Wednesday, 4 December 2024
NEWS FEED

"ตู่ นันทิดา" ไม่รอดดราม่าเตรียมขึ้นคอนเสิร์ต เจอชาวเน็ตเดือดน้ำท่วมไม่เห็นเงา งานนี้หลายคนต่อประเด็น พร้อมขยายวงดราม่า

มีดราม่าพุ่งใส่จนได้ สำหรับนักร้องและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ตู่-นันทิดา แก้วบัวสาย ที่ล่าสุดมีชื่อขึ้นคอนเสิร์ตดังคอนเสิร์ตหนึ่งในรูปแบบ Live Stream ซึ่งได้เริ่มจำหน่ายบัตรกันไปแล้ว โดยสาวตู่จะมาร่วมเสิร์ฟความสุข ความบันเทิงให้กับพี่น้องชาวไทยอย่างเต็มอิ่ม 

งานนี้หลังจากมีข่าวดังกล่าวออกไป ในโลกออนไลน์อย่างทวิตเตอร์ก็ได้มีชาวเน็ตรายหนึ่งมาเปิดประเด็นการขายบัตรในครั้งนี้ พร้อมข้อความว่า “นายก อบจ. เปิดขายบัตรคอนเสิร์ตแล้วค่า กดให้ทันนะคะ กดให้ทัน #ตู่นันทิดา #นายกหายไปไหน”

รู้จัก ‘Long COVID’ อาการหลงเหลือ หลังติดเชื้อโควิด-19

เป็นโควิด-19 รักษาหายแล้ว แต่ทำไมยังป่วยอยู่ หลายคนมีข้อสงสัย เนื่องจากผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาหายแล้วบางราย ยังรู้สึกมีอาการหลงเหลือต่อเนื่องเป็นเวลานาน  ซึ่งจะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกิน และผู้ที่มีโรคประจำตัว 

เรือดำน้ำสหรัฐฯ ชนวัตถุลึกลับ ขณะปฏิบัติภารกิจในน่านน้ำอินโด-แปซิฟิก

เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ลำหนึ่งของสหรัฐฯ ได้ความเสียหายและลูกเรือบาดเจ็บนับสิบคน หลังชนเข้ากับวัตถุไม่สามารถระบุเอกลักษณ์ ระหว่างปฏิบัติการใต้น้ำในเอเชีย จากการเปิดเผยของกองทัพเรืออเมริกาในวันพฤหัสบดี (7ต.ค.)

ยูเอสเอส คอนเนตทิคัต เรือดำน้ำโจมตีเร็วพลังงานนิวเคลียร์ "ชนกับวัตถุหนึ่งระหว่างดำน้ำเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 2 ตุลาคม ขณะกำลังปฏิบัติภารกิจในน่านน้ำสากลในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก" กองทัพเรือระบุในถ้อยแถลง

สำนักข่าว USNI News เว็บไซต์ที่รายงานข่าวกองทัพเรือโดยเฉพาะ ระบุว่ามีลูกเรือราว 10 กว่าคนได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้ อย่างไรก็ตามอาการบาดเจ็บของลูกเรือเหล่านั้นอยู่ในระดับ "เล็กน้อยจนถึงปานกลาง"

"อัครเดช" นำ กมธ.จัดระเบียบสายไฟฟ้าและสารสื่อสาร  ลงพื้นที่หาดใหญ่ ติดตามโครงการสายไฟลงดิน เตรียมจัดทำแนวทางชงสภาส่งรัฐบาลเร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรม 

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.จังหวัดราชบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญจัดระเบียบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารฯ สภาผู้แทนราษฎร และประธานอนุกรรมาธิการจัดระเบียบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารฯภาคกลาง ใต้ และตะวันออก พร้อมด้วยนาย ธนู งาเนียม ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด(มหาชน)ในฐานะกรรมาธิการฯ และคณะ เดินทางลงพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อตรวจติดตามและศึกษางานการนำสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดิน และการจัดระเบียบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารให้เป็นระเบียบ โดยมี นายเดชอิศม์ ขาวทอง ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา พล.ต ท.สาคร ทองมุนี นายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่ นายวัฒนา แพรกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ภาคใต้ล่าง นายไพศาล ไชยลี ผู้อำนวยการฝ่ายบริการลูกค้าภาคใต้ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมประชุมและลงพื้นที่ด้วย

ILINK ติดอันดับ “หุ้นยั่งยืน” ต่อเนื่อง 3 ปี!! พร้อมลุ้น Investor Relations Awards บนเวที “SET Awards 2021”

“วริษา อนันตรัมพร” ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสายสัญญาณที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และผู้นำเข้าและค้าส่งอุปกรณ์เครือข่ายส่งสัญญาณ เปิดเผยว่า

“ILINK ได้รับคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน หรือ Thailand Sustainability Investment (THSI) ประจำปี 2564 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่บริษัทฯ จะเติบโต ต่อเนื่อง และยั่งยืน พร้อมขับเคลื่อนและนำแนวคิดต่อยอดที่คำนึงถึง มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติสิ่งแวดล้อม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการดำเนินธุรกิจ และมีการเตรียมรับมือกับความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา พร้อมสร้างโอกาสทางธุรกิจเพื่อรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมนักลงทุนสัมพันธ์ ซึ่งมีการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน มีคุณภาพ โปร่งใส และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ถือหุ้น และนักลงทุนต่อไป”

‘เมอร์ค’ ตั้งราคา ‘โมลนูพิราเวียร์’ สูงเกินจริงถึง 40 เท่า

บริษัทเมอร์ค แอนด์ โค ซึ่งเป็นบริษัทยารายใหญ่ของสหรัฐฯ ได้สร้างความฮือฮาไปทั่วโลกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการเปิดตัวยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ที่จุดประกายความหวังในการรับมือการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งขณะนี้ได้คร่าชีวิตประชากรทั่วโลกไปกว่า 4.8 ล้านราย

อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตว่า เมอร์ค ได้ตั้งราคา ยาโมลนูพิราเวียร์ ที่เรียกเก็บจากรัฐบาลสหรัฐฯ สูงกว่าต้นทุนการผลิตถึง 40 เท่า

รายงานวิเคราะห์ราคายาโมลนูพิราเวียร์ที่จัดทำโดย Harvard School of Public Health และ King’s College Hospital พบว่า เมอร์ค มีต้นทุนผลิตยาโมลนูพิราเวียร์เพียง 17.74 ดอลลาร์ต่อ 1 คอร์ส หรือราว 600 บาท แต่ได้คิดราคาจากรัฐบาลสหรัฐฯ ถึงคอร์สละ 700 ดอลลาร์ หรือราว 24,000 บาท ซึ่งสูงกว่าต้นทุนถึง 40 เท่า

ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ทำข้อตกลงกับบริษัทเมอร์คเพื่อสั่งซื้อยาโมลนูพิราเวียร์จำนวน 1.7 ล้านคอร์ส ด้วยวงเงิน 1,200 ล้านดอลลาร์ โดยมีราคาคอร์สละ 700 ดอลลาร์

ยา 1 คอร์สประกอบด้วยยาโมลนูพิราเวียร์ขนาด 200 มิลลิกรัม จำนวน 40 เม็ดสำหรับผู้ป่วย 1 คน โดยผู้ป่วยจะรับประทานยาวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 4 เม็ด เป็นเวลา 5 วัน

รายงานดังกล่าวระบุอีกว่า ในช่วงเริ่มแรก รัฐบาลสหรัฐฯ เป็นผู้ให้เงินทุนสนับสนุนแก่บริษัทเอกชนและหน่วยงานหลายแห่งในการผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ เพื่อรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ แต่ต่อมาในเดือนพ.ค. 2563 เมอร์คได้ซื้อลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการผลิตและจำหน่ายยาโมลนูพิราเวียร์แก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก

เมอร์คเปิดเผยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ยาโมลนูพิราเวียร์มีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสโควิด-19 ทุกสายพันธุ์ ซึ่งรวมถึงสายพันธุ์เดลตา และสามารถลดความเสี่ยงของผู้ป่วยโควิด-19 ในการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตได้ถึง 50%

การประกาศดังกล่าวของเมอร์ค ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกแห่จองซื้อยาโมลนูพิราเวียร์จากเมอร์ค ซึ่งทางบริษัทคาดว่าจะสามารถผลิตได้ 10 ล้านคอร์สภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะทำให้เมอร์คมีรายได้จากการจำหน่ายยาดังกล่าวสูงถึง 7,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 2.4 แสนล้านบาท

“เฉลิมชัย” เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร เปิดตัวแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี 2565 – 2566 สั่งทุกหน่วยงานเดินหน้าเต็มสูบ!!

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายและเปิดตัวแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2565 – 2566 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่านระบบการประชุมทางไกล (zoom meeting) จากห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า จากนโยบาย Thailand 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล ได้กำหนดให้มีแผนแม่บทด้านการเกษตรและแผนย่อยเกษตรอัจฉริยะ ภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายการขับเคลื่อนงานด้านเกษตรอัจฉริยะ ที่มุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร ปรับรูปแบบการเกษตรในปัจจุบันให้มุ่งสู่เกษตร 4.0

โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาสู่การเกษตรอัจฉริยะแห่งอนาคต มีเป้าหมายสำคัญที่มุ่งเน้นให้เกิดการทำเกษตรแบบทำน้อยได้มาก ใช้ทรัพยากรในการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีการลดต้นทุน ลดการสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากขึ้น ลดความเหนื่อยยากของการใช้แรงงานในภาคการเกษตร มีการนำเอาเครื่องมือจักรกลและเครื่องมือทันสมัย โดยเฉพาะการนำเกษตรดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตและการแข่งขันของภาคการเกษตรไทยในตลาดโลก

สำหรับแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะที่จัดทำขึ้นนี้ จะเป็นแผนปฏิบัติการที่ช่วยกำหนดทิศทางการเกษตรอัจฉริยะและเป็นการวางรากฐานการเกษตรอัจฉริยะของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร สามารถนำกรอบข้อเสนอโครงการที่จัดทำไว้ ภายใต้แผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะฉบับนี้ไปปรับใช้เป็นข้อเสนอโครงการในหน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนการเกษตรอัจฉริยะของประเทศ

นอกจากนี้ ยังเร่งพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคให้มีความพร้อมทั้งด้านวิจัยและพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ รวมถึงการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่รัฐและเกษตรกร สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และช่วยเป็นครูผู้ฝึกหรือเทรนเนอร์ ให้แก่เกษตรกร

โดยมุ่งเน้นทั้ง Smart Farmer และ Young Smart Farmer ตลอดจนผู้นำเกษตรกรของ ศพก. และแปลงใหญ่ ทั้งนี้ มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาแปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในทุก ๆ จังหวัดของประเทศ และให้เข้าถึงทุกอำเภอภายใน 3 ปี เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติด้านการเกษตรต่อไป

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 กล่าวว่า ภายใต้นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรของประเทศไทย ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ขึ้น มีองค์ประกอบอนุกรรมการ 4 ด้าน ประกอบด้วย

1) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech

2) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ

3) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-commerce และ

4) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยอาศัยเทคโนโลยี นวัตกรรม และการตลาด เข้ามาช่วยขับเคลื่อนดำเนินการมุ่งสู่เกษตร 4.0

สำหรับแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะปี 2565 - 2566 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำโดยคณะอนุกรรมการเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งมี ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ เป็นประธานประกอบด้วย 6 ยุทธสาสตร์ 18 แผนงาน 63 โครงการ จะเป็นคานงัดและเป็นจุดเปลี่ยนสําคัญในการปฎิรูปภาคการเกษตรตามนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน

 

ชิลีคาดยอดส่งออก ‘ต้นคีไย’ พุ่ง หลังเป็นองค์ประกอบสำคัญวัคซีนโควิด-19 โนวาแวกซ์ แต่หวั่นทรัพยากรร่อยหรอในเวลาอันสั้น

ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ชิลีเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้ติดเชื้อไม่น้อย มีผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 1.6 ล้านราย เสียชีวิตกว่า 37,000 ราย ในขณะเดียวกัน ชิลีก็เป็นประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19 อยู่ในระดับสูง โดยประชากรมากกว่า 70% ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว

เมื่อพูดถึงวัคซีนโควิด-19 ก็จำเป็นต้องพูดถึง ‘ต้นคีไย (Quillay)’ พืชพื้นเมืองของชิลีที่เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 โนวาแวกซ์ ซึ่งเป็นความหวังของใครหลาย ๆ คน

บางคนเรียกต้นคีไยว่า ‘ต้นเปลือกสบู่ (Soapbark Tree)’ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Quillaja Saponaria เป็นพันธุ์ไม้หายากในป่าดิบที่มีถิ่นกำเนิดในชิลี ซึ่งชาวมาปูเช (Mapuche) หรือชนพื้นเมืองในชิลีใช้ในการทำสบู่และยารักษาโรคมาอย่างยาวนาน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ต้นคีไยถูกนำมาใช้เพื่อผลิตวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดและวัคซีนมาลาเรียตัวแรกของโลก ตลอดจนสารทำให้เกิดฟองสำหรับผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และเหมืองแร่

โดยโมเลกุลซาโปนิน (Saponin) 2 ตัว ซึ่งสร้างจากเปลือกกิ่งต้นคีไยที่มีอายุได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัทโนวาแวกซ์ โดยนำมาใช้ทำสารเสริมที่ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน

สำหรับสารเสริมของวัคซีนโควิด-19 โนวาแวกซ์ ที่เรียกว่า Matrix-M จะประกอบด้วยโมเลกุลซาโปนินที่สำคัญ 2 โมเลกุล หนึ่งในนั้นเรียกว่า QS-21 ซึ่งจัดหาได้ยากเพราะส่วนใหญ่พบในต้นคีไยที่มีอายุอย่างน้อย 10 ปี

ในบรรดาบริษัทยารายใหญ่ มีเพียงโนวาแวกซ์ และ GSK ผู้พัฒนาวัคซีนป้องกันมาลาเรียรายแรกของโลก เพียง 2 เจ้านี้เท่านั้นที่ใช้ QS-21 เป็นส่วนผสมในการพัฒนายาและวัคซีน

โดยในอีก 2 ปีข้างหน้า โนวาแวกซ์วางแผนที่จะผลิตวัคซีนจำนวนหลายพันล้านโดส ซึ่งจะทำให้เป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

แต่เนื่องจากไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนต้นคีไยที่เหลืออยู่ในชิลีที่จะนำไปใช้สำหรับทำวัคซีนโควิด-19 ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ในอุตสาหกรรมจึงไม่แน่ใจว่า ทรัพยากรต้นคีไยในชิลีจะหมดลงเมื่อไร แต่เกือบทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า ในบางอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาสารสกัดจากคีไยอาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้ต้นไม้อื่นแทน เพื่อสงวนคีไยไว้สำหรับการทำวัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะ

จากการวิเคราะห์ของรอยเตอร์เกี่ยวกับข้อมูลการส่งออกจากผู้ให้บริการข้อมูลการค้า ImportGenius แสดงให้เห็นว่า ทรัพยากรต้นคีไยอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้น เพราะเดิมทีการส่งออกคีไยก็เพิ่มขึ้นเป็น 3,600 ตันต่อปีในช่วงก่อนโควิด-19 ระบาดอยู่แล้ว หากต้องมีการส่งออกคีไยเพิ่มเติมสำหรับวัคซีนก็อาจไม่เพียงพอ

สวีเดน-เดนมาร์ก ระงับฉีดโมเดอร์นากลุ่มอายุน้อย หลังพบผลข้างเคียงกล้ามเนื้อ-เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

สวีเดนและเดนมาร์ก ประกาศระงับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของโมเดอร์นาในกลุ่มคนอายุน้อย หลังได้รับรายงานผู้มีอาการเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เป็นผลข้างเคียงชนิดหายากหลังฉีดวัคซีนดังกล่าว

หน่วยงานด้านสุขภาพของสวีเดนระบุเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า จะระงับการฉีดวัคซีนของโมเดอร์นาในกลุ่มผู้ที่เกิดตั้งแต่ปี 2534 หรือมีอายุไม่เกิน 30 ปี เนื่องจากได้รับข้อมูลที่บ่งชี้ว่า กลุ่มคนอายุน้อยและเยาวชนมีภาวะหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเพิ่มสูงขึ้นหลังฉีดวัคซีนดังกล่าว ทั้งยังระบุว่า ภาวะดังกล่าวเชื่อมโยงกับการฉีดวัคซีนของโมเดอร์นาอย่างชัดเจนหลังฉีดวัคซีนโดสที่สอง แต่ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยมาก

ประชาธิปัตย์ขาขึ้น!! ‘เกษม มาลัยศรี’ อดีต ส.ส.-ส.ว.ร้อยเอ็ด ซบปชป. ยก ‘จุรินทร์’ เหมาะเป็นนายกฯ ชี้เกษตรกรอีสานชอบนโยบายประกันรายได้เกษตรกรของพรรคประชาธิปัตย์

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยนายนิพนธ์ บุญญามญี รมช.มหาดไทย นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตร นายปริญญาพานิชภักดิ์ 3 รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มอบบัตรสมาชิกพรรคให้กับ นายเกษม มาลัยศรี อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคชาติพัฒนา และอดีตส.ว. ปี 2543 หลังสมัครเป็นสมาชิกพรรค และมีผลวันนี้โดยนายจุรินทร์ ได้สวมเสื้อแจ็คเก็ตตราสัญลักษณ์พรรคประชาธิปัตย์ ให้นายเกษม พร้อมกล่าวขอบคุณที่ให้เกียรติมาร่วมงานกับพรรค

ด้านนายเกษม กล่าวว่า เหตุผลที่ตัดสินใจมาร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ เพราะนายจุรินทร์ หัวหน้าพรรค พูดจริง ทำจริง ทำมากกว่าพูด ช่วยแก้ปัญหาเกษตรกรได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน จึงอยากสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ประชาธิปัตย์มาแก้ไขปัญหาประเทศชาติบ้านเมือง ซึ่งที่ผ่านมาเกษตกรทั่วประเทศมีรายได้ จากนโยบายประกันรายได้ถ้วนหน้า

 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top