Thursday, 18 April 2024
ART OF ENERGY BY EA

รถโดยสารไฟฟ้ายกระดับคุณภาพชีวิต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม EA ร่วม ‘ไทยสมายล์บัส’ สร้างเครือข่ายขนส่งไร้มลพิษ เชื่อมต่อทุกการเดินทาง ด้วยรถโดยสารไฟฟ้า

ถือเป็นอีกผลิตผลแห่งเครือข่ายขนส่งไร้มลพิษ จากกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA ที่ปัจจุบันค่อยๆ เข้ามาช่วยเปลี่ยนระบบขนส่งสาธารณะภายในบ้านเรา เพื่อสังคมน่าอยู่ให้กับประเทศ ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาฝุ่น pm 2.5 ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น 

ไม่นานมานี้ บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ผู้ให้บริการ รถโดยสารพลังงานไฟฟ้า ได้เปิดการให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า (EV) สาย 2-38 (สาย 8 เดิม) ภายใต้แนวคิด ‘We Come To Change Fast 8 To Feel Good เรามาเพื่อเปลี่ยนความรู้สึกให้ดีขึ้น’ โดยมี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน พร้อมด้วย นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด, นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน), นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) และนายคณิสสร์ ศรีวชิระประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เน็ก พ้อยท์ จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับ ณ อู่บึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เปิดเผยว่า ปัจจุบัน EA ได้มีการร่วมมือกับ ไทยสมายล์บัส โดยนำผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม EA อย่างรถโดยสารไฟฟ้าที่ผลิตโดยคนไทยและได้นำเทคโนโลยี Fast Charge ที่เรียกว่า Ultra Fast Charge ซึ่งสามารถชาร์จรถขนาดใหญ่แบบนี้ได้ในเวลาเพียง 15-20 นาทีเข้ามาให้บริการ

นอกจากนี้ EA ยังร่วมมือกับบริษัทครอบครัวขนส่ง ซึ่งเดินเรืออยู่ในคลองแสนแสบ โดยเข้าไปช่วยเปลี่ยนให้เป็นเรือไฟฟ้าทั้งหมด และมีการทำหัวรถจักรไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ เป็นต้น

“สิ่งเหล่านี้ เป็นโครงข่ายของคมนาคมที่ทาง EA อยากช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ในราคาที่ไม่แพง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ช่วยประหยัดพลังงานจากรูปแบบเดิมๆ ในทางอ้อมก็ทำให้ต้นทุนการขนส่งถูกลง ลดภาระของประชาชนทั่วไปได้ตามลำดับ”

หัวรถไฟ EV ถึงไทยแล้ว ความสำเร็จของ EA และ CRRC Dalian อีกหนึ่งก้าวสำคัญขนส่งทางรางประเทศไทย

นับเป็นอีกหนึ่งก้าวย่างที่สำคัญของระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย ภายหลังจาก EA นำทางด้าน Green Energy รายใหญ่ของประเทศไทย ได้จับมือกับ บริษัท CRRC Dalian ผู้ผลิตรถไฟรายใหญ่จากประเทศจีน ร่วมพัฒนาหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าหรือรถจักร EV เมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 

ล่าสุดหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าของบริษัท CRRC Dalian ส่งตรงมาถึงไทยแล้ว เตรียมทดสอบสับเปลี่ยนขบวนที่สถานีบางซื่อภายในปีนี้ 

จุดเด่นของหัวรถจักรรุ่นนี้ สามารถวิ่งได้ระยะ 150-200 กม. ประหยัดต้นทุนพลังงานได้กว่า 40% เมื่อเปรียบเทียบกับหัวรถไฟดีเซล สอดรับยุทธศาสตร์ Asian Logistics Hub ของไทยและภูมิภาค

นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา บริษัท CRRC Dalian ผู้ผลิตรถไฟรายใหญ่จากประเทศจีน ได้จัดส่งหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าหรือรถจักร EV มายังประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และร่วมมือกับพันธมิตร บริษัท เอเซียเอนจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส (ไทยแลนด์) จำกัด (AES) ผู้เชี่ยวชาญด้านการซ่อมบำรุงรถไฟ เพื่อประกอบติดตั้งระบบแบตเตอรี่ 

โดยหัวรถจักร EV คันนี้เป็นรถจักรคันแรกในการพัฒนารถไฟระบบ Battery Train ที่ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ ซึ่งทาง EA ได้รับโอกาสจากกระทรวงคมนาคม และ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ภายใต้นโยบาย EV on Train ขณะเดียวกันยังได้ร่วมมือกับภาควิชาการ สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ มทร. อีสาน ในการเตรียมทดสอบระบบสับเปลี่ยนขบวน (Shunting) ที่สถานีบางซื่อภายในปีนี้

เน้นประโยชน์คนในชาติ EA ประกาศความร่วมมือพันธมิตรยักษ์ใหญ่ ‘EVAT – EGAT – MEA – PEA และพันธมิตร’ สร้างเครือข่ายสถานีชาร์จ EV ใช้ได้ทุกค่าย - ได้มาตรฐาน - ราคาเป็นธรรม

EA ประกาศความความร่วมมือพันธมิตรยักษ์ใหญ่ ‘EVAT - EGAT - MEA - PEA และพันธมิตร’ สร้างเครือข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า แบบไร้พรมแดน ใช้ได้ทุกค่าย - ได้มาตรฐาน - ราคาเป็นธรรม รองรับตลาด EV บูม

เมื่อ 27 ก.ค. 65 ที่ผ่านมา นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ได้เปิดเผยว่า บริษัท พลังงานมหานคร จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ EA ผู้ให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าภายใต้ชื่อ ‘EAnywhere’ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ เรื่อง ‘ความร่วมมือเพื่อการเชื่อมต่อการใช้งานร่วมกันของแต่ละเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ปลั๊กอิน-ไฮบริด (PHEV) และยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ระหว่าง สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) บริษัท พลังงานมหานคร จํากัด และเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ’

โดยประกอบไปด้วย สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) - การไฟฟ้านครหลวง (MEA) - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) - บริษัท อรุณ พลัส จำกัด - บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จํากัด (มหาชน) - บริษัท กริดวิซ (ประเทศไทย) จํากัด - บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จํากัด - บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด - บริษัท โชเซ่น เอ็นเนอร์จี้ จํากัด - บริษัท พลังงานมหานคร จํากัด - บริษัท ฮ้อปคาร์ จำกัด - บริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด 

ต่อยอดสู่การเติบโต!! EA ปูทางขยายธุรกิจรถโดยสารไฟฟ้าเต็มตัว หลังเข้าซื้อหุ้น BYD 23% มูลค่ากว่า 6.99 พันล้าน

EA เดินหน้าต่อยอดธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดทุ่ม 6,997 ล้านบาท ส่งบ.ย่อยเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุน BYD สัดส่วน 23% เตรียมขยายธุรกิจรถโดยสารไฟฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจที่จะเป็น New S-Curve ในอนาคต

นับเป็นอีกหนึ่งก้าวย่างที่สำคัญทางธุรกิจของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ที่ยังคงเดินหน้าต่อยอดสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เมื่อนายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 65 อนุมัติให้ บริษัท อีเอ โมบิลิตี โฮลดิง จำกัด (EMH) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยเข้าลงทุนใน บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BYD, บริษัท เอซ อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (ACE) และบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด (TSB)

ทั้งนี้ EMH จะเข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (PP) ของ BYD จำนวน 990,800,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท หรือคิดเป็น 23.63% ของทุนชำระแล้วภายหลังการเพิ่มทุน ในราคาหุ้นละ 7.062 บาท คิดเป็นมูลค่าซื้อหุ้นเพิ่มทุน 6,997,029,600 บาท
 
สำหรับ BYD นั้น เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกอบธุรกิจหลักเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จากกระทรวงการคลัง, คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ขณะที่ ACE ประกอบธุรกิจหลักในการเข้าถือหุ้นในบริษัทจำกัด และ/หรือ บริษัทมหาชน จำกัด โดยมี BYD ถือหุ้น ในอัตรา 49% และ TSB ประกอบธุรกิจหลักในการให้บริการรถโดยสารไฟฟ้าประจำทางในเขตกรุงเทพและปริมณฑล โดยมี ACE เป็นผู้ถือหุ้นในอัตรา 100%

นายอมร ระบุว่า การเข้าลงทุนใน BYD จะทำให้บริษัทได้มาซึ่งพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งจะก่อให้เกิดโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจของบริษัทฯ เนื่องจากการลงทุนในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทมีโอกาสในการสร้างยอดขายรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ส่วนแหล่งเงินทุนที่ใช้มาจากกระแสเงินสดของบริษัทและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
 

เกาะ 986 พิกัด!! สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย ผู้ให้บริการรายไหน? จัดเต็ม!!

ในวันที่ทิศทางยานยนต์ไฟฟ้าเริ่มชัดเจน และตลาดก็ตอบรับอย่างรวดเร็ว ค่ายรถยนต์น้องใหม่ รวมถึงค่ายเทคโนโลยีดังๆ หลายเจ้า เริ่มขอเข้ามาแทรกแซงทางโค้งเพื่อเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าของตนในประเทศไทยกันถ้วนหน้า จนสร้างความคึกคักท่ามกลางความคลื่นสึนามิย่อมๆ ของเศรษฐกิจไทย ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนของกำลังซื้อใหม่ๆ ได้อย่างน่าสนใจ

แต่ถึงกระนั้นกระแสการตื่นตัวเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยที่เกิดขึ้น กลับสวนทางกับภาพของการใช้งานจริง นั่นก็เพราะเรายังเห็นจำนวนรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV วิ่งกันบนท้องถนนแบบจริงจัง น้อยมาก!! 

แน่นอนว่าตัวแปรสำคัญของเรื่องนี้ ยังอยู่ที่ความล่าช้าในการส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าให้แก่ผู้บริโภค, ทางเลือกที่ยังมีจำกัด, ราคาที่ยังไม่สร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใช้ส่วนมาก, ศูนย์บริการที่สามารถดูแลเมื่อเกิดปัญหาที่ยังไม่ครอบคลุม และ ‘อีกตัวแปรสำคัญ’ ที่น่าจะมีผลต่อความเบาบางของรถยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนมากเกือบที่สุด คือ ความกังวลของผู้ใช้รถว่าแบตเตอรี่ของตนอาจหมดลง แล้วหาสถานีชาร์จได้ลำบากนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันทุกภาคส่วนของประเทศไทยที่อยู่ในระบบนิเวศนี้ ต่างรับรู้ปัญหาดี จึงได้มีการร่วมผลักดันสร้างสถานีชาร์จขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่คิดแค่อยากจะตั้งก็ตั้งขึ้นมาได้ เพราะการจัดตั้งสถานีชาร์จในแต่ละที่ ต้องมีการคำนึงถึงความพร้อมของกระแสไฟฟ้าของพื้นที่นั้นๆ อยู่ด้วย แต่ก็ต้องยอมรับว่าวันนี้สถานีชาร์จในบ้านเรา ก็ผุดตัวขึ้นอย่างรวดเร็วกันบ้างพอสมควรแล้ว

ว่าแต่...ในวันนี้ประเทศไทยมีสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศมากน้อยแค่ไหน?

จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและพลังงานแห่งชาติ กระทรวงพลังงาน ระบุว่า สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 4 มีนาคม 2565) มีจำนวน 986 สถานีทั่วประเทศ มีหัวชาร์จรวมมากกว่า 2,200 หัวชาร์จ กระจายครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ / นนทบุรี / ปทุมธานี / ภาคกลาง / ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ / ภาคเหนือ และ ภาคใต้ โดยมีจำนวนผู้ให้บริการที่ติดตั้งจุดชาร์จแล้ว ดังนี้...

>> EA ANYWHERE แบรนด์ภายใต้บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด ผลิตภัณฑ์ด้านสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 459 สถานี จำนวน 1,900 หัวชาร์จ
>> บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 120 สถานี
>> บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 108 สถานี
>> การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่ กฟภ. เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 73 สถานี
>> สถานีอัดประจุจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย มีจำนวนสถานีอัดประจุทั้งหมด 68 สถานี
>> บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 51 สถานี

Interstate Charging Station ‘สถานีชาร์จไฟฟ้าระหว่างเมือง’ อีกตัวแปร ‘สำคัญ’ ในการเลือกใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

ต้องยอมรับว่าในหลายๆ ประเทศการขนส่งหลักจะใช้ยานยนต์เป็นหลัก ซึ่งการที่จะช่วยให้มีการเปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาป ต้องคำนึงถึงเรื่องแบตเตอรี่ที่รอบรับการชาร์จได้รวดเร็ว 

ฉะนั้นนอกเหนือจากการมียานยนต์ไฟฟ้าที่ตอบสนองผู้บริโภคแล้ว สถานีชาร์จรถไฟฟ้า EV Charger ก็ยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนผ่านการใช้งานไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น

สำหรับสถานีชาร์จรถไฟฟ้า หรือ EV Charging Station เปรียบเทียบได้กับสถานีปั๊มน้ำมัน แต่เปลี่ยนจากเติมน้ำมันเป็นเติมประจุพลังงานไฟฟ้าแทน ซึ่งการชาร์จพลังงานให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้านั่น จะแบ่งออกเป็น 2 วิธีได้แก่...

1.) Normal Charge เป็นการชาร์จแบบปกติ เป็นการชาร์จด้วยไฟ AC โดยชาร์จผ่าน On Board Charger ที่อยู่ภายในตัวรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ในการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC โดยขนาดของ On Board Charger นั่นจะมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟของแบตเตอรี่ ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละคันก็มีขนาดไม่เท่ากัน

และ 2.) Quick Charge ซึ่งเป็นการชาร์จโดยใช้ตู้ EV Charging Station (สถานีชาร์จรถไฟฟ้า) ที่จะทำการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC แล้วจ่ายไฟ DC เข้าที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง ไม่ผ่าน On Board Charger เหมือนกับ Normal Charge ซึ่งวิธีการชาร์จไฟฟ้า จะส่งผลให้ระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จลงน้อยลง
 

แบตเตอรี่ Li-ion ขนาด 1 กิกะวัตต์ ต่อยอดอะไรได้บ้าง?

ความหวังสังคมรถไฟฟ้าเด่นชัดขึ้น เมื่อปัจจุบัน บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) บริษัทย่อยในกลุ่มของ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เดินเครื่องผลิตแบตเตอรี่ Li-ion AMITA เป็นที่เรียบร้อย 

โดยในระยะเริ่มต้นสามารถผลิตแบตเตอรี่ ขนาด 1 กิกะวัตต์ หรือ 1,000,000 กิโลวัตต์ ซึ่งสามารถนำมาใช้กับรถโดยสารไฟฟ้า ขนาด 11 เมตร ที่ขับเคลื่อนได้ระยะทางสูงสุด 240 กิโลเมตร ได้ถึง 4,160 คันต่อปีกันเลยทีเดียว 

รอทำไม? หากหยุดใช้รถน้ำมัน 10,000 คัน แล้วลดก๊าซเรือนกระจกได้ 220,454 ตันต่อปี

คำถามปลายเปิด ที่แทบไม่ต้องรอคำตอบปลายปิด ในยุคที่พลังงานน้ำมันแพง กอปรกับกระแสความแรงของการรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่กำลังเข้ามาเปลี่ยนโลก รวมถึงประเทศไทย!!

อย่างไรก็ตาม แม้กระแสพลังงานไฟฟ้าที่จะเข้ามาไหลเวียนในพาหนะยุคต่อจากนี้ จะพยายามเร่งสปีดเข้ามาใกล้ชิดกับชีวิตคน โดยเฉพาะคนไทยมากยิ่งแค่ไหน แต่ก็ต้องยอมรับว่าในแง่ของราคาและความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพ ยังคงอยู่ในระดับของการเฝ้าดูจากผู้บริโภคส่วนใหญ่เสียมาก 

กลับกันแนวคิดในการสนับสนุนยานพาหนะในหมวดขนส่งสาธารณะ หรือ ‘รถโดยสาร’ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด ดูจะมีความเป็นไปได้และได้รับแรงหนุนกระแสลดการปล่อยมลพิษของประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ดีกว่า สอดคล้องกับรายงานของ Electric Vehicle Outlook ของ Bloomberg ที่คาดว่า ตลาด ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ (e-Buses) จะถูกปรับเปลี่ยนให้อยู่ในสัดส่วนมากกว่า 67% ของรถโดยสารทั่วโลกภายในปี 2040

เหตุผลหลัก เพราะ ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ เป็นยานพาหนะที่สามารถเข้าถึงคนได้เป็นจำนวนมาก ยิ่งถ้าพัฒนาระบบการขนส่งสาธารณะที่ดีควบคู่ได้ ก็จะช่วยให้คนลดการใช้รถส่วนตัว (น้ำมัน) ลดปัญหามลพิษ, ลดปัญหาโลกร้อน ตลอดจนลดปัญหาทางด้านการจราจร ก่อนทั้งโลกจะเปลี่ยนผ่านจากเครื่องสันดาปสู่ไฟฟ้าเต็มตัว 

และนี่แหละ คือ เหตุผลว่าทำไม ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ (รถบัส) อาจจะเป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านยุคแห่งพลังงานและช่วยลดการปล่อยมลพิษของประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้ถึงเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น

ว่าแต่!! พอหันกลับมาดู ประเทศไทย ซึ่งมีการจดทะเบียนรถโดยสารเพื่อการพาณิชย์ หรือ ‘รถโดยสาร’ ในแต่ละปีเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10,000 คันนั้น

ก็พลันให้เกิดคำถามว่า ถ้าเราเริ่มเปลี่ยน ‘รถโดยสาร’ ที่มีอยู่ให้กลายเป็น ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ ได้ จะช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้เพียงใด? (ปัจจุบันประเทศไทยมี ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ จาก EA หรือ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์)

...220,454 ตันต่อปี คือ ผลลัพธ์จากการช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (GHG Emission Reduction) 

...233,333,333.33 ลิตรต่อปี คือ ตัวเลขการใช้น้ำมันดีเซลที่ลดลง ซึ่งเดิมปริมาณตัวเลขนี้ สามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 629,701.80 ตันต่อปีกันเลยทีเดียว (หมายเหตุ: คำนวณจากจำนวนรถ 10,000 คัน ระยะทางการวิ่งรถ 200 กิโลเมตรต่อวัน เป็นระยะเวลา 350 วันเท่ากัน)

ยั่งยืนระดับโลก!! EA ติดอันดับดัชนีความยั่งยืนระดับสากล ‘The Sustainability Yearbook 2022’ จาก S&P Global ตอกย้ำเชื่อมั่นนักลงทุนทั้งสถาบันไทยและต่างประเทศ

ปัจจุบันภาคเอกชนนับว่ามีความสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่สามารถดึงเม็ดเงินลงทุนจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

แต่ในขณะเดียวกันบริษัทจดทะเบียนเอง หากต้องการได้รับการยอมรับจากนักลงทุน สิ่งสำคัญคือการพัฒนาธุรกิจให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน พร้อมกับตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ และให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล

เฉกเช่น บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA ที่สามารถพัฒนาและสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ จนได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 41 บริษัทไทยติดอันดับดัชนีด้านความยั่งยืนระดับสากล ‘The Sustainability Yearbook 2022’ ระดับ Member ซึ่งจัดโดย S&P Global

อมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) EA สะท้อนภาพธุรกิจของ EA ว่า การที่ S&P Global ประกาศรายชื่อบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับใน The Sustainability Yearbook 2022 ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มี 41 บริษัทไทยที่ติดอันดับจากบริษัททั่วโลก 716 บริษัท โดย EA เป็นหนึ่งในบริษัทที่ติดอันดับดัชนีดังกล่าว ในระดับ Member และผลประเมินด้านความยั่งยืนของ S&P Global สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืนในสายตาผู้ลงทุนทั้งไทย และต่างประเทศ และแน่นอนว่าการจัดอันดับดังกล่าว จะเป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้ลงทุนทั่วโลกใช้ในการวิเคราะห์ และพิจารณาตัดสินใจในการเข้าลงทุน

ในปีนี้ S&P Global เน้นย้ำถึงวิกฤติของปัญหาภาวะโลกร้อนที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน นั่นจึงเป็นส่วนช่วยเสริมให้ EA มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น เพราะธุรกิจหลักของ EA มุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีเข้ามาเสริมสร้างศักยภาพทางด้านพลังงานสะอาดและด้านพลังงานไฟฟ้า 

โดยมีธุรกิจที่ถือว่าเป็น New S Curve อย่างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตใหญ่ที่สุดในอาเซียน ตลอดจนเป็นผู้นำด้านสถานีอัดประจุ เพื่อที่จะยกระดับการเดินทางสมัยใหม่ให้มีความสะดวกสบาย ช่วยลดมลภาวะอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ประเทศเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมทั้งสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนไทย มีรายได้สูงขึ้น ช่วยให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้าม Middle income Trap ไปสู่ประเทศที่มีศักยภาพและมีความยั่งยืนทางด้านพลังงานในอนาคต

ขณะเดียวกัน EA ยังมีเป้าหมายที่จะพัฒนาองค์กร จากการเป็นผู้ผลิตพลังงานสะอาดสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจ EV แบบครบวงจร ซึ่งในปี 2565 จะเป็นปีแห่งการเก็บเกี่ยวผลตอบแทนจากที่ได้ทยอยลงทุนมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังมีการลงทุนเพิ่มเติม โดยจะเน้นในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งจะสนับสนุนการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ

แน่นอนว่า ผลตอบแทนจากการที่บริษัทฯ ได้ลงทุนมาเริ่มเห็นผลชัดเจนมากขึ้น ทำให้ในปี 2565 บริษัทฯ มองถึงตั้งเป้าหมายการเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% โดยมาจากการเติบโตของธุรกิจ EV ทั้งในส่วนของ แบตเตอรี่ รถบัสไฟฟ้า รถบรรทุกไฟฟ้า และสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ขณะที่ธุรกิจไบโอดีเซล-พลังงานทดแทน วางเป้าหมายรักษาการเติบโตต่อเนื่อง

สำหรับผลการดำเนินงาน ในปี 2564 ที่ผ่านมา พบว่า EA  มีกำไรสุทธิ อยู่ที่ 6,100.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 895.50 ล้านบาท หรือ 17.21% เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีกำไรสุทธิรวม 5,204.57 ล้านบาท

โดยปี 2564 บริษัทมีรายได้ 20,588.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,358.96 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 19.53% เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มารายได้รวม 17,199.14 ล้านบาท

ยกระดับการเดินทางในคลองแสนแสบด้วย ‘เรือโดยสารไฟฟ้า’ เมื่อ EA ส่ง MMR เซ็นเอ็มโอยู ‘บ.ครอบครัวขนส่ง’ ลุยพัฒนาเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า ‘คลองแสนแสบ’

ภาพน้ำคลองดำ เน่าเหม็น จากคราบเขม่าควันของน้ำมันเรือในคลองแสนแสบคลองสายประวัติศาสตร์ของไทยซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรสำคัญที่ผ่านมาหลายชั่วอายุคน จะเปลี่ยนไปในไม่ช้า เมื่อตอนนี้การรุดหน้าของการยกระดับขนส่งมวลชนไฟฟ้า ทั้งรถ-ราง-เรือ ในเมืองไทยให้สะดวกสบาย มีความชัดเจนมากถึงมากที่สุด

ล่าสุด EA หรือ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ ได้ส่ง บริษัทย่อย ‘ไมน์ โมบิลิตี รีเสิร์ช’ (MMR) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท ครอบครัวขนส่ง (2002) จำกัด ผู้ประกอบการเรือโดยสารประจำทางคลองแสนแสบ ในโครงการเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าคลองแสนแสบ โดยความร่วมมือในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อศึกษา-พัฒนาออกแบบเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าคลองแสนแสบ ให้มีประสิทธิภาพสามารถใช้งานได้จริง และเป็นต้นแบบในการเปลี่ยนเรือน้ำมันให้เป็นเรือไฟฟ้าต่อไปในอนาคต

22 มีนาคม 2565 ถือเป็นวันสำคัญแห่งการริเริ่มเป้าหมายใหญ่แห่งน่านน้ำที่อยู่คู่กับคนไทยมาเป็นเวลานาน โดย นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) EA เปิดเผยว่า บริษัทไมน์ โมบิลิตี รีเสิร์ช จำกัด หรือ MMR ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท ครอบครัวขนส่ง (2002) จำกัด โดยมี นายเชาวลิต เมธยะประภาส กรรมการผู้จัดการ ร่วมลงนาม


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top