Wednesday, 24 April 2024
ตามรอยเลือกตั้ง

‘ลุงหนู’ ลั่น หลังเลือกตั้ง ภท. พร้อมทำงานทุกบทบาท เชื่อ!! ส.ว. ไม่ฝืนตั้งรัฐบาลจากเสียง ส.ส.ข้างน้อย

(1 ก.พ. 66) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์ถึงเป้าหมายการเมืองของพรรค ในศึกการเลือกตั้ง ระบุว่า 

พรรคทำเต็มที่แน่นอน และหลังเลือกตั้ง เราพร้อมทำงานในทุกบทบาท ขึ้นกับความไว้วางใจของประชาชน ถ้าประชาชนเลือกเข้ามามาก ตนก็พร้อมเป็นนายกฯ ซึ่งบทบาทนายกฯ ของตนคือการประสานทุกฝ่ายช่วยกันทำงาน เรื่องข้าง เรื่องสี ขอให้พอ ประเทศไทยถูกความขัดแย้งเหนี่ยวรั้งมานานเกินไปแล้ว  

เมื่อถามว่า จากนี้พรรคภูมิใจไทย จะเปลี่ยนจากพรรคผู้ถูกเลือก เป็นพรรคที่เป็นผู้เลือกแล้วใช่หรือไม่ นายอนุทิน ตอบว่า เอาเข้าจริง เราเป็นผู้เลือกอยู่ตลอด ครั้งที่แล้ว ถ้าไม้ได้พรรคภูมิใจไทย จะตั้งรัฐบาลกันได้หรือไม่ ย้อนกลับไปมีการเสนอสิ่งต่าง ๆ มาให้ตนและพรรคมากมาย ตำแหน่งสูงกว่ารัฐมนตรีก็ให้ แต่ถามว่า รับไปแล้ว บ้านเมืองไปต่อได้ไหม ถ้าไม่ได้ ถึงเป็นนายกฯ ก็ไม่มีประโยชน์ คราวที่แล้ว เมื่อเราเลือก อำนาจ คสช.ก็หมดไปทันที แต่ถ้าไม่เลือก ตามรัฐธรรมนูญ คือ รัฐบาลรักษาการอยู่ต่อไปจนถึงการที่ ครม.ใหม่เข้าเฝ้าถวายสัตย์ แต่สิ่งเหล่านั้น ไม่เกิด เพราะการเลือกของภูมิใจไทย เราทำให้การเมืองเข้าสู่ระบบใหม่ และประเทศไทย ก็ยังไปข้างหน้าได้ด้วย

มหากาพย์ เลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 กกต.ถูกจำคุก-จ้างพรรคเล็ก-ยุบพรรคไทยรักไทย

ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนทำให้ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจยุบสภา ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 เพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจเลือกตั้งอีกครั้ง โกำหนดให้วันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นวันเลือกตั้งทั่วไป

แต่ทว่า ก่อนการเลือกตั้ง วันที่ 2 เมษายน 2549 ฝ่ายค้านในห้วงนั้นประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย พรรคมหาชน ได้ทำหนังสือถึงพรรคไทยรักไทย เรียกร้องให้ทำสัตยาบันร่วมกันว่า หลังการเลือกตั้งจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 313 เพื่อตั้ง ‘คนกลาง’ ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่พรรคไทยรักไทยประกาศไม่ลงสัตยาบันร่วมกับฝ่ายค้าน แต่เชิญหัวหน้าพรรคทุกพรรคให้มาทำสัญญาประชาคมร่วมกันว่า จะแก้ไขรัฐธรรมนูญระหว่างการเลือกตั้ง จากนั้นค่อยมาตั้ง ‘คนกลาง’ เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ฝ่ายค้านจึงประกาศคว่ำบาตรไม่ส่งผู้สมัคร

การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 จึงเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายมากมาย มีการฉีกบัตรเลือกตั้งเพื่อแสดงอารยะขัดขืน เช่น รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร, มีการกรีดเลือดมาเป็นหมึกกาบัตรเลือกตั้ง, คูหาเลือกตั้งหันหลังออก, มีผู้สมัคร ส.ส. หลายสิบเขตได้รับคะแนนเสียงน้อยกว่าคะแนนโนโหวต มีการใช้ตรายางประทับบัตรเลือกตั้ง และมีบัตรเสียเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดความเคลือบแคลงใจในความโปร่งใสของการเลือกตั้งครั้งนั้นอย่างหนัก

ส่วนผลการเลือกตั้งปรากฏว่า ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ มีผู้มาใช้สิทธิ 29 ล้านคนเศษ จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งกว่า 44.9 ล้านคน คิดเป็น 64.77% มีบัตรเสีย 1,680,101 ใบ หรือ 5.78% มีผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน หรือ โนโหวต สูงถึง 9,051,706 คน คิดเป็นสัดส่วน 31.12%

และผลการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต มีผู้มาใช้สิทธิเกือบ 29 ล้านคน หรือ 64.76% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง มีบัตรเสีย 3,778,981 ใบ 13.03% มีผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน 9,610,874 คน 33.14%

หลังจากนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา ได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ เพิกถอนการเลือกตั้ง และให้มีการเลือกตั้งใหม่

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2549 ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 และคำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ 607-608/2549 วันที่ 16 พฤษภาคม 2549 วินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากมีการจัดคูหาที่อาจส่งผลให้การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยลับ และให้จัดเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549

นอกจากนี้ ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 ศาลอาญา ได้พิพากษาให้ กกต. ที่จัดการเลือกตั้งมีความผิดเนื่องจากการจัดการเลือกตั้งที่ไม่เที่ยงธรรม โดยให้ลงโทษจำคุก 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี แต่ต่อมา เมื่อปี 2556 หลังจากที่ กกต. (สามคนในเวลานั้น) ผ่านการติดคุก/ต่อสู้คดีแล้ว ศาลกลับได้มีคำสั่งยกฟ้อง กกต. ทั้งสาม

หลังจากนั้นก็มีการสรรหา กกต.ใหม่ และกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ แต่ยังไม่ทันได้เลือกตั้ง ก็ถูก พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ทำการปฏิวัติเสียก่อนเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

แต่ผลพวงจากการเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใสในครั้งนั้น ยังตามหลอนพรรคไทยรักไทยไม่จบสิ้น เมื่อ ‘สุเทพ เทือกสุบรรณ’ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นเรื่องร้องเรียน กกต.ว่า พรรคไทยรักไทย จ้างพรรคการเมืองขนาดเล็ก อย่างพรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทยลงสมัคร ลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อหนีเกณฑ์ร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่ กกต.ปลอมแปลงฐานข้อมูลสมาชิกพรรคเล็กเมื่อปี 2549

เลือกตั้ง 6 ก.พ. 48 ‘ไทยรักไทย’ ชนะขาด สร้างปรากฏการณ์รัฐบาลพรรคเดียว

งวดเข้ามาทุกขณะ สำหรับการเลือกตั้งใหญ่ ที่เริ่มส่งสัญญาณออกมาเป็นระยะ เพราะไม่ว่ารัฐบาลลุงตู่ จะอยู่ครบเทอม หรือ จะเลือกยุบสภาก่อน สุดท้ายแล้วการเลือกตั้งจะมีขึ้นภายในปีนี้อย่างแน่นอน

ส่งผลให้สถานการณ์การเมืองในช่วงนี้ ต้องใช้คำว่า ‘ระอุ’ จะเริ่มเห็นส.ส. ย้ายค่าย พรรคการเมืองเปิดตัว ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. กันอย่างคึกคัก

โดยเป้าหมายหลักของพรรคการเมือง ย่อมอยู่ที่การได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคใหญ่อย่าง ‘เพื่อไทย’ ที่หมายมั่นปั้นมือว่า เลือกตั้งครานี้ จะต้องเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลให้ได้ บนโจทย์ที่สุดท้าทายนั่นคือ จะต้องชนะการเลือกตั้ง กวาดที่นั่ง ส.ส. ในสภาได้อย่างถล่มทลาย หรือ ที่ตั้งสโลแกนคุ้นหู ‘แลนด์สไลด์เพื่อไทย’ โหมโรงออกมาเป็นระยะ

นั่นเพราะการชนะเลือกตั้งมีจำนวน ส.ส. มาเป็นอันดับหนึ่ง ไม่ได้การันตีว่าจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เพราะยังมีเงื่อนไข ส.ว. 250 เสียงโหวตนายกรัฐมนตรีได้ เป็นเงื่อนปมที่ ‘เพื่อไทย’ อกหักมาแล้วในการเลือกตั้งปี 2562 ที่ครั้งนั้นได้จำนวนส.ส.มาเป็นอับดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เพราะรวมเสียงแล้วสู้ อีกขั้วอำนาจไม่ได้

เลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้ จึงเปรียบเป็นเวทีแก้มือ ของเพื่อไทย ที่ระดมทุกสรรพกำลังที่มี ทุ่มอย่างเต็มที่ เพื่อไปถึงจุดหมาย ‘แลนด์สไลด์’ ให้ได้ดังฝัน ถึงขั้นไปเอา ‘อุ๊งอิ๊งค์ - แพทองธาร ชินวัตร’ ลูกสาวสุดรักของ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ มาโหมโรงเรียกเรตติ้งจากสาวก

จะว่าไปแล้ว ในอดีต เมื่อครั้งยังเป็น ‘พรรคไทยรักไทย’ ภายใต้การนำ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ในขณะนั้น ไทยรักไทย เคยสร้างปรากฏการณ์แลนด์สไลด์ ชนะเลือกตั้งถล่มทลาย กลายเป็นรัฐบาลพรรคเดียวมาแล้ว ในการเลือกตั้งปี 2548

โดยการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อปี 2548 มีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 หลังจากรัฐบาลทักษิณ อยู่ครบวาระ 4 ปี ซึ่งขณะนั้นคะแนนนิยมในตัวทักษิณ มีสูงมาก จากนโยบายประชานิยมที่โดนใจชาวบ้าน รวมถึงการรวมสมาชิกจากพรรคต่าง ๆ ได้แก่ พรรคความหวังใหม่, พรรคชาติพัฒนา, พรรคกิจสังคม, พรรคเสรีธรรม และพรรคเอกภาพ เข้ากับพรรคไทยรักไทย มาลงเลือกตั้ง ภายใต้สโลแกนหาเสียงว่า '4 ปีซ่อม 4 ปีสร้าง' และผลการเลือกตั้งปรากฎว่าพรรคไทยรักไทย กวาดไปได้ถึง 377 ที่นั่ง จากจำนวนทั้งหมด 500 ที่นั่ง

‘ชาติพัฒนากล้า’ ดันนโยบาย ‘ยกเลิกแบล็กลิสต์ รื้อระบบสินเชื่อ’ ชี้!! ทำได้ง่ายไม่เปลืองภาษี - คนไทยได้ประโยชน์ 5.5 ล้านราย

‘กรณ์ - อรรถวิชช์’ ใส่เต็มแม็กซ์ ออกนโยบาย ‘ยกเลิกแบล็กลิสต์’ เปิดหน้ารื้อระบบสินเชื่อไทย ได้ประโยชน์ทันที 5.5 ล้านคน ชาวบ้านร่วมแชร์ประสบการณ์ ตกนรกทั้งเป็นเพราะแบล็กลิสต์ หมดโอกาสทำกิน เตรียมเปิดนโยบายอีกเป็นชุดเร็ว ๆ นี้

(16 ม.ค. 66) พรรคชาติพัฒนากล้า โดยนายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรค พร้อมด้วย ดร.อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรค แถลงเปิดนโยบายเศรษฐกิจชุดแรก ‘ยกเลิกแบล็กลิสต์ รื้อระบบสินเชื่อ’ ที่มีการติดป้ายนโยบายนำเสนอต่อประชาชนในพื้นที่ไปแล้ว และยืนยันว่ามีประชาชนจำนวนไม่น้อยติดแบล็กลิสต์จริง พร้อมนำผู้ติดแบล็กลิสต์กว่า 10 ชีวิต มาร่วมแถลงในครั้งนี้ด้วย 

นายกรณ์ กล่าวว่า ภาระหนี้สินประชาชนเป็นปัญหามาเรื้อรังและสาหัสขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยสภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ค่าครองชีพสูงขึ้น ซ้ำเติมด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด ซึ่งตนเองได้ต่อสู้กับเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 52 สมัยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกนโยบายแก้หนี้นอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบ ช่วยเหลือประชาชนได้กว่า 5 แสนราย และติดตามสถานการณ์หนี้สินของประชาชนมาต่อเนื่อง แต่เรื่องหนี้สินยังเป็นปัญหาเรื้อรังมาตลอด วันนี้พรรคชาติพัฒนากล้าจึงออกนโยบายที่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยไม่ต้องใช้เงินภาษีแม้แต่บาทเดียว ด้วยการรื้อระบบเก็บข้อมูลของบริษัทเครดิตบูโร ยกเลิกระบบแบล็กลิสต์ ใช้ระบบ Credit Scoring หรือวิธีประเมินสินเชื่อตามจริงแทน

“ผมยืนยันนะครับว่า ระบบเครดิตบูโรยังจำเป็นต้องมี มันเป็นวินัยทางการเงิน แต่รอบหลายปีที่ผ่านมา เรื่องแบล็กลิสต์ยังเป็นปัญหาสำคัญ ที่หนักขึ้นเรื่อย ๆ ที่บอกว่าแบล็คลิสต์ไม่มีจริงนั้น ถามคนติดแบล็กลิสต์สิครับพวกเขาหัวเราะอย่างขมขื่น เพราะถูกปฏิเสธการกู้ยืมเงินในระบบ ต้องแบกภาระหนี้สินที่หนักอึ้ง ต้องทำงานไปจ่ายหนี้นอกระบบไป และตราบใดที่ยังไม่หลุดจากแบล็กลิสต์ ก็ยังกู้หนี้ไม่ได้ เราจึงเสนอให้ยกเลิกระบบแบล็กลิสต์ เปิดให้เครดิตบูโรนำข้อมูลทุกชนิด ที่บ่งบอกสถานะที่แท้จริงของตัวผู้กู้ ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ประวัติทางการเงินที่เป็นบวกมาร่วมพิจารณาด้วย ที่เรียกว่าระบบ Credit Scoring ไม่ใช่เอาแค่ข้อมูลที่เป็นลบมาพิจารณาเพียงอย่างเดียว และนโยบายนี้ไม่ต้องใช้ภาษีเพิ่ม อาศัยเทคโนโลยีและข้อมูลที่เป็นธรรมในการปล่อยกู้ ให้ประชนกลับมาลืมตาอ้าปากอีกครั้ง นี่คือนโนบายของพรรคชาติพัฒนากล้า” นายกรณ์​ กล่าว

ดร.อรรถวิชช์ กล่าวว่า ไม่มีนักรบใดไม่มีบาดแผล คนทำธุรกิจกับการขอสินเชื่อเป็นเรื่องคู่กันอยู่แล้ว แต่ระบบการจัดเก็บข้อมูลเครดิตของบ้านเรา เพื่อให้ธนาคารไปวิเคราะห์ มันไม่ยุติธรรม คนตัวเล็กทำมาหากิน มีรอยบาดแผลติดแบล็กลิสต์ แม้หาเงินกลับมาใช้หนี้ได้ สถานะการเงินกลับมาปกติแล้ว ก็ไม่สามารถกลับมากู้สินเชื่อปกติหรือสินเชื่อธุรกิจที่ดอกเบี้ยต่ำกว่าร้อยละ 7 ได้ ต้องไปหมุนใช้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อนาโน ซึ่งสินเชื่อกลุ่มนี้ดอกเบี้ยสูงมาก เริ่มตั้งแต่ร้อยละ 16-33 ต่อปี บางรายต้องไปยืมหนี้นอกระบบ ซึ่งดอกเบี้ยโหดกว่านี้อีกหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ เรื่องนี้เป็นความผิดปกติที่ชัดเจนที่สุด ผลักให้คนไทยต้องเข้าสู่ระบบสินเชื่อ ที่ดอกเบี้ยสูงเกินจริง ซึ่งเป็นเหตุจากความไม่ยุติธรรมในระบบการปล่อยสินเชื่อ และตอนนี้มีคนติดแบล็กลิสต์ราว 5.5 ล้านคน ในจำนวนนี้มีถึง 3.2 ล้านคนที่ติดแบล็กลิสต์ช่วงโควิด

วาทกรรมอำพราง สูตรสำเร็จนักการเมืองที่ใช้ครองใจมวลชน แต่ผลกรรมตกอยู่ที่ประชาชนร่ำไป

จากการชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองโดยมีประชาชนเป็นแกนหลัก ภายใต้นาม ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย’ (พธม.) ตั้งแต่กลางสมัยรัฐบาล ‘ทักษิณ 1’ ต่อเนื่องกระทั่งประเทศไทยเดินเข้าสู่การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2549 สังคมไทยเริ่มถูกแบ่งด้วยขั้วการเมืองออกเป็นสองฝักฝ่ายอย่างชัดเจน เป็นเหตุให้ความสามัคคีของชนชาวสยามซึ่งพร้อมจะขาดผึงอยู่รอมร่อถูกทุกทำลายลงอย่างไร้หนทางหลีกเลี่ยง

เริ่มจากมีคนกลุ่มคน ‘สวมเสื้อสีแดง’ เข้าลอบทำร้ายผู้ชุมนุมพันธมิตรซึ่ง ‘สวมเสื้อสีเหลือง’ อันมีนัยหมายถึง ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อในหลวงรัชกาลที่ 9

ลองไปหาดูได้ไม่ยากว่าสีแดงแรกเริ่มนั้นสกรีนบนอกเสื้อว่าอะไร

แม้ดูเหมือนความชุลมุนจะจบลงที่เหตุรัฐประหาร 29 กันยายน ของปีเดียวกัน โดย ‘คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ’ (คมช.) ความระส่ำระสายแตกแยกของผู้คนก็ไม่มีทีท่าเบาบางจางลงแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับมีมวลชนจัดตั้งจากฝ่ายการเมืองผู้สูญเสียผลประโยชน์ โดยตั้งเป้าหลักคือต่อต้านการยึดอำนาจ เริ่มจากกลุ่มคนเล็กๆ ปราศรัยในสนามหลวง จนเติบโตกลายเป็น ‘กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ’ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง

เข็นเสื้อแดง นปช. ออกมาชนเสื้อเหลือง พธม. อย่างเต็มรูปแบบ

สร้าง ‘ตีนตบ’ (พลาสติก) ออกมาฉะสู้กับ ‘มือตบ’ ประมาณนั้น

สิ่งเหล่านี้ล้วนคือน้ำมือนักการเมืองผู้กระสันแย่งชิงความได้เปรียบทั้งสิ้น

แม้กลุ่มคนผู้รวมตัวเรียกร้องทางการเมืองในภายหลัง ซึ่งเรียกตนเองว่าเป็น ‘ประชาชน’ ที่รับรู้ทั่วไปว่ามาจากการ ‘จัดตั้ง’ โดยกลุ่มนักการเมืองผู้สูญเสียประโยชน์และอำนาจยืนกำกับการแสดงอยู่เบื้องหลัง และหันมาใช้วิธีการดั้งเดิม คือ สร้างสูตรสำเร็จทางความเชื่อด้วย ‘วาทกรรม’

นักการเมืองไทยทุกยุคทุกสมัยรู้ดีว่า ‘วาทกรรม’ คือ ‘สูตรสำเร็จของการครองใจคน’ เปรียบประดุจอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน โดยผู้บริโภคไม่ต้องคอยกังวลใส่ใจว่าส่วนผสมหรือกรรมวิธีการปรุงนั้นมีที่มาอย่างไร เพียงแค่ผลิตป้อนให้รสชาติอร่อย ‘แซบ ลำ นัว หรอย’ ถูกปากถูกใจ (สาวก) เป็นพอ

คำ ‘ไพร่ อำมาตย์ และฝ่ายประชาธิปไตย’ จึงถือกำเนิดจนถูกจดจำนำมาใช้ต่ออย่างแพร่หลายยาวนาน นั่นเพราะ ‘วาทกรรม’ บริโภคง่ายไม่ต้องอาศัยกระบวนการทางความคิดมาบดย่อยให้ยุ่งยาก ไม่ต่างจากเหตุการณ์ต่อสู้ชิงอำนาจ ‘ฝ่ายประชาธิปไตย’ กับ ‘ฝ่ายอนุรักษ์นิยม’ ยุค พ.ศ. 2475 ที่ใช้การแจก โปรยใบปลิวตามท้องถนน ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นวาทกรรมบิดเบือนให้ร้าย และถูกผลิตจากโรงงานการเมือง

ศ.ดร.ธีรยุทธ บุญมี อดีตแกนนำนักศึกษา และอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย เคยกล่าวถึงเรื่องวาทกรรมไว้อย่างน่าสนใจว่า “...น่าเป็นห่วงวิกฤติรอบใหม่ในลักษณะวาทกรรมที่จะรุนแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ และจะค่อยทำลายคนที่ถูกมองว่าเป็นกลุ่มอื่น หรือคนอื่น ทีละเล็กทีละน้อย”

'อนุทิน' ลุ้น!! ฝ่ากระแส 'เพื่อไทย-ก้าวไกล' แบ่งเค้ก ส.ส.กทม. หลังดึง 'พุทธิพงษ์' นั่งแท่นว่าที่แม่ทัพเมืองหลวงของพรรค

นาทีนี้แลดู อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยจะมั่นใจมากขึ้น สำหรับความหวังในการปักธงสีน้ำเงิน ในสนามเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร หลังจากมี ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ทยอยลาออกมากรอกใบสมัครเข้าพรรคเพิ่มขึ้น

ผู้อยู่เบื้องหลังในการเจรจาดึงตัว ส.ส.เหล่านั้น คือ 'เสี่ยบี-พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์' อดีต รมว.ดีอีเอส ว่าที่แม่ทัพเมืองหลวงของพรรคสีน้ำเงิน  

ล่าสุด เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2565 กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา และ ภาดาท์ วรกานนท์ อดีต ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ได้มาสมัครเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย โดยก่อนหน้านั้น ก็มี 3 ส.ส.กทม. อย่าง จักรพันธ์ พรนิมิตร, กษิดิ์เดช ชุติมันต์ และพัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ได้มาสมัครเป็นสมาชิกพรรคไปแล้ว รวมๆ แล้ว ส.ส.กทม.พรรคลุงป้อม ที่ย้ายมาพรรคเสี่ยหนู 5 คน ส่วนจากพรรคเพื่อไทย มี 1 คนคือ ส.ส.อ๊อด-ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ (เขตห้วยขวาง-ดินแดง)

จะว่าไป พรรคภูมิใจไทย ก็มี ส.ส.กทม.อยู่แล้ว 2 คนคือ ร.ต.ต.มณฑล โพธิ์คาย (เขตสวนหลวง) และโชติพิพัฒน์ เตชะโสภณมณี (เขตจอมทอง) ทั้งคู่เป็น ส.ส.สมัยแรก สังกัดพรรคอนาคตใหม่ ภายหลัง มีการยุบพรรคอนาคตใหม่ พวกเขาจึงเลือกมาอยู่พรรค ภท. ไม่ไปพรรคก้าวไกล

อย่างไรซะ ภูมิใจไทยของ 'อนุทิน' ก็มีภาพลักษณ์เป็นพรรคบ้านใหญ่ พรรคทุนท้องถิ่น ซึ่งความล้มเหลวในสนาม กทม. เมื่อการเลือกตั้งปี 2554 และปี 2562 ก็ให้คำตอบชัดว่า พรรคเสี่ยหนู ไม่ถูกจริตคนเมืองหลวง

แต่เมื่อมีขุมกำลังจากพรรค พปชร.ย้ายเข้ามาอยู่พรรค ภท. เสี่ยหนูจึงแอบหวังว่า การเลือกตั้งครั้งหน้า พรรคจะได้ ส.ส.กทม. 

เพราะสมัยที่แล้ว พรรคพลังประชารัฐ ได้ ส.ส. 12 ที่นั่ง หลัง 2 ส.ส.อย่าง ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ (เขตบางซื่อ) และสิระ เจนจาคะ (เขตหลักสี่-จตุจักร) เจออุบัติเหตุการเมืองต้องพ้น ส.ส. จึงเหลืออยู่ 10 คน โดย ส.ส.ทั้งหมดนี้ จะไม่มีใครอยู่พรรค พปชร.อีกต่อไป 

อย่างตอนนี้ 5 คน ประกอบด้วย พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ (เขตปทุมวัน-บางรัก), กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา (เขตคลองเตย), ภาดาท์ วรกานนท์ (เขตพญาไท), กษิดิ์เดช ชุติมันต์ (เขตลาดพร้าว) และจักรพันธ์ พรนิมิตร (เขตบางพลัด) ที่เลือกไปพรรคภูมิใจไทย

มีข่าวว่า ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ (เขตบางกะปิ) และ ประสิทธิ์ มะหะหมัด (เขตสะพานสูง) จะไปสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ 

ศิริพงษ์ รัสมี (เขตหนองจอก) เตรียมย้ายไปสังกัดพรรค ปชป. และกานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ (เขตพระนคร) ไปพรรคเพื่อไทย ส่วน ชาญวิทย์ วิภูศิริ (เขตมีนบุรี) มีข่าวว่าจะเว้นวรรค

‘ไอติมรสส้ม’ ผู้ก้าวไม่พ้นวังวน แก้รธน. - ม.112 กับหมุดหมาย ‘เท่าเทียม’ หรือแค่สนองความอยาก

ดูเหมือนว่าความสนใจของไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้เปลี่ยนสีจากสีฟ้าบลูเบอรี่มาเป็นไอติมรสส้มจะโฟกัสอยู่เพียงสองจุดคือการแก้ไขมาตรา 112 และการแก้รัฐธรรมนูญ เรียกว่าเป็นเนื้อเดียวแนบแน่นกับพรรคก้าวไกล จึงไม่น่าแปลกใจที่ไอติมจะได้ตำแหน่งผู้จัดการการรณรงค์สื่อสารนโยบายของพรรคก้าวไกล เพราะรูปสมบัติและคุณสมบัติเอื้อทุกด้าน ทั้งหน้าตาดี วาทกรรมเด่น แถมมาจากครอบครัวเก่าแก่ อย่าคิดว่าพรรคที่ชูนโยบายเรื่องความเท่าเทียมจะเท่าเทียมอย่างที่อ้าง เพราะหลายครั้งหลายหน ชาวโลกเห็นสมาชิกพรรคสีส้มออกมาแฉว่าความเท่าเทียมที่พร่ำอ้างกันนั้นไม่มีอยู่จริง 

ย้อนเส้นทางการเมืองของไอติม หลังลาออกจากบริษัทที่ปรึกษาในต่างประเทศ และเดินทางกลับประเทศไทย ได้เริ่มต้นเส้นทางการเมืองของกับพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี 2561 โดยมีบทบาทในการร่วมก่อตั้งกลุ่ม NewDem ซึ่งเป็นกลุ่มนักการเมืองรุ่นใหม่ในพรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับ สุรบถ หลีกภัย บุตรชายของ ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, พรหม พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ บุตรชายของ พนิช วิกิตเศรษฐ์ และคณวัฒน์ จันทรลาวัณย์

จากนั้น ได้รับมอบหมายจาก พรรคประชาธิปัตย์ ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 13 บางกะปิ วังทองหลาง (แขวงพลับพลา) ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 ซึ่งเจ้าของที่นั่งก่อนหน้านี้คือนายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน (บุตรชายของนาย บัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์) 

อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งปี 2562 ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้สูญเสียที่นั่งทุกที่นั่งในกรุงเทพมหานคร โดยเขตเลือกตั้งที่ 13 ซึ่งไอติม ลงแข่งนั้น ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ (พลังประชารัฐ) ได้คะแนนมาเป็นอันดับ 1 ตามมาด้วยอันดับ 2 นายตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส (เพื่อไทย) อันดับ 3 น.ส.ณิชชา บุญลือ (อนาคตใหม่) ส่วนไอติม เข้ามาเป็นอันดับที่ 4 เรียกว่าแพ้ราบคาบทั้งตัวบุคคลและพรรค

หลังการเลือกตั้งจบลงก็มีกระแสข่าวว่าสมาชิกรุ่นอาวุโสของ พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมเข้าร่วมรัฐบาลกับ พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งสนับสนุน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำให้ พริษฐ์ และสมาชิกกลุ่ม NewDem จำนวนหนึ่งตัดสินใจลาออกจากสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ นับเป็นจุดสิ้นสุดของกลุ่ม NewDem[1]

ไอติมเป็นหลานของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่น่าแปลกใจที่จะสังกัดพรรคนี้ในช่วงแรก ต่อมาลาออกเพราะพรรคประชาธิปัตย์ร่วมรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เลยสะบัดบ็อบไปซบก้าวไกล 

ไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เพราะดูสนิทกันดีกับ  iLaw คณะก้าวหน้า และพรรคก้าวไกล จนเคลื่อนไหวในนามกลุ่ม Re – Solution เพื่อล่ารายชื่อเพื่อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2560  หลักใหญ่คือ ยกเลิก ส.ว.และยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แล้วมีโอกาสเป็นตัวแทนเสนอหลักการและเหตุผลในการแก้ไขต่อรัฐสภา แต่สมาชิกรัฐสภาลงมติไม่รับหลักการในวาระ 1 ไม่รู้ว่าแค้นฝังหุ่นหรืออย่างไร ถึงวนเวียนอยู่แต่เรื่องแก้รัฐธรรมนูญกับการแก้ไขมาตรา 112

ในส่วนของการแก้มาตรา 112 นั้น ไอติมต้องการลดโทษให้เบาลง โดยมองว่าโทษจำคุก 3-15 ปีหนักเกินไป เอาแค่จำคุกไม่เกินปีเดียว ปรับอีกไม่เกินสามหมื่น แหม โทษเบาแบบนี้ใครจะกลัว นี่ขนาดมีโทษจำคุก บรรดาสามนิ้วยังด่าและข่มขู่สถาบันกษัตริย์อย่างหยาบคายไม่กลัวเกรง หากลดโทษลงแล้ว จะยังมีใครเกรงกฎหมายอยู่ไหมล่ะ แล้วการลดโทษให้น้อยลง จะแก้ปัญหาให้คนที่ทำผิดข้อนี้ซ้ำๆซากๆ สำนึกผิดและเข็ดหลาบไหม ถามจริง

นอกจากนี้ไอติมอยากให้มีการกำหนดผู้ฟ้องที่ชัดเจน เพราะกังวลว่าอาจมีการกลั่นแกล้งทางการเมือง หรือล่าแม่มด เรื่องนี้เป็นการสับขาหลอกที่แท้ทรู เพราะมาตรา 112 อยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ความผิดลักษณะ 1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร และเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว แปลแบบบ้านๆ ง่ายๆ คือ ต้องการดึงสมาชิกราชวงศ์มาเป็นคู่กรณีนั่นเอง

‘ลูกชายบุญทรง’ ขอท้าชน ‘ตระกูลชินวัตร’เข้าสังกัด พปชร. ชิงเก้าอี้ ส.ส. เชียงใหม่

ย้อนปูมยิ่งลักษณ์ - บุญทรง..กับการโกหกคำโต ปล่อยลูกน้องติดคุกเดียวดายไร้การเหลียวแล สุดท้ายกลายเป็นรอยแค้น ส่งผ่านถึงทายาทบุญทรง เตรียมลงชิงเก้าอี้ ส.ส. เชียงใหม่ เขต 5 หรือลูกจะชำระแค้นแทนพ่อ

กลายเป็นประโยคอมตะทางการเมืองไปแล้ว สำหรับประโยคบอกเล่า แต่เป็นการเล่าความเท็จหรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า ‘โกหกหน้าด้าน ๆ’ ประโยคนั้นคือ “พี่คะ..รอหนูแป๊บ.. ใกล้ถึงแล้วค่ะ” แล้วคนพูดก็หายตัวไปโผล่อีกทีที่ต่างแดน ทิ้งให้คนรอเดินคอตกเข้าคุกยาว จนป่านนี้ก็ยังไม่ได้ออกมา

คำว่า ‘หิริโอตัปปะ’ หรือความละอายต่อบาปคงใช้กับสองพี่น้องตระกูลชินวัตรไม่ได้ พี่ชายหักหลัง ‘สมัคร สุนทรเวช’ หลอกให้แต่งชุดขาวเต็มยศมารอเก้อ ส่วนคนน้องก็หลอกลูกน้องมารอหน้าศาล แล้วล่องหน

ส่วนคำโกหกอีกครั้ง ของพี่น้องตระกูลชินวัตร เกิดขึ้นภายหลังจากพรรคเพื่อไทย ชนะการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งในครั้งนั้นพรรคเพื่อไทยได้จำนวน ส.ส. 265 คน  

การเลือกตั้งครั้งดังกล่าวส่งผลให้ ‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย โดยมีนโยบายสำคัญที่โดนใจชาวบ้าน อย่าง โครงการรับจำนำข้าว และโครงการรถคันแรก

อย่างไรก็ดี จากผลพวงนโยบายรับจำนำข้าวที่ผิดพลาด ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่กลายเป็นโครงการที่มีการทุจริตคอร์รัปชันมากที่สุด สร้างความเสียหายให้รัฐนับแสนล้านบาท และมีผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเดินคอตกเข้าคุกกันเป็นแถว

หลายคนอาจจำไม่ได้ว่าเรื่องนี้มีความเป็นมาอย่างไร ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2560 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดฟังคำพิพากษาคดี ‘ทุจริตจำนำข้าว’ อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง ‘น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นจำเลย ฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 

เช้าวันนั้นชาวเสื้อแดงแห่มาให้กำลังใจนายหญิงเนืองแน่น  แต่นายหญิงไม่โผล่มาตามนัดหมาย ศาลฯ อ่านคำพิพากษาคดี ‘บุญทรง เตริยาภิรมย์’ อดีต รมว.พาณิชย์ ติดคุกแทน ถึง 42 ปี ในคดีทุจริตระบายแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี  และชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 16,000 ล้านบาท ทำให้บุญทรงตรงเข้าคุกทันที 

ตอนหลังมีการเปิดเผยว่า นายหญิงชินวัตรโทรหาบุญทรงแล้วหลอกว่า พี่คะ.. รอหนูแป๊บ..ใกล้ถึงแล้วค่ะ แต่สุดท้ายก็ให้บุญทรงรอเก้อ ทิ้งทุกคนให้ติดคุก ไอ้คำว่า “ใกล้ถึงแล้วค่ะ” นี่น่าจะหมายถึงใกล้ถึงชายแดนเขมรที่มีตำรวจนายหนึ่งพานายหญิงหนีนั่นแหละ หักหลังซึ่งหน้า ทั้งที่บุญทรงทำงานรับใช้ใกล้ชิดครอบครัวทักษิณ ชินวัตรมาตลอด 

ต่อมามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2562 เพิ่มโทษบุญทรง อีก 6 ปี จากเดิมในชั้นศาลอุทธรณ์ ถูกจำคุก 42 ปี เพิ่มเป็น 48 ปี  เมื่อไม่นานมานี้ บุญทรงขออนุญาตออกจากคุกเพื่อมางานศพแม่ 

ภาพ บุญทรง  เตริยะภิรมย์ ที่เคยหล่อเหลาแข็งแรงคือภาพชายร่างผอมซูบซีดผมหงอกขาว ท่ามกลางความโศกเศร้าของผู้มาร่วมงาน กลับไม่ปรากฎเงาของสมาชิกตระกูลชินวัตรเลยแม้แต่คนเดียว จนถึงทุกวันนี้  บุญทรงยังเก็บงำความลับตระกูลชินวัตรไว้อย่างเหนียวแน่น เช่นเดียวกับตอนที่บอกเพื่อนรักอย่างสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เกี่ยวกับคดีจีทูจีเก๊โครงการรับจำนำข้าว ว่า ‘กูพูดไม่ได้’

จากดาวรุ่งสู่ดาวร่วง!! พลิกปูมยุบพรรค ‘อนาคตใหม่’ เหตุสะดุดขาตัวเอง ไม่เล่นตามกติกา

ย้อนหลังไปเมื่อวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 แม้จะเป็นวันศุกร์ที่ 21 แต่สำหรับพรรคอนาคตใหม่แล้ว คงรู้สึกเหมือนเป็นศุกร์ 13 เพราะเป็นวันตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนัดประชุมเพื่อลงมติคำร้องคดียุบพรรคอนาคตใหม่ กรณีเงินกู้ 191 ล้านบาท เนื่องจากกกต. ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบมาตรา 72 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 กรณีพรรคอนาคตใหม่ว่าฝ่าฝืน มาตรา 72 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรดการเมือง 2560 ที่ห้ามมิให้พรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองรับบริจาคเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด

สำหรับพรรคอนาคตใหม่นั้น ก่อตั้งโดย นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรองประธานบริหารบริษัทไทยซัมมิท และนายปิยบุตร แสงกนกกุล อดีตอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ร่วมก่อตั้งอีก 24 คน ยื่นจดทะเบียนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2561

หลังจากนั้น เพียงปีเศษๆ เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 พรรคอนาคตใหม่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับ 3 รองจากพรรคเพื่อไทยและพรรคพลังประชารัฐ โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) รวม 81 คน ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นส.ส.หน้าใหม่ เรียกได้เป็นพรรคการเมืองดาวรุ่งที่มาแรงมาก

แต่แล้วพรรคการเมืองที่กำลังมาแรงสุด ๆ กลับต้องสะดุดขาตัวเอง เมื่อ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ แจ้งทรัพย์สินรวมคู่สมรส หนี้สิน รายได้ แต่ทรัพย์สินที่น่าสนใจคือมีการแจ้งเงินปล่อยกู้ยืม พรรคอนาคตใหม่ 191.2 ล้านบาท สัญญาแรก 161.2 ล้านบาท และสัญญาที่สอง 30 ล้านบาท

ระหว่างที่รอการวินิจฉัยก็มีการเล่นแง่สร้างวาทกรรมมากมาย รวมถึงการบิดพลิ้วไม่ยอมทำตามที่ศาลขอ เช่น ศาลให้ส่งหนังสือของพยาน 17 ปาก ‘คดีเงินกู้ 191 ล้านพรรคอนาคตใหม่’ เมื่อวันที่ 12 ก.พ. ทางพรรคก็ไม่ส่ง ขอเลื่อน ศาลเมตตาเลื่อนให้ส่งวันที่ 17 ก.พ. ก็ออกมาท้าทายศาล บางคนถึงขั้นหมิ่นศาลเลยทีเดียว บรรดากองเชียร์อนาคตใหม่ออกมาฟูมฟายว่าโดนกลั่นแกล้งว่าศาลไม่ยอมไต่สวน โดยปิดหูปิดตาไม่ดูความจริงว่าที่ศาลไม่ไต่สวนเพราะข้อเท็จจริงชัดเจนแล้วว่ามีการกู้เงินจริง ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ก็มาจากปากของทั้งธนาธรและสมาชิกพรรคนั่นเอง ต่อให้ไต่สวนอีกร้อยอีกพันคน ข้อเท็จจริงข้อนี้ก็ไม่เปลี่ยน

ก่อนหน้าวันวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีการกดดันศาลต่างๆ นานา มีการทำแคมเปญคัดค้านการยุบพรรคอนาคตใหม่นำโดยอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ โมเดลล่ารายชื่อเพื่อกดดันศาลนี่ไม่ใช่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในยุคทักษิณ ชินวัตร ก็เคยเกิดขึ้นในปี 2544 ตอนนั้นมีคดีซุกหุ้นของทักษิณ บรรดาปัญญาชนปนยาชันออกมาเคลื่อนไหวใหญ่โต ล่ารายชื่อกดดันศาลให้คนโกงพ้นผิด ชื่นชมว่าทักษิณคืออัศวินควายคำ ปากบอกรัก
ประชาธิปไตย แต่กลับเอากฎหมู่มาขู่ให้อยู่เหนือกฎหมาย 

พลิกปมการเมือง ครั้ง 'ทักษิณ' หักหลัง 'สมัคร สุนทรเวช' จุดจบทางการเมืองที่น่าเวทนาของชายร่างใหญ่วัย 73

จะว่าไป 'ทักษิณ ชินวัตร' นี่ เป็นคนที่ใช้นอมินีเปลืองที่สุดเลยก็ว่าได้ 

แล้วก็ต้องบอกเลยว่า เมื่อพลิกย้อนประวัติศาสตร์การเมืองไทย สภาพนอมินีแต่ละคนของทักษิณ มีจุดจบที่ไม่สวยเลยแม้แต่คนเดียว แม้แต่คนสุดท้ายอย่าง 'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร' ด้วย

ล่าสุดส่งอุ๊งอิ๊งมาเป็นนอมินีพ่อ ก็รอดูต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร จะแลนสไลด์อย่างที่ฝันไว้หรือไม่?

พูดถึงเรื่องนอมินีแล้ว ก็อดยกกรณีที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนอมินีทักษิณ ชินวัตรกรณีหนึ่ง อย่างกรณีสมัคร สุนทรเวช ไม่ได้ หลังจากกลายมาเป็นนอมินีทักษิณ แล้วถูกหักหลังจนจบชีวิตทางการเมืองอย่างน่าเวทนา

ภาพจำที่บรรดาคอการเมืองจดจำขึ้นใจคือ ผู้ชายร่างสูงใหญ่ วัย 73 ปี เดินเดียวดายสีหน้าเศร้าสร้อยขึ้นรถกลับบ้าน ซึ่งเป็นภาพสุดท้ายที่คนไทยได้เห็นสมัครปรากฎตัวต่อที่สาธารณะ ก่อนจะล้มป่วยลงด้วยโรคมะเร็งตับ 

นั่นคือวันที่สมัคร สุนทรเวช คงสุดชอกช้ำ หลังถูกคนที่ตนเคยอวยยศ ว่าเหมือน 'นมตราหมี เพราะดีที่สุด'  อย่างทักษิณหักหลังหลอกให้แต่งชุดเต็มยศไปรอเก้อ แต่สุดท้ายก็ต้องเดียวดายกลับบ้าน!! 

ย้อนรอยปูมประวัติศาสตร์การเมืองยุคนั้น : วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และเป็นครั้งแรกภายหลังการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยครั้งนั้นกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 480 คน เป็นส.ส.แบบแบ่งเขต 400 คน และปาร์ตี้ลิสต์ 80 คน

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคพลังประชาชน ซึ่งมี สมัคร สุนทรเวช เป็นหัวหน้าพรรค ได้จำนวนส.ส.มาเป็นอันดับ 1 รวม 256 คน ตามมาด้วยพรรคประชาธิปัตย์ 162 คน และ พรรคชาติไทย 29 คน

จากนั้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2551 สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบ ให้สมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมียงยุทธ ติยะไพรัช เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาถูกกล่าวหาจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยถึงการดำรงตำแหน่งของสมัครว่าเป็นนอมินี ของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

แต่ในปีเดียวกันนั้นเอง เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2551 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของสมัคร สุนทรเวชสิ้นสุดลง เนื่องจากรับเป็นพิธีกรกิตติมศักดิ์ ของรายการ 'ชิมไปบ่นไป' และ 'ยกโขยง 6 โมงเช้า'

โดยศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง เห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เรื่องคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี จึงทำให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของสมัครสิ้นสุดลง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top