาศกระทรวงพลังงาน ‘การแจ้งข้อมูลการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง’ เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 67 หวังสะท้อนต้นทุนแท้จริง และ ราคาที่ยุติธรรม จะมีข้อกำหนดอะไรบ้าง มาดูกัน…


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top